จากที่มีข่าวนักท่องเที่ยวลื่นล้มบนกำแพงกันคลื่นซึ่งเต็มไปด้วยตะไคร้น้ำ ทำให้บาดเจ็บสาหัสจนกระดูกต้นคอหัก เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ากำแพงกันคลื่นนั้นจำเป็นหรือไม่? แล้วมีข้อดี ข้อสัยอย่างไร?
“กำแพงกันคลื่น” สิ่งปลูกสร้างริมชายหาดที่เป็นเหมือนป้อมปราการป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง และยังป้องกันคลื่นลูกใหญ่ที่เข้ามาปะทะชายฝั่งโดยตรง เพื่อป้องกันไม่ให้ชายฝั่งเปลี่ยนแปลงหรือโดนกัดเซาะจากคลื่น
แต่รู้ไหมว่ากำแพงกันคลื่นส่งผลกระทบในหลายๆ ด้านอย่างที่เราคาดไม่ถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านระบบนิเวศทางทะเล และมีการศึกษาพบว่าโครงสร้างแข็งของกำแพงกันคลื่นกำลังทำให้หาดทรายหายไป ซึ่งอธิบายได้จากปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของคลื่น เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากเขตน้ำลึกเข้าสู่เขตน้ำตื้น คลื่นจะสูญเสียพลังงานไประหว่างการเคลื่อนที่ เนื่องจากแรงเสียดทานของพื้นทราย ทำให้อัตราเร็วและยาวของคลื่นลดลง คลื่นจึงยกตัวขึ้นก่อนจะแตกสลายบริเวณหาดทราย แต่เมื่อมีโครงสร้างที่แข็งมาขวางกั้น คลื่นที่ซัดเข้ากับโครงสร้างแข็งจะเกิดการสะท้อนกลับ ทำให้ตะกอนที่ฐานของโครงสร้างถูกกัดเซาะออก นอกจากนี้เมื่อเวลาผ่านไปกำแพงกันคลื่นที่สวยงาม อาจเกิดตะไคร่น้ำสีเขียวจับตัวกันหนาจนทำให้ลื่นและเกิดอุบัติเหตุได้
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
การศึกษาใหม่เผย ระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มขึ้นไม่หยุดในสหรัฐฯ ไทยจะรอดไหม?
อ.เสรีชี้ ปี 68-69 ไทยแล้งหนักสุดในรอบ 10 ปี และปี 72-73 จะเกิดน้ำท่วมใหญ่
จะดีกว่าไหมหากเราใช้กำแพงกันคลื่นแบบธรรมชาติหรือกำแพงกันคลื่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น
นอกจากนี้เราสามารถใช้ประโยชน์จากคลื่นในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาพลังงานคลื่นและพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง ผสานรวมกับโครงสร้างบรรเทาการกัดเซาะชายฝั่งและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าด้วยกัน เป็นกำแพงกันคลื่นใต้น้ำติดตั้งใบพัดเพื่อผลิตไฟฟ้า
กำแพงกันคลื่น มีด้วยกันหลายรูปแบบ ตั้งแต่แบบถุงทราย กำแพงกันคลื่นที่เป็นหินใหญ่เรียงกัน กำแพงกันคลื่นแนวดิ่ง หรือกำแพงกันคลื่นแบบบันได ซึ่งกำแพงกันคลื่นที่เป็นนักท่องเที่ยวประสบอุบัติเหตุลื่นล้มบริเวณหาดชะอำใต้เป็นกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได
ข้อดีของกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได
ข้อเสียของกำแพงกันคลื่น
ที่มา : นิตยสารสาระวิทย์ / Beach Lover / Beach For Life