svasdssvasds

แล้วเต่าทะเลล่ะ? วลีฮิตจากช่อง FAROSE เอาไว้พูดเตือนสติปัญหาสิ่งแวดล้อม

แล้วเต่าทะเลล่ะ? วลีฮิตจากช่อง FAROSE เอาไว้พูดเตือนสติปัญหาสิ่งแวดล้อม

SPRiNG ชวนอ่านที่มา "แล้วเต่าทะเลล่ะ?" วลีฮิตจากช่อง FAROSE สะท้อนปัญหาเรื่องขยะพลาสติกในทะเลอย่างไร แล้วเต่าทะเลเกี่ยวอะไรกับหลอดพลาสติก ติดตามได้ที่บทความนี้

SHORT CUT

  • “แล้วเต่าทะเลล่ะ?” คือวลีฮิตจากช่อง FAROSE ถูกพูดครั้งแรกในรายการไกลบ้าน Ep.33 เพื่อรณรงค์ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • เว็บไซต์ Condor Ferries ได้คาดการณ์ว่ามีหลอดพลาสติกประมาณ 8.3 พันล้านหลอดกระจายอยู่ตามชายฝั่งทั่วโลก 
  • การศึกษาจากกองทุนสัตว์ป่าโลก ระบุว่า เต่าทะเล 1 ใน 2ตัว ถูกพบว่ากินพลาสติกเข้าไป และหลายตัวต้องอดอาหารเพราะในกะเพราะเต็มไปด้วยพลาสติก

SPRiNG ชวนอ่านที่มา "แล้วเต่าทะเลล่ะ?" วลีฮิตจากช่อง FAROSE สะท้อนปัญหาเรื่องขยะพลาสติกในทะเลอย่างไร แล้วเต่าทะเลเกี่ยวอะไรกับหลอดพลาสติก ติดตามได้ที่บทความนี้

“สวัสดีค่ะ...คุณอยู่กับฟาโรส และนี่คือไกลบ้าน”

เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2567 สปริงนิวส์ในคอลัมน์ Keep The World ขอนำเสนอคำว่า “แล้วเต่าทะเลล่ะ?” วลีฮิตจากช่อง FAROSE จากรายการไกลบ้าน Ep.33 โดยในเทปนี้ได้ “พี่ต่อ” แห่งไฮเดลแบกมาเป็นแขกรับเชิญ

แล้วเต่าทะเลล่ะ? Credit FAROSE

โดยในวินาทีที่ 18.28 มีการพูดว่าต้องการรณรงค์ให้เลิกใช้หลอดพลาสติก จากนั้น คุณฟาโรสได้ยกตัวอย่างสถานการณ์ว่า “สมมติว่าใครหยิบหลอดพลาสติกขึ้นมา และกำลังจะกินน้ำ กะเทยก็ตะโกนขึ้นมาว่า แล้วเต่าทะเลล่ะ?”

แม้จะฟังดูเป็นประโยคขำขัน แต่หากลองไปค้นพบ “เต่าทะเล หลอดพลาสติก” ในกูเกิล คุณจะพบกับภาพเต่าทะเลที่มีหลอดพลาสติกเสียบแทงรูจมูกอยู่ ซึ่งมันก็สะท้อนว่าหลอดที่เราเพิ่งดูดไปหยก ๆ หารู้ไม่ว่า...วันดีคืนดีมันอาจกลายเป็นอาวุธที่ไปทำร้ายสัตว์ในทะเลได้

“หลอดพลาสติก” อันตรายต่อสัตว์น้ำอย่างไร?

เว็บไซต์ Condor Ferries ได้คาดการณ์ว่ามีหลอดพลาสติกประมาณ 8.3 พันล้านหลอดกระจายอยู่ตามชายฝั่งทั่วโลก ซึ่งปริมาณเท่านี้ก็ถือว่าเยอะแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า...นี่เป็นแค่ 1% ของจำนวนพลาสติกในทะเลทั้งหมดทั่วโลก

พบหลอดเสียบจมูกเต่าทะเล Credit Christine Figgener

รายงานปี 2023 จากองค์กรไม่แสวงผลกำไร Ocean Conservancy ซึ่งมักจัดกิจกรรมเก็บขยะริมชายหาดอยู่ทุกปี ได้เปิดเผยว่าหลอดพลาสติกคือหนึ่งในพลาสติกที่เก็บได้มากที่สุด

การศึกษาจากกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund) ระบุว่าเต่าทะเล 1 ใน 2 ตัว ถูกพบว่ากินพลาสติกเข้าไป และหลายตัวต้องอดอาหารเพราะในกะเพราะเต็มไปด้วยพลาสติก ซึ่งเรื่องนี้จะไปโทษเต่าก็ไม่ได้ เพราะเต่ามันก็แค่หาอาหาร อ้าปากงับลูกปลา และพวกมันก็ไม่รู้ด้วยว่าที่กินเข้าไปนั้นคือ “พลาสติก”

หลอดพลาสติก ถูกพบบริเวณริมชายฝั่งทั่วโลก Credit Flickr

ภายหลัง หลายประเทศทั่วโลกจึงเกิดแคมเปญเก็บขยะริมชายหาด หรือแม้แต่รณรงค์ให้เลิกใช้หลอดพลาสติก ลากลามไปจนถึงเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศแบนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพราะหวังแต่จะพึ่งพาจิตสำนึกจากมนุษย์คงเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา

ทั้งนี้ วลีอย่าง “แล้วเต่าทะเลล่ะ?” ได้กลายเป็นประโยคเตือนสติ และรณรงค์เรื่องปัญหาพลาสติกในประเทศไทย แม้ช่วงแรก ๆ อาจถูกพูดถึงแค่ในกลุ่มคอมมูนิตี้ หรือที่เรียกกันว่า “ชาวช่อง” แต่คุณฟาโรสเปิดเผยว่า มีหลายองค์กรที่ได้หยิบยืมวลีนี้ไปใช้เพื่อสื่อสารเรื่องปัญหาพลาสติก

 

ที่มา: Condor Ferries

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related