เทศกาลตรุษจีน 2567 ปีนี้ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งวันตรุษจีนมีความสำคัญกับชาวไทยเชื้อสายจีนอย่างมาก เป็นวันปีใหม่ของจีน ที่มีการนำอาหารมงคลมาไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ นอกจากนี้ยังมีการเผากระดาษเงิน กระดาษทองที่สื่อถึงความเคารพ และเพื่อความเป็นสิริมงคล
รู้ไหมว่าการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง รวมถึงการจุดประทัดวันตรุษจีนนั้น ในแต่ละครั้งจะปล่อยละอองฝุ่น PM2.5 ควันขี้เถ้า รวมถึงสารพิษต่างๆ ออกมา
ในเทศกาลตรุษจีนจะมีการจุดธูปและเผากระดาษเงิน กระดาษทองที่สื่อถึงความเคารพและเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ในวันตรุษจีน อย่าง การเผากระดาษเงิน กระดาษทอง กระดาษที่เป็นรูปสิ่งของต่างๆ การจุดประทัด รวมถึงการจุดธูป จะทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 และยังปล่อยสารพิษ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และสารก่อมะเร็งหลายชนิด เช่น สารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนหรือสารพีเอเอช และสารอินทรีย์ระเหยง่าย เช่น เบนซิน (Benzene) และ 1,3-บิวทาไดอีน (1,3-butadiene)
ในควันธูปมีสารอันตราย อย่าง สารเบนซีน (Benzene)1,3 บิวทาไดอีน (1,3-Butadiene) เบนโซเอไพรีน (Benzo(a)pyrene) เป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการเผาไหม้ของกาว ขี้เลื่อย และน้ำหอมในธูป ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารก่อมะเร็ง อีกทั้งการเผาไหม้ของธูปยังปล่อยฝุ่น PM2.5 และก่อสารมลพิษอีกมากมาย
ส่วนขี้เถ้าจากการเผายังมีสารโลหะหนัก 4 ชนิด ได้แก่ โครเมียม นิกเกิล ตะกั่ว แมงกานีส และพบโลหะหนักเหล่านี้อยู่ในขี้เถ้ามากกว่าฝุ่นละอองในอากาศประมาณ 3-60 เท่า หากสัมผัสหรือสูดดมอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้
จากการสำรวจอนามัยโพลเรื่องพฤติกรรมการใช้ธูป กระดาษเงินกระดาษทอง กับเทศกาลตรุษจีน ในช่วงปี 2562 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,657 คน พบว่า ในวันไหว้ตรุษจีน มีการจุดธูปร้อยละ 79 เผากระดาษเงินกระดาษทองร้อยละ 51 และเผาสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษต่างๆ เช่น โทรศัพท์ บ้าน รถ ร้อยละ 19 ยังพบอีกว่ามีบางส่วนยังมีพฤติกรรมการใช้ธูปและการเผาที่ไม่ถูกต้อง เช่น เผากระดาษเงิน กระดาษทอง ถึงร้อยละ 98 โดยส่วนใหญ่เป็นการเผาจนหมดแล้วดับ และยังพบว่าผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมีอาการถึงร้อยละ 97 โดยเฉพาะอาการแสบตา แสบจมูก คัดจมูก หายใจลำบาก คันตา และปวดตา และยังไม่ได้มีการป้องกันถึงร้อยละ 54
นอกจากการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง การจุดธูป จุดประทัดจะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดมลพิษทางอากาศแล้ว ยังส่งกระทบด้านสุขภาพอีกด้วย ซึ่งความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับสารนั้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ คือ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าคนทั่วไป
การฉลองเทศกาลตรุษจีนได้แบบสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพน้อยที่สุดมีหลายวิธี ดังนี้
ที่มา : กรมอนามัย / Creative city
เนื้อหาที่น่าสนใจ :