เนื่องในวันที่ 5 มิ.ย. ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับขยะพลาสติกโดยเฉพาะขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งหลายประเทศมีแผนการจัดการขยะพลาสติกออกมาแล้ว ส่วนประเทศไทยจะมีแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอย่างไรบ้าง?
องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ประกาศให้ วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) โดยในปีนี้วันสิ่งแวดล้อมโลกมาพร้อมกับธีมที่มุ่งเน้นไปกับการสร้างความตระหนัก และแก้ไขปัญหามลพิษจากพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว หรือ Single-use plastics ภายใต้แคมเปญ Beat Plastic Pollution
จากรายงานประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุด ระบุว่า ประเทศจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ทิ้งขยะลงทะเลรวมกันคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของขยะพลาสติกทั้งหมดที่ถูกปล่อยลงทะเลทั่วโลก ส่วนประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดคือ ประเทศจีนที่มีการใช้พลาสติกสูงที่สุดของโลก และจะเห็นได้ว่าประเทศไทยติดอันดับที่ 6 ของประเทศปล่อยขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทร แซงหน้าประเทศที่มีประชากรหลักพันล้านอย่าง อินเดีย เสียอีก
พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastics) คือ ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตขึ้นเพื่อประสงค์ในการใช้งานเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น กล่องโฟมบรรจุอาหาร ถาดหรือกล่องอาหาร ถุงพลาสติก แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก ช้อน ส้อม มีดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งพลาสติกเหล่านี้มีอายุการใช้งานสั้น แต่ใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่า 200 ปี ซึ่งขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวได้สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหาร โดยผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์รายงานเผยว่าห่วงโซ่สุดท้าย คือ ผู้บริโภคอาหารทะเลก็จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการบริโภคอาหารทะเลที่มีสารปนเปื้อนไมโครพลาสติก
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
5 มิ.ย.วันสิ่งแวดล้อมโลก ส่องดูแบรนด์ไหน? แเอคชั่นรักษ์โลก !
สวยได้ไม่ทำร้ายโลก! ลิสต์ Eco-Friendly Beauty Brands เครื่องสำอางรักษ์โลก
รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยในประเทศไทย ปี 2561 ของกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่าปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.93 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นขยะพลาสติกจากชุมชนประมาณ 2 ล้านต้น แต่มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ถูกกำจัดอย่างถูกวิธีและนำไปรีไซเคิลในขณะที่ขยะพลาสติกส่วนใหญ่ยังถูกกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น เทกอง เผากลางแจ้ง เผาในที่ไม่มีระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ หรือฝังกลบแบบเทรวม นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัย ปี 2558 พบว่า ขยะที่พบในทะเลมากกว่าครึ่งเป็นขยะพลาสติก และประเทศไทยเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก
ตอนนี้มี 180 ประเทศทั่วโลกได้ให้คำมั่นว่าจะ “ลด” การใช้พลาสติกลงอย่างมากภายในปี 2030 และหลายประเทศได้ออกกฎหมาย ‘แบน’ การใช้ถุงพลาสติก และการใช้มาตรการทางภาษี หรือทั้งสองอย่างควบคู่กันไป มีไม่ต่ำกว่า 32 ประเทศ ที่ใช้กฎหมายแบนการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว เช่น สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรเลีย ไต้หวัน ฯลฯ ในส่วนของประเทศไทยเองก็มีแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกแบบแบบใช้ครั้งเดียวเช่นกัน
สำหรับประเทศไทย ได้ประกาศแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เป้าหมายหลัก ดังนี้
ที่มา : องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก / หอสมุดรัฐสภา / Greenpeace
.