svasdssvasds

ถอดบทเรียน! กำจัดหอยเชอรี่เอเลี่ยนสปีชีส์ สู่การรับมือ “ปลาหมอคางดำ”

ถอดบทเรียน! กำจัดหอยเชอรี่เอเลี่ยนสปีชีส์ สู่การรับมือ “ปลาหมอคางดำ”

ไทยเจอ "เอเลี่ยนสปีชีส์" มามากมายหลายครั้ง อย่างล่าสุด อิกัวนาเป็นจำนวนมากในพื้นที่เมืองละโว้ จ.ลพบุรี จึงได้มีการเร่งกำจัด และสดๆ ร้อนๆ “ปลาหมอคางดำ” พามาถอดบทเรียน! กำจัดหอยเชอรี่เอเลี่ยนสปีชีส์ สู่การรับมือ “ปลาหมอคางดำ”

SHORT CUT

  • เชื่อหรือไม่ว่า ระบบนิเวศจะไม่สมบูรณ์อีกต่อไป ถ้ามีเอเลียน สปีชีส์ (Alien Species) เข้ามาทำลายล้าง
  • เอเลียน สปีชีส์ ก็คือ สิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผลเสียต่อระบบนิเวศดั้งเดิมได้
  • ไทยเคยพบมากมาย เช่น อิกัวนา หอยเชอรี่ และล่าสุด ปลาหมอคางดำ

ไทยเจอ "เอเลี่ยนสปีชีส์" มามากมายหลายครั้ง อย่างล่าสุด อิกัวนาเป็นจำนวนมากในพื้นที่เมืองละโว้ จ.ลพบุรี จึงได้มีการเร่งกำจัด และสดๆ ร้อนๆ “ปลาหมอคางดำ” พามาถอดบทเรียน! กำจัดหอยเชอรี่เอเลี่ยนสปีชีส์ สู่การรับมือ “ปลาหมอคางดำ”

เอเลียน สปีชีส์ คืออะไร? ทำไมต้องกำจัด

ระบบนิเวศจะไม่สมบูรณ์อีกต่อไป ถ้ามี เอเลียน สปีชีส์ (Alien Species) เข้ามาทำลายล้าง หลายคนอาจสงสัยว่าเอเลียน สปีชีส์ มันคืออะไร แล้วมันทำลายสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศได้อย่างไร โดยหากพูดให้เข้าใจง่ายๆ เอเลียน สปีชีส์ ก็คือ สิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผลเสียต่อระบบนิเวศดั้งเดิมได้ โดยเอเลียน สปีชีส์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • สิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่รุกราน (Non-invasive Alien Species)
  • สิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species)

ที่ผ่านเอเลียน สปีชีส์ ทำลายระบบนิเวศไทยเพียงใด

สำหรับประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจาก เอเลียน สปีชีส์ รุกราน อย่างเช่น ที่ผ่านมาไม่นานมานี้เกิดกการระบาดของอิกัวนาเป็นจำนวนมากในพื้นที่เมืองละโว้ จ.ลพบุรี จึงได้มีการเร่งกำจัดเพื่อไม่ให้สร้างผลกระทบในบริเวณนั้น  ส่วนล่าสุดก็มีเจอกับเอเลียน สปีชีส์ อย่าง ปลาหมอสีคางดำ ซึ่งเป็นสัตว์ต่างถิ่นชนิดรุกรานระบบนิเวศ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา พบแพร่กระจายอยู่บริเวณชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ

ปัจจุบันมีการนำเข้าพันธุ์ปลาหมอสีคางดำในหลายประเทศ ซึ่งในประเทศไทยที่มีรายงานเข้ามาตั้งแต่ปี 2553 ปลาชนิดนี้สามารถอยู่ได้ในน้ำเกือบทุกประเภท และสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว  กินทั้งพืช สัตว์ แพลงก์ตอน ลูกปลา ลูกหอยสองฝา รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิต

ถอดบทเรียน! กำจัดหอยเชอรี่เอเลี่ยนสปีชีส์ สู่การรับมือ “ปลาหมอคางดำ”

นอกจากนี้พบว่าปลาหมอสีคางดำยังชอบกินลูกกุ้งทะเล โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งแชบ๊วย ลูกปลาวัยอ่อน และยังสามารถย่อยกุ้งได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 นาที จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมปลาหมอสีคางดำถึงมีความต้องการอาหารอยู่ตลอดเวลา และทำให้สัตว์น้ำอื่นๆ ตามเรียบ

 

จ.สมุทรสาคร-กทม. เร่งแก้ไขปลาหมอคางดำ

ล่าสุดที่จ.สมุทรสาคร พบมีการระบาดของปลาหมอสีคางดำอย่างหนักในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย จากการสำรวจล่าสุด 4 เดือน จับปลาหมอคางดำได้เกือบ 5 แสนกิโลกรัม ปัญหาดังกล่าวเริ่มทวีความรุนแรง จึงทำให้ประมงจังหวัดสมุทรสาคร ได้จัดกิจกรรมลงแขกลงคลอง ให้ชาวประมงในพื้นที่ ลงพื้นที่มาช่วยกันจับปลาหมอสีคางดำ เพราะสร้างผลกระทบให้สัตว์น้ำบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก ทำให้ชาวประมงได้รับความเดือดร้อน

ในส่วนของพื้นที่ กทม. บางพื้นที่ก็มีการระบาดของปลาหมอสีคางดำ เช่นกัน ล่าสุดกทม.กำลังหาทางสกัด "ปลาหมอคางดำ" พร้อมจ่อลงทะเบียนเยียวยาเกษตรกร โดย วันนี้ 13 ก.ค.2567 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่สถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจร คลองสนามชัย-บางขุนเทียน ติดตามปัญหาปลาหมอคางดำระบาด ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ มีการแพร่ระบาดในเขตบางขุนเทียน ทุ่งครุ บางบอน ส่งผลให้เกษตรกรกว่า 900 คน ผู้เลี้ยงกุ้ง-เลี้ยงปลา ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำที่กินไข่ปลาและปลาเล็ก ส่งผลต่อราคาและร้านอาหาร

ถอดบทเรียน! กำจัดหอยเชอรี่เอเลี่ยนสปีชีส์ สู่การรับมือ “ปลาหมอคางดำ”

ทั้งนี้กทม.จะร่วมมือและหาทางเยียวยาเกษตรกรที่รายได้ลดลง และจากนี้จะเปิดลงทะเบียนและหามาตรการสกัดไม่ให้ปลาหมอคางดำแพร่ระบาดเข้าไปในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ซึ่งอาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย อย่างไรก็ตาม กทม.จะต้องรับฟังความเห็นจากกรมประมงเป็นหลัก เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญ ขณะนี้พบการแพร่ระบาดใน 3 เขตพื้นที่ของ กทม.และเกรงว่าจะแพร่ระบาดไปยังฝั่งตะวันออกเช่นกัน

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ทั้งหมดที่กล่าวมา คือ เอเลี่ยนสปีชีส์ ที่ทำลายระบบนิเวศไทย จึงทำให้ต้องหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหาแนวทางรับมือ และในอดีตไทยก็มีบทเรียนราคาแพงจากหอยเชอรี่เอเลี่ยนสปีชีส์ ที่ทำลายนาข้าวพังทลายในหลายจังหวัด

ซึ่ง“หอยเชอรี่” เป็นหอยน้ำจืดที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยประเทศไทยรับหอยชนิดนี้มาจากญี่ปุ่นและไต้หวันอีกที เพื่อนำมากำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา และกลายเป็นไอเท็มฮอตฮิตที่นิยมเลี้ยงกันในช่วงปี 2530 ภายหลังมีคนคิดจะเพาะพันธ์ขายเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค เนื่องจากสถาบันหัวใจและปอดแห่งชาติของแคนาดา ระบุว่า หอยเชอรี่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย แต่กลับไม่เป็นที่นิยม จึงนำหอยเชอรี่ปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ

หอยเชอรี่กลายเป็นปัญหา สร้างความปวดหัวให้แก่ชาวนา ชาวไร่อย่างมาก เพราะหอยเชอรี่สามารถกัดกินต้นกล้าข้าวในนาได้เป็นไร่ แถมขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว กำจัดเท่าไหร่ก็ไม่หมดไม่สิ้น

แต่แล้วจุดเปลี่ยนของหอยเชอรี่ก็มาถึง เมื่อชาวบ้าน “เปิดใจ” ลองลิ้มชิมรสหอยเชอรี่ เอาไปใส่ใน “ตำป่า” ปรากฏว่า เนื้อสัมผัสของหอยนุ่มหนึบ ซึมซาบน้ำส้มตำได้ดี จากวันนั้นจนถึงวันนี้หอยเชอรีก็กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในเมนูตำป่าอีกเลย แถมในปัจจุบันยังนำหอยเชอรี่ไปทำเมนูต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย

ปัจจุบันหอยเชอรี่จึงกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจไปในทันที มีการจับขายส่งพ่อค้าคนกลาง ตลอดจนเปิดฟาร์มเลี้ยงหอยเชอรี่เพื่อการบริโภค สร้างรายได้ให้แก่ชาวนาได้อีกทาง และถ้าเราจะนำปลาหมอคางดำมาเป็นสัตว์เศรษฐกิจแบบหอยเชอรี่ก็คงไม่ผิด ! 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related