SHORT CUT
ผักตบชวาถูกนำเข้ามาตั้งแต่ปีเมื่อปี 2444 จากเกาะชวา อินโดนีเซีย เพื่อมาปลูกในวังสระประทุม เพราะดอกสวยงามดี ใช้ประดับสระน้ำได้ แต่ภายหลังวังสระประทุมเกิดน้ำท่วม ผักตบชวาจึงหลุดลอยออกไปสู่ลำคลองภายนอก
ต่อมาได้แพร่อย่างรวดเร็วในแม่น้ำลำคลอง จึงกลายเป็นปัญหาระดับชาติที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะขวางทางน้ำหลาก
ช่วงนี้ประเทศไทยหลายพื้นที่น้ำท่วม และเสี่ยงมายังพื้นที่ภาคกลาง และกทม. หลายฝ่ายกำลังหาวิธีรับมือน้ำท่วม หนึ่งในวิธีคือกำจัดผักตบชวา! เพื่อป้องกันน้ำท่วมฉับพลัน แท้ที่จริงแล้ว ผักชนิดนี้มีประโยชน์-โทษ ยังไงบ้าง?
หลายคนยังสงสัยว่า “ผักตบชวา” พืชต่างถิ่นที่นำเข้ามาในประเทศไทย และแพร่ระบาดอย่างหนัก แท้ที่จริงมันคือเอเลี่ยนสปีชีส์ หรือไม่? ตามประวัติผักตบชวาถูกนำเข้ามาตั้งแต่ปีเมื่อปี 2444 จากเกาะชวา อินโดนีเซีย เพื่อมาปลูกในวังสระประทุม เพราะดอกสวยงามดี ใช้ประดับสระน้ำได้ แต่ภายหลังวังสระประทุมเกิดน้ำท่วม ผักตบชวาจึงหลุดลอยออกไปสู่ลำคลองภายนอก
ต่อมาได้แพร่อย่างรวดเร็วในแม่น้ำลำคลอง จึงกลายเป็นปัญหาระดับชาติที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยปัญหาผักตบชวามานานพอสมควร และพบว่า ปัญหาผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชน้ำ ไปไกลกว่าแค่เรื่องทัศนียภาพ เมื่อสังคมเมืองเริ่มพบกับปัญหาน้ำท่วม ซึ่งสันนิษฐานว่าผักตบชวาเป็นตัวการในการกีดขวางลำน้ำ
จากการสำรวจยังพบว่า ลำน้ำไหนที่มีความนิ่ง น้ำไม่ไหล ไม่มีคนใช้เส้นทางน้ำนั้นสัญจรไปมา ก็จะเห็นผักตบชวาเยอะ คลองแสนแสบที่มีเรือเยอะแทบไม่มีผักตบชวาเลย แสดงว่าถ้าลำน้ำเส้นไหนมีการใช้งาน ก็จะมีการดูแลรักษา ไม่มีผักตบชวา โดยปัญหาน้ำท่วมมีสาเหตุมาจากผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชน้ำเข้าไปอุดตันทางไหลของน้ำ หรือทางระบายน้ำในเส้นทางน้ำเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งของหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในเมือง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาพื้นที่รองรับน้ำตื้นเขิน ขยะที่อุดตันท่อระบายน้ำ ฯลฯ
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาผักตบชวา คือ
พามาดูโทษของผักตบชวามีอะไรบ้าง?
สรุปๆข้อเสียของผักตบชวา คือ มันอาจเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ อุปสรรคต่อการเจริญพันธุ์ของปลาท้องถิ่น การเกษตร เช่น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ศัตรูพืช สัตว์พาหะนำโรค และสัตว์มีพิษ การชลประทาน เช่น ลดอัตราการไหลของน้ำได้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า ผักตบชวา คือ พืชรุกรานน่านน้ำไทย เพราะผักตบชวามีความสามารถเติบโตและขยายพันธุ์เร็วมาก ทนทานต่อสภาพแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ โดยใน 1 เดือน ผักตบชวา 1 ต้น สามารถขยายพันธุ์ได้มากถึง 1,000 ต้น และมีอายุขัยได้มากถึง 15 ปี
ต่อมาพามาดูประโยชน์ของผักตบชวาว่ามีอะไรบ้าง?
จากเบื้องต้นที่นำเสนอที่มา และประโยชน์ โทษ ของผักตบชวาไป แน่นอนว่าช่วงนี้น้ำท่วมหลายคนอาจสงสัย และเห็นก่อนหน้านี้ก่อนน้ำจะท่วมจะมีการเร่งกำจัดผักตบชวาที่ขวางทางน้ำอยู่ อย่างเช่น ในอดีตพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ที่ได้กำชับในที่ประชุมสภากลาโหม ให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของทุกเหล่าทัพ ประสานการทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองในพื้นที่ เข้าไปร่วมกันแก้ไขปัญหาผักตบชวาในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง
สำหรับแนวทางกำจัดผักตบชวา คือ แนวคิดการใช้เชื้อราในการกำจัดผักตบชวา ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้คิดค้นว่า เป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่นๆ เพราะผักตบชวาสามารถปรับตัวให้ทนทานอยู่ในทุกสภาพน้ำ จึงแพร่พันธุ์กระจายตามแม่น้ำลำคลองได้อย่างรวดเร็ว จนปัจจุบัน กลายเป็นวัชพืชที่สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ ทำให้น้ำเน่าเสียและกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในเวลาต่อมา
นอกจากนี้การกำจัดผักตบชวาในปัจจุบัน มักนิยมใช้วิธีตักเก็บโดยใช้แรงงานคนและเครื่องจักรที่มีการคิดประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมาก รวมทั้งต้องทำต่อเนื่องทุกปี แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของผักตบชวาได้ ทำได้เพียงแค่ลดปริมาณลงไปเท่านั้น ไม่สามารถกำจัดได้ถึงต้นตอของปัญหาการแพร่ระบาดของผักตบได้
สำหรับวิธีที่คิดค้นใหม่ใช้เชื้อรา ในการกำจัดผักตบชวาด้วยวิธีฉีดพ่นโดยตรง จะสามารถควบคุมและกำจัดผักตบชวาได้ถึงต้นตอ ดีกว่าวิธีอื่นๆ เพราะผักตบจะตายจนไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ เพราะจะช่วยประหยัดงบประมาณในระยะยาว เพราะไม่จำเป็นต้องทำต่อเนื่องทุกปีที่ก่อนถึงฤดูฝนจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการใช้กำลังคนและเครื่องกลไปขุดลอกเก็บผักตบชวา
ในส่วนของของกรุงเทพมหานคร ต้องยอมรับว่าผักตบชวาเป็นปัญหาสำคัญของกรุงเทพมหานคร ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีคลองย่อยต่างๆ อาจมีผักตบชวาลอยเข้าไปทำให้เกิดปัญหาในการระบายน้ำ เช่น คลองบางกอกน้อย จึงมีการช่วยจัดเก็บผักตบชวาในแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับผักตบชวาที่จัดเก็บได้จะนำไปกำจัดโดยการฝังกลบที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม
แน่นอนว่าช่วงนี้หลายพื้นที่น้ำท่วม การรับมือน้ำท่วมอีกวิธีหนึ่งอาจต้องช่วยกันกำจัดผักตบชวาที่ขวางทางน้ำ อาจเป็นอีกวิธีที่จะช่วยระบายน้ำลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง