svasdssvasds

คนไทย40% ใส่เสื้อผ้าครั้งเดียวทิ้ง ก่อให้เกิดขยะแฟชั่น ทำลายสิ่งแวดล้อม

คนไทย40% ใส่เสื้อผ้าครั้งเดียวทิ้ง ก่อให้เกิดขยะแฟชั่น ทำลายสิ่งแวดล้อม

พามาดูสาเหตุว่าทำไมขยะเสื้อผ้าถึงเพิ่มทุกปี เพราะคนไทย40% ใส่เสื้อผ้าครั้งเดียวทิ้ง ปัญหาใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม หลังสภาพัฒน์ เผยธุรกิจ Fast Fashion ทำคนไทยเบื่อง่าย มีตำหนิ เสพติดไลฟ์สไตล์ Influencer

SHORT CUT

  • รู้หรือไม่?ทำไมขยะแฟชั่นถึงเพิ่ม! คนไทย40% ใส่เสื้อผ้าครั้งเดียวทิ้ง ก่อขยะ Fast Fashion เพียบ
  • ธุรกิจ Fast Fashion มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมใช้น้ำเป็นจำนวนมาก สร้างมลภาวะทางน้ำ และอากาศ

  • อุตสาหกรรมแฟชั่นปล่อยก๊าซคาร์บอนฯประมาณ 1.7 พันล้านตันต่อปี หรือราว 10% ของการปล่อยคาร์บอนฯ ทั่วโลก

พามาดูสาเหตุว่าทำไมขยะเสื้อผ้าถึงเพิ่มทุกปี เพราะคนไทย40% ใส่เสื้อผ้าครั้งเดียวทิ้ง ปัญหาใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม หลังสภาพัฒน์ เผยธุรกิจ Fast Fashion ทำคนไทยเบื่อง่าย มีตำหนิ เสพติดไลฟ์สไตล์ Influencer

กระแสแฟชั่นที่เปลี่ยนไปเร็วนี้ทำให้อายุการใช้เสื้อผ้าสั้นลง และเกิดเป็นปัญหา "ขยะแฟชั่น" ล้นโลก รวมถึงประเทศไทยก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน จึงทำให้ปัจจุบันแบรนด์เสื้อผ้าหลายแบรนด์ให้ความสำคัญกับ sustainable fashion และมีการขับเคลื่อนเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าวในหลายภาคส่วน ล่าสุดมีข้อมูลที่น่าสนใจจาก สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ออกรายงาน ภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 ปี 2567 ระบุว่า เทรนด์ Fast Fashion มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่กระบวนการผลิตในหลายขั้นตอนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ทั้งนี้ผลสำรวจ พบว่า เทรนด์แฟชั่นที่มาไวไปไวจากความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายส่งผลให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้ามีการผลิตสินค้าตามกระแส เน้นราคาถูกแต่ด้อยคุณภาพ ออกมาจำนวนมาก เพื่อให้คนสามารถหาซื้อได้บ่อยครั้งส่งผลให้ธุรกิจ Fast Fashion เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงานได้อย่างมาก

อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่า ธุรกิจ Fast Fashion ปี 2567 อยู่ที่ 142.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15.5% และคาดว่าในปี 2571 จะมีมูลค่าสูงถึง 197.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2566 อุตสาหกรรม Fast Fashion ทำให้เกิดการจ้างงานมากถึง 300 ล้านคน คาดว่าภายในปี 2576 จะมีขยะปีประมาณ 134 ล้านตันต่อปี

โดยธุรกิจ Fast Fashion มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในวงกว้าง ดังนี้

  • ใช้น้ำเป็นจำนวนมาก สร้างมลภาวะทางน้ำ และอากาศที่มาจากกระบวนการย้อม การตกแต่ง  เช่น เสื้อเชิ้ตฝ้าย  1 ตัว ใช้น้ำในการผลิต 2,700 ลิตร ปริมาณน้ำสำหรับดื่มของคน 1 คน ในระยะเวลากว่า 2.5 ปี
  • กระบวนการย้อมและตกแต่งเพราะมีการใช้สารเคมีที่เป็นพิษและอันตรายในการผลิต ซึ่ง 1 ใน 5 ของปริมาณน้ำเสียทั่วโลกมาจากอุตสาหกรรม Fast Fashion
  • เสื้อผ้าแฟชั่นมีส่วนประกอบของขยะพลาสติกที่ย่อยสลายยาก มีไมโครพลาสติกจากสิ่งทอประเภทสังเคราะห์ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
  • อุตสาหกรรมแฟชั่นปล่อยก๊าซคาร์บอนฯประมาณ 1.7 พันล้านตันต่อปี หรือราว 10% ของการปล่อยคาร์บอนฯ ทั่วโลก
  • ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯมากกว่าอุตสาหกรรมการบิน + การขนส่งทางเรือรวมกันซึ่งอยู่ราว 4%
  • อุตสาหกรรมแฟชั่นไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ประมาณ 4 - 8%
  • อุตสาหกรรมแฟชั่นไทยประมาณ  85% ถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์

ขยะแฟชั่นทวีความรุนแรง

อีกหนึ่งผลสำรวจที่น่าตกใจ คือ 40% ของคนไทย ใส่เสื้อผ้าครั้งเดียวแล้วทิ้ง พร้อมมีการให้เหตุผลส่วนใหญ่ว่ารู้สึกเบื่อ มีตำหนิคิดว่าไม่เหมาะสม และการบริโภคนิยมทำให้คนไม่ตระหนักถึงคุณค่าของสินค้า กระตุ้นในคนซื้อมากกว่าความจำเป็นในการใช้งาน ขณะเดียวกันมีการคัดลอกดีไซนของแบรนด์อื่นๆ หรือ ดีไซเนอร์ชื่อดังมาผลิตสินค้าในราคาที่ถูกกว่า แม้จะผิดกฎหมาย ทำให้คนซื้อเสื้อผ้าได้ง่ายขึ้น

ฃทั้งหมดที่กล่าวมา คือ ปัญหาขยะเสื้อผ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากน้ำมือคนไทยที่เบื่อง่าย ใส่แล้วทิ้ง เชื่อว่าหากไม่ช่วยกันดูแลเรื่องนี้ในอนาคตจะเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

related