svasdssvasds

ตามต่อ ล่านกยูงอินเดียในห้วขาแข้ง ยังไม่ถึงกับสังหาร ล่าสุดเหมือนเจอแล้ว

ตามต่อ ล่านกยูงอินเดียในห้วขาแข้ง ยังไม่ถึงกับสังหาร ล่าสุดเหมือนเจอแล้ว

กรมอุทยานฯชี้ ยังคงตามล่านกยูงอินเดีย เอเลี่ยนสปีชีส์ในห้วยขาแข่ง หวั่นผสมนกยูงพันธุ์ไทย จนเกิดลูกไฮบริด ล่าสุดมีรายงานพบขนสีขาว คาดเป็นของนกยูงตัวดังกล่าว

SHORT CUT

  • อุทยานฯชี้แจง ล่านกยูงอินเดีย ยังไม่ถึงขั้นสังหาร
  • รายงานล่าสุดบอก เขอขนนก คาดว่าเป็นของนกยูงอินเดีย กำลังตามต่อ
  • กระบวนต่อไปอาจใช้ปืนยางสลบ แต่ต้องดูความเหมาะสมอีกที
  • ต้องรีบจับให้ได้ ก่อนกระทบต่อระบบนิเวศ

กรมอุทยานฯชี้ ยังคงตามล่านกยูงอินเดีย เอเลี่ยนสปีชีส์ในห้วยขาแข่ง หวั่นผสมนกยูงพันธุ์ไทย จนเกิดลูกไฮบริด ล่าสุดมีรายงานพบขนสีขาว คาดเป็นของนกยูงตัวดังกล่าว

เป็นที่น่าหวั่นใจของระบบนิเวศในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้ มีช่างภาพได้บังเอิญถ่ายภาพนกยูงอินเดีย พร้อมลูกนกอีก 2 ตัว ซึ่งคาดว่าเป็นนกยูงไฮบริด หรือพันธุ์ผสม ระหว่างนกยูงอินเดียสีขาว กับนกยูงสายพันธุ์ไทยพื้นเมืองในเขตพื้นที่อนุรักษ์

นกยูงอินเดียสีขาว Cr.ห้วยขาแข้ง

ภาพดังกล่าว ได้สร้างความกังวลใจไม่น้อยให้กับนักอนุรักษ์ รวมไปถึงกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เนื่องจากการพบกันระหว่างนกยูงอินเดีย (ซึ่งเป็นนกยูงเอเลี่ยนสปีชีส์ในประเทศไทย) กับนกยูงพันธุ์ไทยพื้นเมืองในลักษณะนี้ อาจทำให้นกยูงสายพันธุ์ไทยแท้เสี่ยงสูญพันธุ์ ซึ่งนกยูงดังกล่าวถือว่าเป็นสมบัติของชาติ

เพราะการผสมข้ามสายพันธุ์เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของประชากรนกยูงพันธุ์ไทยแท้ที่เหลืออยู่ เพราะหากการผสมจนเกิดลูกไฮบริดเพิ่มมากขึ้น จะยิ่งทำให้นกยูงพันธุ์ไทยถูกคุกคาม อีกทั้ง ปัจจุบัน ประชากรนกยูงไทยก็ลดจำนวนน้อยลงจนเสี่ยงสูญพันธุ์อยู่แล้ว หากการผสมข้ามสายพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้น เราก็จะมีประชากรนกยูงไทยน้อยลง จนในท้ายที่สุด ก็สูญพันธุ์หายไปจากป่าไทย

ทีมข่างสปริงนิวส์ในคอลัมน์ Keep The World ได้โทรไปสอบถามนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ถึงความคืบหน้าการตามล่านกยูงอินเดีย นายอรรถพลได้ให้สัมภาษณ์ว่า

“ล่าสุดมีรายงานเข้ามาว่า มีการค้นพบขนนกสีขาว เบื้องต้นคาดว่าเป็นของนกยูงอินเดีย หลังเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนตามล่ามา 8 วันแล้ว แต่เบื้องต้นต้องตรวจสอบต่อไป เพราะอาจเป็นของเหยี่ยวก็ได้”

“ทางกรมอุทยานฯก็มีความกังวล หากยังไม่สามารถจับนกได้ แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องจับให้ได้ครับ หากเจอ ก็จะต้องยิงยาสลบ ซึ่งมันก็เป็นไปตามลำดับเรื่อย ๆ ส่วนการสังหารจะเป็นจุดสุดท้ายจของการหยุดยั้งสายพันธุ์เอเลี่ยนสปีชีส์ ซึ่งมันยังไม่ถึงเวลาตัดสินใจใช้ตัวเลือกนั้นในตอนนี้ครับ ผมไม่อยากใช้”

“วิธีการที่กรมอุทยานฯใช้ในตอนนี้คือการซุ่มจับ ส่งกำลังไปลาดตระเวนเรื่อย ๆ ในบริเวณโดยรอบที่มีการพบเจอ วิธีต่อไปจะเข้มมากขึ้น อาจต้องใช้ปืนยิงยาสลบ ถ้าเจอก็ยิง แต่ยิงได้ไหมก็ต้องดูอีกนิดนึง เพราะถ้ายิงก็มีความเสี่ยง เค้าเป็นนก นกมันไม่เหมือนสัตว์ทั่วไปที่มีกล้ามเนื้อใหญ่ เวลายิงยาสลบก็เสี่ยงต่อชีวิตเค้าเหมือนกัน แต่มันก็ต้องทำ”

“ตอนนี้ยังไม่มีเดดไลน์ให้กับเจ้าหน้าที่ แต่ผมได้มอบดุลพินิจให้กับเจ้าหน้าที่ในการล่า แต่ถ้าถึงเวลาแล้วยังจับไม่ได้สักที และเราปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนาน ๆ มันก็จะปล่อยให้เกิดโอกาสในการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์มากขึ้นไปอีก ก็จะเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ ก็ต้องพิจารณากันไปครับ”

แนวทางในอนาคตล่ะ จะป้องกันอย่างไร ไม่ให้เกิดแบบนี้อีก?

“นกที่หลุดมานี้ จากการสันนิษฐาน คาดว่ามาจากวัด วัดที่อยู่ห่างออกไปจากพื้นที่สักประมาณ 10 กิโลเมตร เพราะวัดนี้เค้าเลี้ยงนกยูงอินเดียครั้บ”

“แนวทางในอนาคต คือต้องไม่ให้มีการนำเข้าไป ต้องมีการควบคุมไม่ให้คนเอานกเอเลี่ยนสายพันธุ์อื่น ๆ เข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งจริง ๆ มันก็เป็นกฎหมายของเราอยู่แล้ว ต้องควบคุม ชุดลาดตระเวนต่าง ๆ ก็ต้องควบคุม แต่อย่างที่บอกครับ ป่ามันกว้างใหญ่ เราควบคุมไม่หมด บางคนแอบเอามาปล่อยก็มี”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related