SHORT CUT
จากข่าวหาดวอนนภา บางแสนเปลี่ยนไปได้ถูกแทนที่ด้วยกำแพงกันคลื่นหรือบันได้กันคลื่น เพื่อกันน้ำทะเลเซาะตลิ่ง ทำให้ความสวยงามตามธรรมชาติหายไปและอาจเป็นอันตรายแต่นักท่องเที่ยวเพราะความลื่นที่อาจเกิดจากตะไคร่น้ำอีกด้วย
กำแพงกันคลื่นหรือบันไดกันคลื่นที่ชายหาดวอนนภา บางแสน และกำแพงกันคลื่นในอีกหลายที่กำลังถูกต้องข้อสงสัย ถึงความจำเป็น และอาจเป็นสิ่งก่อสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ได้ไม่คุ้มเสีย แล้วจะมีทางออกอื่นที่ดีกว่ามั้ยในการรับมือกับการกัดเซาะกับชายฝั่ง นอกจากกำแพงกันคลื่นที่อาจส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและอันเป็นอันตรายแก่นักท่องเที่ยว
หาดวอนนภา บางแสน ชายหาดอันสวยงามและเป็นที่นิยมกับนักท่องเที่ยว ตอนนี้หาดบางส่วนกำลังถูกแทนที่ด้วยกำแพงกันคลื่นหรือบันไดกันคลื่น ที่จะมาทำหน้าที่ป้องกันน้ำทะเลเซาะชายฝั่ง โดยจะมีการก่อสร้างเป็นแนวยาวตั้งแต่ช่วงต้นหาด ส่วนที่สร้างเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายขั้นบันได อาจทำให้ลงเล่นน้ำทะเลลำบาก อาจเกิดอุบัติเหตุจากลื่นล้มจากตะไคร่น้ำได้ นักท่องเที่ยวควรระวัง และในช่วงน้ำขึ้นจะมองไม่เห็นชายหาดต้องรอน้ำลด นอกจากนี้บันไดกันคลื่นอาจส่งผลกระทบกับระบบนิเวศทางทะเลได้
กำแพงกันคลื่นหรือบันไดกันคลื่น มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ช่วยป้องกันที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัยไม่ให้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ ในบางประเทศอาจใช้กำแพงกันคลื่นในรูปแบบแนวหิน แต่จากการศึกษาพบว่าหาดทรายกำลังหายไปเรื่อยๆ จากโครงสร้างของกำแพงกันคลื่น
อธิบายได้จากปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของคลื่น เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากเขตน้ำลึกเข้าสู่เขตน้ำตื้น คลื่นจะสูญเสียพลังงานไประหว่างการเคลื่อนที่ เนื่องจากแรงเสียดทานของพื้นทราย ทำให้อัตราเร็วและยาวของคลื่นลดลง คลื่นจึงยกตัวขึ้นก่อนจะแตกสลายบริเวณหาดทราย แต่เมื่อมีโครงสร้างที่แข็งมาขวางกั้น คลื่นที่ซัดเข้ากับโครงสร้างแข็งจะเกิดการสะท้อนกลับ ทำให้ตะกอนที่ฐานของโครงสร้างถูกกัดเซาะออก
ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งส่งผลกระทบกับผู้คนในพื้นที่ และจริงอยู่ที่กำแพงกันคลื่น บันไดกันคลื่นเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันปัญหานี้ได้ แต่ก็มีอีกหลายวิธีในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีวิธีรักษาหาดทรายที่เป็นมิตรขึ้นหลายวิธี เช่น
นอกจากนี้ยังมีนักพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานคลื่น และพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง ได้คิดค้นการผสมผสานโครงสร้างบรรเทาการกัดเซาะชายฝั่งและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าด้วยกัน เป็นกำแพงกันคลื่นใต้น้ำติดตั้งใบพัดผลิตไฟฟ้าด้วย
ที่มา : คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง / Beach for life / นิตยสารสาระวิทย์
เนื้อหาที่น่าสนใจ :