อาหารส่วนเกินในวันทำบุญ ส่วนใหญ่บุคคลากรในวัดไม่สามารถบริโภคให้หมดได้ในวันเดียว หากจะปล่ยทิ้งไปก็เสียดาย ชวนรู้จักธนาคารอาหร BKK Food Bank โครงการดี ๆ จากกทม.
เมืองไทยเมืองพุทธ การทำบุญไม่ว่าจะในวันพระหรือวันสำคัญต่าง ๆ ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการทำบุญด้วยข้าวสารอาหารแห้ง หรือแม้กระทั่งอาหารสด ดังนั้น วัดจะกลายเป็นศูนย์กลางของอาหารที่หลากหลายและปริมาณมาก
BKK FOOD BANK เป็นหนึ่งในโครงการสิ่งแวดล้อมดี ของผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นโครงการส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม ที่ริเริ่ม ณ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ของเสียไม่เสียของ Waste to Value' เปลี่ยนขยะให้มูลค่า เดินหน้าเศรษฐกิจ BCG
‘เครื่องตรวจอาหารเน่า’ จับกลิ่นแก๊สจากของเริ่มเสีย พร้อมคู่มือแปรรูป
เกี่ยวกับ BKK Food Bank
อาหารจะถูกแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.Food Surplus การแจกอาหารประเภทอาหารสด เช่น ข้าวแกง ขนม ผลไม้ จากวัดมาแจกให้ประชาชนทั่วไปทุกวันพระ และก็มีประเภทอาหารแห้งด้วย สำหรับอาหารแห้ง ผู้รับที่ลงทะเบียนกับกทม. จะได้รับ Passport จะได้รับอาหารแห้งจำพวก มาม่า ปลากระป๋อง นม จะจแกให้แก่กลุ่มเปราะบาง (ที่เขตคัดสรร) โดยจะแบ่งกลุ่มเป็นเซ็ท เซทละ 10 ครัวเรือน เซทหนึ่งจัได้รับการช่วยเหลือ 3 ครั้ง เมื่อได้รับความช่วยเหลือครบ 3 ครั้งแล้ว ก็จะเป็นเซทถัดไปเรื่อย ๆ
2.Food Donation แจกอาหารในรูปแบบของถุงยังชีพ โดยจะดำเนินการแจกแบบเชิงรุกตามชุมชน 1 ครั้งต่อเดือน ตอนนี้มีภาคีเข้าร่วมอยู่ 2 ภาคี คือ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก และ Lineman
และสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ไม่สะดวกเดินทางมารับเองที่สำนักงานเขต ก็จะมี Lineman อำนวยความสะดวกรับอาหารไปส่งให้ถึงบ้าน
การเข้ารับอาหารถ้าเป็นกรณีของกลุ่มเปราะบาง จะเป็นกลุ่มที่ทางสำนักงานเขตได้ทำการคัดสรร จากการลงพื้นที่ในการสำรวจเคสกลุ่มเปราะบางตามชุมชน
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายของโครงการนี้ต้องการที่จะช่วยลดการเกิด Food Waste ด้วยการนำอาหารส่วนเกินไปแจกจ่ายต่อให้กับกลุ่มที่ต้องการ หลังจากการดำเนินโครงการมาทั้งหมด 50 ครั้ง กทม.สามารถลดปริมาณขยะอาหารส่วนเกินไปได้ 845 กิโลกรัม มีจำนวนกลุ่มเปราะบางเข้าร่วมโครงการ 864 ราย และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 149.57 kgCO2e
ปัจจุบันFood Donation การแจกเชิงรุก ปัจจุบันมีการนำร่องลงพื้นที่แจกแล้ว 9 ชุมชน โดยจะมีการดำเนินการต่อเนื่องให้ครบตามจำนวนชุมชนในพื้นที่เขตห้วยขวาง รวมทั้งสิ้น 22 ชุมชน
Food surplus ในอนาคตจะมีการหาภาคีเครือข่ายเข้าร่วมเพิ่มเติม และมีติดตามผลให้การช่วยเหลือ เช่น ด้านการประกอบอาชีพ เพื่อให้กลุ่มคนที่ได้รับความช่วยเหลือได้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้