svasdssvasds

โลกร้อนส่งผลให้น้ำทะเลร้อนขึ้น สาเหตุหลักปะการังฟอกขาว

โลกร้อนส่งผลให้น้ำทะเลร้อนขึ้น สาเหตุหลักปะการังฟอกขาว

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เผยมุมมองเกี่ยวกับปะการังฟอกขาว แจงโลกของเรามีอุณหภูมิที่สูงขึ้นในทุกๆปี ซึ่งส่งผลให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แนวปะการังน้ำตื้นได้รับผลกระทบอย่างหนัก ส่งผลให้ปะการังตายเป็นจำนวนมาก

จากการสอบถาม ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การที่โลกร้อนขึ้น ทำให้น้ำทะเลร้อนผิดปกติ เนื่องจากโดยปกติแล้ว น้ำทะเลไทยมีอุณหภูมิร้อนที่สุดในช่วงเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนพฤษภาคม เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อนอย่างเป็นทางการของไทย เมื่อก่อนอุณหภูมิน้ำทะเลจะอยู่ที่ประมาณ 30-31 องศา แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 มาจนถึงปีพ.ศ. 2566 อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกิน 32 องศา จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อแนวปะการังน้ำตื้นเป็นอย่างมาก เพราะน้ำยิ่งตื้นก็มักจะโดนแดดเยอะ และทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาว เมื่อก่อนการฟอกขาว 1 ครั้ง ปะการังจะอยู่ได้ประมาณ 7-8 ปี แล้วจึงฟอกใหม่ เพราะมีเวลาฟื้นตัวนาน แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปะการังมีการฟอกขาวในทุกปี เพราะอุณหภูมิน้ำสูงทุกปี ถ้าเป็นแนวปะการังน้ำตื้นตามชายฝั่ง เกาะ หรือภาคตะวันออกของไทย ปะการังตายไปเยอะและบางพื้นที่ตายเกิน 50% ส่วนในเกาะที่ห่างจากชายฝั่ง เช่น เกาะเต่า มีน้ำที่ลึกกว่า ปะการังจะเกิดการซีดและฟอกขาวไม่มาก แต่ด้วยความที่น้ำลึกกว่า มันก็สามารถฟื้นตัวได้ดีแต่ยังคงมีความอ่อนแอ ปรากฎการณ์เอลนีโญที่กำลังเริ่มขึ้นก็ส่งผลกระทบเช่นกัน เพราะคาดว่าในปีหน้าน้ำจะร้อนหนักกว่าปีนี้ และจะทำให้ปะการังตายยิ่งกว่านี้อีกหลายตัว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าอีกว่า ปัญหาอื่นๆเรายังพอที่จะสามารถหาแพะได้ แต่ปัญหาโลกร้อน ไม่สามารถหาตัวการหลักได้ เพราะสาเหตุมาจากทุกๆคน สิ่งที่จะทำได้คือการรายงานสถานการณ์ และหาแนวทางแก้ไขบางอย่างที่พอจะทำได้ เช่น ในอนาคตอาจจะต้องมีการปิดพื้นที่ดำน้ำบางจุด เนื่องจากปะการังฟอกขาวจนโทรมมาก หรืออาจจะมีการสร้างจุดดำน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อลดภาระตามแนวปะการัง ซึ่งถ้าทุกคนยังคงปล่อยให้ปะการังเป็นแบบนี้ต่อไปอีกประมาณ 30-40 ปีข้างหน้า ปะการังครึ่งนึงของโลกจะตายหมด ทะเลอันดามันและอ่าวไทยโดนผลกระทบเช่นกันแต่อ่าวไทยอาจเกิดวิกฤตหนักกว่า ชาวประมงพื้นบ้านเป็นกลุ่มคนที่ปรับตัวยากที่สุดก็จะได้รับผลกระทบมากที่สุดอีกด้วย

ขอขอบคุณรูปภาพจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ปะการังเป็นสัตว์ทะเลประเภทสัตว์ชั้นต่ำ ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อระบบนิเวศทะเล โดยที่โครงสร้างของระบบนิเวศปะการังที่สำคัญ คือ พืช เช่น ผู้ผลิตอาหารเบื้องต้น จากแร่ธาตุและแสงสว่างมีทั้งพืชเซลล์เดียวที่ล่องลอยอยู่ในน้ำอยู่บนพื้นและในตัวปะการังจนถึงพืชที่งอกงามเป็นลำต้น

โครงสร้างการก่อตั้งของแนวปะการัง แบ่งได้เป็น 3 ชนิด

  1. แนวปะการังชายฝั่ง เป็นแนวปะการังขนาดเล็กที่ก่อตัวและแพร่กระจายตามบริเวณชายฝั่งทะเล
  2. แนวปะการังแบบกำแพง  เป็นแนวปะการังที่อยู่ห่างจากชายฝั่ง มีโครงสร้างแบ่งตามเขตน้ำต่างๆในช่วงน้ำลง อีกทั้งถูกกันจากชายฝั่งโดยทะเลสาปน้ำเค็ม
  3. แนวปะการังแบบเกาะ เป็นแนวปะการังที่ก่อตัวในน่านน้ำลึก มีลักษณะเป็นวงแหวนหรือเกือกม้า

ที่มาข้อมูล

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

related