ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ กำลังเข้าขั้นวิกฤต จากข้อมูลของ Rocket Media Lab เผยว่ากรุงเทพฯ มีวันที่อากาศสะอาด ไม่ถึง 50 วัน และคนกรุงยังหายใจเอา PM2.5 และมลพิษเข้าไปมากเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่มากกว่า 1,200 มวน เลยทีเดียว ดังนั้น พ.ร.บ.อากาศสะอาด จึงต้องเป็นเรื่องเร่งด่วน
พ.ร.บ.อากาศสะอาดต้องมาแล้วล่ะ! ปัญหามลพิษทางอากาศฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เริ่มวิกฤตแล้ว ซึ่งจากข้อมูลของ Rocket Media Lab เผยว่าชาว กทม. ในปี 2022 ชาว กทม. หายใจเข้าฝุ่น PM2.5 เข้าไปเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ถึง 1,224 มวน หรือเฉลี่ยวันละ 4.26 มวนเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังพบว่าวันอากาศสะอาดหรืออากาศดีจนอยู่ในระดับสีเขียว กรุงเทพฯ มีวันที่อากาศดีเพียง 49 วันเท่านั้น หรือคิดเป็น 13.42% ของทั้งปี ซึ่งน้อยกว่าในปี 2021 เสียอีกที่มีถึง 90 วัน โดยเดือนที่มีอากาศสะอาดหรืออากาศดีที่สุดในปี 2022 คือ เดือนกรกฎาคม โดยคน กทม. สูดดมฝุ่น PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่จำนวน 74.36 มวน หรือเฉลี่ยวันละ 2.4 มวน
ส่วนเดือนที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดในปี 2565 คือ เดือนเมษายน ซึ่งคนกรุงเทพฯ หายใจเอาฝุ่น PM2.5 เข้าไปเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 127.77 มวน หรือเฉลี่ยวันละ 4.26 มวน
งานวิจัยของ Richard Muller นักวิจัยชาวอเมริกันจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้คำนวนเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 กับปริมาณการสูบบุหรี่ พบว่า ค่าฝุ่น PM2.5 จำนวน 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ 1 มวน
จากปัญหาฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ ที่กำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤต พ.ร.บ.อากาศสะอาด จึงเป็นทางออกที่จะช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศที่คนไทยต้องเผชิญกับฝุ่น PM2.5 มาเป็น 10 ปี โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2567 สถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจากตัวเลขปี 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ที่ป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศรวมกว่า 9.2 ล้านราย
พ.ร.บ.อากาศสะอาด หรือกฎหมายอากาศสะอาด มีขึ้นเพื่อมุ่งจัดการมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ซึ่งหนึ่งในข้อกำหนดจะมีการเก็บภาษีจากผู้ก่อมลพิษ ซึ่งผู้ที่ก่อมลพิษมาก ต้องจ่ายมากเช่นกัน โดย 11 ข้อเสนอเชิงมาตรการ เชิงนโยบาย จากประชุมระดับชาติเรื่องฝุ่น PM2.5 ครั้งที่ 1 ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) วางมาตรการปี 2567 เพื่อลดพื้นที่เผาซ้ำซากลง 50 % และจูงใจเอกชนให้หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้ร้อยละ 200
ที่มา : Rocket Media Lab / Spring News / รัฐสภา / กรุงเทพธุรกิจ
เนื้อหาที่น่าสนใจ :