svasdssvasds

ทำไม 'แมว' ถึงเป็นมิตรคู่เมืองของชาวตุรกี แม้แต่ นบี มูฮัมหมัด ยังเป็นทาสแมว

ทำไม 'แมว' ถึงเป็นมิตรคู่เมืองของชาวตุรกี แม้แต่ นบี มูฮัมหมัด ยังเป็นทาสแมว

“ยูซุฟ ดิเค็ก” นักแม่นปืน สัญชาติตุรกี ที่ไอเทมไม่ต้องเยอะ มาตัวเปล่า ๆ แถมมาดเท่จนกลายเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์ นอกจากยูซุฟเคยเป็นทหารเก่าแล้ว เจ้าตัวยังเป็น “ทาสแมว” อีกด้วย SPRiNG ชวนหาคำตอบว่า ทำไมคนตุรกีถึงรักแมว?

SHORT CUT

  • “ยูซุฟ ดิเค็ก” นักแม่นปืน สัญชาติตุรกี เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิก ผู้เคยเป็นทหาร และยังเป็น “ทาสแมว” อีกด้วย
  • แมวในตุรกีอยู่มาตั้งแต่กาลสมัยแห่งอาณาจักรออตโตมัน เมื่อราวศตวรรษที่ 13 มีข้อมูลว่าอาณาจักรออตโตมันเลี้ยงแมวเอาไว้กำจัดหนู
  • โดยมีตำนานเล่าขานกันมาว่า “นบี มูฮัมหมัด” ศาสดาของศาสนาอิลาม มีแมวตัวโปรดหนึ่งตัวชื่อว่า “มุอัซซะอ์” ซึ่งมักมานั่งอยู่บนตักอยู่เป็นประจำ

“ยูซุฟ ดิเค็ก” นักแม่นปืน สัญชาติตุรกี ที่ไอเทมไม่ต้องเยอะ มาตัวเปล่า ๆ แถมมาดเท่จนกลายเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์ นอกจากยูซุฟเคยเป็นทหารเก่าแล้ว เจ้าตัวยังเป็น “ทาสแมว” อีกด้วย SPRiNG ชวนหาคำตอบว่า ทำไมคนตุรกีถึงรักแมว?

ณ เวลานี้ คงไม่มีใครฮ็อตไปกว่า “ยูซุฟ ดิเค็ก” นักแม่นปืน สัญชาติตุรกี ที่ไอเทมไม่ต้องเยอะ มาตัวเปล่า ๆ แถมมาดเท่จนกลายเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์ ท้ายที่สุด ชายวัย 51 ปีรายนี้สามารถคว้าเหรีญเงินไปครองได้สำเร็จ แต่รู้หรือไม่ว่า...? นอกจากยูซุฟเคยเป็นทหารเก่าแล้ว เจ้าตัวยังเป็น “ทาสแมว” อีกด้วย 

Credit Paris 2024

Credit IG yusufdikecofficial

SPRiNG ชวนหาคำตอบว่า ทำไมคนตุรกีถึงรักแมว? พร้อมพาย้อนประวัติศาสตร์แมวตั้งแต่ยุคอาณาจักรออตโตมันจนถึงปัจจุบัน แมวเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชาวตุรกีอย่างไร หรือแม้กระทั่งแมวจร ทำไมถึงได้รับการดูแลจากทั้งภาครัฐ และประชาชน พวกเขามีวิธีคิดอย่างไร แนวคิดทางศาสนามีผลต่อแมวหรือไม่ ร่วมหาคำตอบได้ที่บทความนี้

แมว: สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของตุรกี อยู่มาตั้งแต่ยุคอาณาจักรออตโตมัน

เคยมีคำกล่าวว่า “คนตุรกีทุกคนรักแมว”

คาดการณ์กันว่าแมวถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อราว 9,500 ปีก่อน แต่จุดเริ่มต้นของแมวในตุรกีนั้นต้องย้อนกลับไปกาลสมัยแห่งอาณาจักรออตโตมัน เมื่อราวศตวรรษที่ 13 มีข้อมูลว่าอาณาจักรออตโตมันเลี้ยงแมวเอาไว้กำจัดหนู

เวลาผ่านไปราว 623 ปี อาณาจักรออตโตมันล่มสลายอย่างเป็นทางการ เมื่อทศวรรษ 1922 และในวันที่ 1 พ.ย. 1922 ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี แม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง ทว่า สิ่งที่ยังเหมือนเดิมคือแมว

อิสตันบูลขึ้นชื่อว่าเป็น "เมืองแมว" Credit Wikipedia

ข้อมูลจาก Catster อธิบายว่าความสัมพันธ์ของชาวตุรกีกับแมวนั้นฝากรากลึก จะผ่านมากี่ยุคสมัยคนตุรกีก็ยังรักแมว เอ็นดูแมว และหมั่นคอยป้อนน้ำ ป้อนอาหารให้กับแมว สารคดีจากประเทศตุรกีเรื่อง “Kedi” ที่ออกฉายเมื่อปี 2016 ได้ฉายภาพให้เห็นว่าทำไมแมวถึงเป็นลูกรักของชาวตุรกี

สารคดีเรื่องนี้เล่าว่าไม่ว่าเราจะมองไปทางไหน รับประกันได้เลยว่าคุณจะเห็นแมวเดินต้วมเตี้ยมอย่างน้อย 1 ตัว แม้กระทั่งแมวจรก็ตาม ข้อมูลจาก Caster สามารถพบแมวได้ตามสวนสาธารณะ หลังคาบ้าน ร้านอาหาร ถนน หรือแม้กระทั่งศาสนสถาน

แมวกับความเชื่อทางศาสนาอิสลาม

ตุรกีมีประชากรราว 85 ล้านคน โดยข้อมูลจากกระทรวงต่างประเทศระบุว่าชาวตุรกีกว่า 99% นับถือศาสนาอิสลาม ที่เหลือคือคริสเตียน และยิว

เหตุที่ต้องเอ่ยถึงประเด็นนี้นั่นเป็นเพราะว่าแมวในกรอบวัฒนธรรมของตุรกีนั้นถูกยึดโยงอยู่กับความเชื่อทางศาสนา

แมวคือมิตรคู่เมืองของประเทศตุรกี Credit สารคดี Kedi

โดยมีตำนานเล่าขานกันมาว่า “นบี มูฮัมหมัด” ศาสดาของศาสนาอิลาม มีแมวตัวโปรดหนึ่งตัวชื่อว่า “มุอัซซะอ์” ซึ่งมักมานั่งอยู่บนตักอยู่เป็นประจำ ครั้งหนึ่งเตรียมตัวลุกไปประกอบศาสนกิจแต่แมวนอนทับอยู่ พระองค์จึงตัดแขนเสื้อตัวเองออก เพื่อไม่ให้รบกวนการนอนของแมว

ภาครัฐไม่มีนโยบายกำจัดแมว

เราอาจเคยได้ยินกันมาว่านครอิสตันบูล มีฉายาว่า Cat City หรือ เมืองแมว ซึ่งพูดเช่นนั้นก็ไม่ผิด เพราะเว็บไซต์ The Sundial Press ประเมินว่านครแห่งนี้มีประชากรแมวอยู่ราว 7.5 แสนตัว แบ่งเป็นแมวจร 1.2 แสนตัว

อิสตันบูล มีประชากรแมวอยู่ราว 7.5 แสนตัว

แต่เกิดคำถามว่าปล่อยให้แมวจรกระจายเฟื่องเกลื่อนเมืองจะไม่ส่งผลเสียมากกว่าผลดีหรือ คำตอบที่ได้คือแมวจรในตุรกีวิถีชีวิตดีมาก มีผู้คนนำน้ำ และอาหารมาเลี้ยงไม่ขาดสาย เป็นหลักแหล่ง แถมไม่สกปรกโสมม

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมใคร ๆ ก็รักแมว เพราะแมวจรตามสวนสาธารณะในตุรกี สะอาด อ้วนท้วม น่ารัก ใครเดินผ่านหเป็นอันต้องแวนไปจิ้มเล่น ถ่ายรูป หากจะเรียกขานว่านี่คือเมืองที่เป็นมิตรกับแมวมากที่สุดในโลกคงไม่เกินจริง

สะท้อนผ่านนโยบายภาครัฐที่ระบุว่า “ห้ามฆ่า ห้ามจับ” ผู้ใดฆ่าแมว ต้องสร้างมัสยิดเพื่อไถ่บาปความผิดที่ได้กระทำลงไป การกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงออกว่าคุณได้สำนึกผิด และเคารถแมวตัวนั้นอย่างลึกซึ้ง

มองไปทางไหนก็เจอ "แมว"

ในปี 2021 ตุรกีประกาศให้สัตว์เลี้ยง และสัตว์จรจัด มีสถานะเป็น ‘สิ่งมีชีวิต’ ซึ่งหากใครทำร้าย หรือลงมือฆ่า จะถูกจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี

ทั้งนี้ ทางการตุรกีได้ออกคำสั่งจัดหาอาหารเลี้ยงสัตว์จร ซึ่งรวมสุนัขจร แมวจร ซึ่งมีอยู่เกลื่อนเมืองด้วย นั่นจึงเป็นเหตุว่าทำไมแมวจึงเป็นหัวใจของชาวตุรกีมาเนิ่นนาน

หรือแม้แต่ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีข่าวลือว่าพบแมวติดเชื้อไวรัสโควิด ซึ่งได้รับการยืนยันจากงานวิจัยแล้วว่าจริง แต่ขณะเดียวกันมีงานวิจัยที่ออกมาโต้กลับว่าไม่ควรจะต้องกังวลว่าเชื้อไวรัสจากสัตว์ที่อยู่ใกล้ชิดจะแพร่กลับคืนมายังมนุษย์ 

ทำไมคนตุรกีรักแมว?

หากมีคนถามคุณว่า “ทำไมถึงรักแมว?” คุณจะตอบว่าอย่างไร

SPRiNG เสิร์จคำถามบนกูเกิลไปง่าย ๆ ว่าทำไมคนตุรกีถึงรักแมว ข้อมูลที่หลายสำนักหยิบยกมาอธิบายนิสัยใจคอของชาวตุรกีต่อแมวคือคำกล่าวของ “เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์” นักประพันธ์ชาวอเมริกัน

เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ จากนักประพันธ์สู่ทาสแมว Credit NDLA

โดยเจ้าตัวกล่าวถึงแมวไว้ว่า “แมวคือสัตว์ที่มีความซื่อสัตย์ต่ออารมณ์สูง ในบางครั้ง มนุษย์อาจเก็บซ่อนความอารมณ์ความรู้สึกไว้ด้วยเหตุผลบางอย่าง แต่แมวจะไม่ทำเช่นนั้น

ถ้อยคำดังกล่าวอนุมานได้ว่าชาวตุรกีหลงรักความสัตย์ซื่อของแมว ในโมงยามที่สังคมสมัยใหม่บีบคั้นให้มนุษย์ต้องเก็บอารมณ์ความรู้สึกเข้าลิ้นชัก หรือบางทีคงเป็นเหตุผลง่าย ๆ เช่น ฉันก็แค่เป็นทาสแมว

ตุรกี นครแห่งแมว Credit สารคดี Kedi

แต่หลายฝ่ายได้เสนออีกมุมมอง โดยชี้ว่าหากปล่อยให้แมวจรเฟื่องเกลื่อนเมืองอยู่เช่นนี้ อาจควบคุมประชากรแมวไม่ได้ ทั้งในแง่ปริมาณ หรือโรคระบาด นั่นจึงเป็นที่มาของกฎหมายทำหมันสัตว์จรจัดในตุรกีทั้งหมด เพื่อควบคุมประชากรแมว

 

ที่มา: Caster, Turkish Airline, Goturkiye, World Population Review, Sapiens

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related