svasdssvasds

"หมีน้ำตาลหิมาลายัน" ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งโลกเหลือ 1,000 ตัว

"หมีน้ำตาลหิมาลายัน" ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งโลกเหลือ 1,000 ตัว

"หมีน้ำตาลหิมาลายัน" กำลังจะสูญพันธุ์ หลังได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวและการทิ้งขยะของมนุษย์ จนเหลือจำนวนราว ๆ 1,000 ตัวเท่านั้น

SHORT CUT

  • หน่วยงานอนุรักษ์เผย หมีน้ำตาลหิมาลายัน เหลือจำนวนแค่ 1,000 ตัว
  • มีการติด GPS เพื่อตามรอยและศึกษาพฤติกรรมของพวกมัน หวังว่าจะช่วยให้รอดวิกฤติสูญพันธุ์ได้
  • หมีหลายตัวได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์จนต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การกินขยะเป็นอาหาร

"หมีน้ำตาลหิมาลายัน" กำลังจะสูญพันธุ์ หลังได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวและการทิ้งขยะของมนุษย์ จนเหลือจำนวนราว ๆ 1,000 ตัวเท่านั้น

"โลกนี้เหลือหมีน้ำตาลหิมาลายันประมาณ 1,000 ตัว" 

นี่เป็นข้อมูลจากการประเมินของหน่วยงานอนุรักษ์ธรรมชาติ Wildlife SOS ที่ทำการติดตั้งปลอกคอวิทยุ GPS ไว้กับหมีสีน้ำตาลหิมาลัยบางส่วน เพื่อติดตามแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี้อย่างใกล้ชิด

การติดตามดังกล่าวเกิดขึ้น หลังมีผู้พบเห็นหมีสีน้ำตาลที่หิวโหยจนต้องพยายามขุดกินซากศพของมนุษย์จากสุสานแห่งหนึ่งในเมืองหันทวาราของแคชเมียร์ ดินแดนทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งทำให้หน่วยงานอนุรักษ์ตระหนักว่า พวกมันกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนอาหารจนเข้าใกล้การสูญพันธุ์เต็มทีแล้ว

\"หมีน้ำตาลหิมาลายัน\" ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งโลกเหลือ 1,000 ตัว

ผู้เชี่ยวชาญของ Wildlife SOS กล่าวว่า ประชากรหมีสีน้ำตาลในแคชเมียร์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากการท่องเที่ยว กิจกรรมการก่อสร้าง การเลี้ยงปศุสัตว์ เกษตรกรรม การตั้งถิ่นฐาน ทางหลวง ทางรถไฟ การขุดอุโมงค์ และการรุกล้ำของมนุษย์ ทำให้พวกมันต้องเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีชีวิตและอาหารการกินเพื่อเอาตัวรอด

อาหารตามธรรมชาติของหมีสีน้ำตาลคือแมลง สัตว์น้ำชนิดเล็ก และหญ้าอ่อน แต่จากการติดตามกลับพบว่า นอกจากซากศพมนุษย์แล้ว พวกมันยังกินเศษขยะของมนุษย์ เช่น ถุงพลาสติก ห่อช็อคโกแลต เศษอาหารออร์แกนิก ที่รวมถึงอาหารบูดเหลือทิ้งด้วย

\"หมีน้ำตาลหิมาลายัน\" ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งโลกเหลือ 1,000 ตัว

หมีสีน้ำตาลหิมาลัยเป็นหนึ่งในสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งมักจะมีถิ่นอาศัยเป็นบริเวณแคบ เช่นในในทุ่งหญ้าอัลไพน์ของเทือกเขาหิมาลัย ที่ผ่านมาจึงไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาและพฤติกรรมของมัน บรรดานักอนุรักษ์จึงหวังว่าการใช้ GPS ติดตามการเดินทางของพวกมันอย่างละเอียด จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและสามารถช่วยเหลือหมีสีน้ำตาลให้เพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นได้ในอนาคต

\"หมีน้ำตาลหิมาลายัน\" ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งโลกเหลือ 1,000 ตัว