ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ชี้ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กำลังเผชิญกับแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงภายใต้แรงกดดันในด้าน ESG รวมทั้งปัญหาปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กำลังเติบโตไปพร้อมกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้น จากรายงานของ IDTechEx ปี 65 พบว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 4% ของสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังต้องเผชิญกับความท้าทายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามกฎระเบียบผลิตภัณฑ์และกฎหมายท้องถิ่น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการถูกยกเลิกการใช้งานผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงปัญหาปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศ และก่อให้เกิดการปล่อยสารเคมีอันตราย ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ข้อมูลของ The global e-waste monitor คาดการณ์ว่า ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ของโลก มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก 59.4 ล้านเมตริกตันในปี 65 มาอยู่ที่ 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 73 หรือมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยราว 2 ล้านเมตริกตันต่อปี โดยแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ได้กลายเป็นแรงผลักสำคัญให้ผู้ประกอบการเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากความตระหนักในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงเทรนด์การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีการวางกลยุทธ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียวมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดโลก
สอดคล้องกับข้อมูลของ Future market insights ที่คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดของการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นจาก 17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 66 เป็น 177.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 76 หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 26.14% ต่อปี
ไม่เพียงเท่านี้ภาคธุรกิจยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนด้าน Green technology มากขึ้น แนวโน้มการลงทุนใน Green technology จะส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี ได้แก่
สำหรับแนวทางในการปรับกลยุทธ์ไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว สำหรับผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
ในส่วนของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้ออกแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ซึ่งรวมไปถึงการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไทยอีกด้วย
สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก จะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ด้าน ESG อย่างจริงจัง โดยเน้นการวางแผนกลยุทธ์ในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เริ่มตั้งแต่การควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายในกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดสากล การออกผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงาน ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เพื่อส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green electronics)
นอกจากการปรับตัวของผู้ประกอบการแล้ว ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากผู้บริโภคอีกทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม ตั้งแต่ต้นทางจากฝั่งของผู้ผลิต ไปจนถึงปลายทางคือฝั่งของผู้บริโภค ซึ่งภาครัฐจะมีส่วนผลักดันในการสร้างระบบการบริหารจัดการ และสร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ความร่วมมือกับภาคเอกชนในการสร้างเครือข่ายการรับคืนขยะอิเล็กทรอนิกส์จากชุมชน รวมไปถึงการให้ส่วนลดในการซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแยกขยะที่ถูกวิธี เพื่อที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยั่งยืนไปด้วยกันในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง