ประเทศไทยก้าวสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้ว หลังการประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา แถมสัปดาห์ที่ผ่านมา กทม. และหลายจังหวัดมีฝนมาทักทายกันตั้งแต่เช้า สปริงพาไปดู 10 ประเทศที่มีฝนตกฉ่ำมากที่สุดในโลก พร้อมดูสถานการณ์น้ำฝนในไทย
อยู่ประเทศไทยไม่ต้องขอฝนให้เสียเวลา แค่เราเลิกงานจะกลับบ้านฝนก็พร้อมโรยตัวใส่เราแล้ว นั่นเป็นเพราะว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ จากการประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
ดังนั้น ภาพคนไทยถกกางเกงครึ่งแข้ง พร้อมกับเสื้อกันฝน สองมือถือกับข้าวกับปลา และมุ่งหน้ากลับบ้าน จะเห็นได้บ่อยขึ้นในช่วงนี้
แม้ฤดูฝนในไทยจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม แต่หลายประเทศทั่วโลกเจอฝันกันตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของปี และใน 365 มีบางประเทศที่เจอฝนตกไปแล้วกว่า 323 วัน
ด้วยเหตุนี้ SPRiNG ชวนอ่าน “10 ประเทศ ฝนตกมากที่สุดในโลก” พวกเขาเจอฝนตกกี่วันต่อปี มีปริมาณน้ำฝนเท่าไหร่ และทิ้งท้ายกันไปด้วยข้อมูลฝนของไทย
ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 1,141,748 ตารางกิโลเมตร ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้สภาพอากาศค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยฤดูร้อนจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมีนาคม และฤดูฝนจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน
สำหรับใครที่แพลนจะไปเที่ยวโคลอมเบีย เลี่ยงฤดูฝนได้เลี่ยง เพราะโคลอมเบียฝนตกโหดมาก โดยในหนึ่งปี มีฝนตกเฉลี่ย 223 วัน และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 3,240 มิลลิเมตรต่อปี
เกาะเล็ก ๆ ในทวีปแอฟริกา ครอบคลุมพื้นที่ 1,001 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า ดินแดนแห่งนี้มีภูมิอากาศแบบโซนร้อน แต่ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำเย็น
ขณะเดียวกัน World Bank ระบุว่า เซาตูเมและปรินซิปีมีฤดูฝนยาวนาน 9 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงพฤษภาคม โดยในหนึ่งปี มีฝนตกเฉลี่ย 94 วัน และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 3,200 มิลลิเมตรต่อปี
ตั้งอยู่ในทวีปโอเชียเนีย เป็นดินแดนลึกลับที่เต็มไปด้วยชนเผ่าที่ไม่เคยเจอโลกภายนอก แถมยังเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก (รองจากเกาะกรีนแลนด์) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 4.6 แสน ตารางกิโลเมตร
ปาปัวนิวกินีมีภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้น เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ประกอบกับภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะ จึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมไปเต็ม ๆ ในหนึ่งปี มีฝนไปแล้ว 51 วัน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 3,142 มิลลิเมตรต่อปี
ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศปาปัว ครอบคลุมพื้นที่ 2.8 หมื่นตารางกิโลเมตร มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เว็บไซต์ Tourism Solomons ระบุว่า ฤดูแล้งหมู่เกาะแห่งนี้เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และฤดูฝนจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน
ทั้งนี้ หมู่เกาะโซโลมอนมีปริมาณฝนเฉลี่ย 323 วัน โดยมีปริมาณฝนเฉลี่ย 3,028 ต่อปี รั้งอันดับ 4 ประเทศที่มีฝนตกมากที่สุดในโลก
ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ครอบคุลมพื้นที่ 7.5 หมื่น ตารางกิโลเมตร ข้อมูลจาก weather spark ชี้ว่า อุณหภูมิของปานามาจะขึ้นลงอยู่ระหว่าง 24 – 32 องศา เนื่องจากเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศแบบเขตร้อน และได้รับอิทธิพลจากลมทะเล
เมื่อเรียงลำดับจากปริมาณน้ำฝน ปานามารั้งอยู่ดับที่ 5 โดยมีฝนตกเฉลี่ย 211 วันต่อปี มีปริมาณน้ำฝนประมาณ 2,928 มิลลิเมตรต่อปี
ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5.1 หมื่นตารางกิโลเมตร เปรียบเทียบกันแล้ว ดินแดนแห่งนี้มีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยถึง 10 เท่า เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยคือ คอสตาริกาเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาเหนือที่ออกกฎหมายห้ามล่าสุดทุกชนิด
คอสตาริกามีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม ส่วนบริเวณที่ราบสูงของประเทศจะมีอากาศอบอุ่น ในหนึ่งรอบปี มีฝนตกเฉลี่ยแล้ว 148 วัน และมีปริมาณน้ำฝน 2,926 มิลลิเมตรต่อปี
กลับมาที่ฟากประเทศเอเชีย มีภูมิอากาศร้อนชื้น มีฝนตกชุกหนัก ฤดูร้อนของจะเริ่มต้นเดือนมกราคมถึงตุลาคม ฤดูฝนจะเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม สังเกตว่าจะคล้ายคลึงกับประเทศไทย
ทั้งนี้ อุณหภูมิประจำวันเฉลี่ยของมาเลเซียอยู่ที่ 21 – 35 องศา มีปริมาณฝนตกเฉลี่ย 2,875 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกเฉลี่ยราว 202 วัน
เว็บไซต์สำนักแรงงานในประเทศบรูไน ระบุว่า ฤดูร้อนยาวนาน ส่วนฤดูหนาวจะมาแค่สั้น ๆ และไม่ได้มีอากาศเย็นมาก โดยฤดูร้อนจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกันยายน โดยฤดูหนาวจะเริ่มต้นเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
อย่างไรก็ตาม บรูไนเป็นประเทศที่มีอากาศอึมครึมทั้งปี โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,722 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกเฉลี่ย 253 วัน
ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย เป็นดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีหมู่เกาะมากที่สุดในโลก มีทั้งสิ้น 17,500 เกาะ ครอบคลุมพื้นที่ 1.9 ล้านตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศมีลักษณะเป็นป่าฝนเขตร้อน ฤดูแล้งเริ่มต้นเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ฤดูฝนเริ่มต้นเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
ทั้งนี้ อินโดนีเซียมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 21 – 33 องศา มีฝนตกเฉลี่ยปีละ 130 วันต่อปี และมีฝนตกเฉลี่ย 2,702 มิลลิเมตรต่อปี
เป็นประเทศในเอเชียใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 1.4 แสน ตารางกิโลเมตร แม้หลายเดือนที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าบังกลาเทศถูกคลื่นความร้อนถล่มอย่างหนัก แต่ฤดูกาลของบังกลาเทศหลัก ๆ แบ่งออกได้ 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว (พ.ย. - ก.พ.) ฤดูร้อน (มี.ค. - มิ.ย.) ฤดูฝน (ก.ค. - ต.ค.)
แม้จะเป็นเมืองร้อน แต่เนื่องจากอยู่ในเขตมรสุม มีฝนตกชุกอยู่ตลอด ทำให้บังกลาเทศถูกบันทึกไว้ว่ามีฝนตกเฉลี่ยอยู่ที่ 2,666 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกเฉลี่ย 136 วัน
ด้ามขวานทองคำที่เพิ่งก้าวเข้าสู่ฤดูฝนไปหมาด ๆ หลายจังหวัด รวมถึงกรุงเทพฯ ก็เจอกับฝนตกหนัก หรือบางวันก็มีฝนตกมาทั้งวัน ซึ่งถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านหลังจากหลุดพ้นหน้าแล้งมาได้ ต้องบอกว่าหน้าร้อนในไทยกินระยะประมาณ 3 เดือน หลังจากนั้นจะเจอกับฤดูฝน 6 เดือน
อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาสถานการณ์ลานีญากันต่อไป ว่าจะส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนของไทยมากน้อยแค่ไหน แต่ปกติแล้ว ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ย 1,408 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกเฉลี่ย 88 วัน
ที่มา: ททท. , wikipedia , USAID , Thai water
ข่าวที่เกี่ยวข้อง