ให้ผู้บริโภคชาวไทยมั่นใจ กรมประมงประกาศคุมเข้ม ตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น สร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค จากกรณีญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีลงทะเล
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคชาวไทย จากกรณีประเทศญี่ปุ่นอนุมติปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าพลังงางนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อทำการรื้อถอนโรงไฟฟ้าและฟื้นฟูพื้นที่ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา
ส่งผลให้ประชาชนทั้งในและต่างประต่างกังวลเกี่ยวกับการนำเข้าอาหารทะเลที่อาจปนเปื้อนสารพิษ ถึงแม้ว่าน้ำเสียดังกล่าวจะผ่านการประเมินและตรวจสอบจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วว่าน้ำผ่านการบำบัดมีค่าปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งขภาพและสิ่งแวดล้อม
ด้วยเหตุนี้ นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการตรวจสอบการนำเข้าปลาและกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ณ ด่านศุลกากร ตั้งแต่ปี 2559 จากการถ่ายโอนภารกิจในการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตรที่ยังไม่แปรรูปจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อย.ตรวจเข้ม "อาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น" หลังโรงงานนิวเคลียร์ปล่อยน้ำเสีย
ความเสี่ยงนิวเคลียร์รั่วไหลใกล้บ้าน รู้จักโครงการเตาปรมาณูนครนายก
เริ่มแล้ว ! ญี่ปุ่นปล่อยน้ำเสียที่บำบัด ชุดแรกสู่มหาสมุทรมากกว่าล้านตัน
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ดังกล่าวของประเทศญี่ปุ่น กรมประมงจึงได้เพิ่มความเข้มงวด โดยการยกระดับการตรวจติดตาม เฝ้าระวังสุ่มตัวอย่างอาหารทะเลนำเข้า มุ่งเน้นการสุ่มตรวจอาหารทะเลที่นำเข้ามาจากเมืองที่มีความเสี่ยง และอยู่ใกล้เคียงพื้นที่ที่มีอุบัติเหตุนิวเคลียร์ เช่น โตเกียว ฟุกุชิมะ ชิบะ กุมมะ โทจิงิ อิบารากิ มิยางิ นีงะตะ นากาโนะ ไซตามะ เป็นต้น
โดยได้ร่วมมือกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีในตัวอย่างสัตว์นำที่นำเข้ามาอย่างเข้มงวด เพื่อมิให้อาหารทะเลที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีในระดับที่ไม่ปลอดภัยเข้าไปถึงจานข้าวของผู้บริโภคไทย
นักวิชาการห่วงกัมมันตรังสีตกค้างในปลา เหตุญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนลงทะเล
ใครจะไปคิด ! ใช้ “แบคทีเรีย” บางชนิดชะลอโลกร้อน หลังนักวิทย์พบกินก๊าซมีเทน
จากการตรวจสอบจนถึงปัจจุบัน พบค่าการปนเปื้อนกัมมันตรังสีไม่เกินมาตรฐานตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่นที่ตรวจสอบตัวอย่างอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ประมงจากเมืองฟูกุชิมะจำนวน 4,375 ตัวอย่าง
ในปี 2565 จนถึงเดือนเมษายน 2566 ก็พบค่าการปนเปื้อนกัมมันตรังสีไม่เกินมาตรฐานตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งหากพบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในอาหารเกินมาตรฐานที่กำหนดก็จะสั่งเรียกคืนหรือระงับการนำเข้าทันที
รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า กรมประมงได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยมีมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นอย่างเข้มงวดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่นำเข้ามาในประเทศนั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์อาหารใดสงสัยว่าจะเป็นอันตราย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วนกรมประมง 0-2579-1878 หรือ 0-2579-3614-5 ศูนย์บริการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต หรือสายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด