ควายไทยลดจำนวนลดเรื่อย ๆ เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา ทำให้เกษตรกรละทิ้งความสำคัญของควายลงไป จึงเป็นที่มา ให้วันที่ 14 พ.ค. ของทุกปีเป็นวันอนุรักษ์ควายไทย
วลีที่ว่า “ขายควายส่งลูกเรียน” แสดงถึงคุณค่าและความสำคัญของควายไทยได้ประมาณหนึ่งเลย หรือหมายความว่า ควายมีราคามากพอในการซื้อขายเพื่อผลักดันให้เด็กสักคนหนึ่งเรียนจบได้ หากครอบครัวนั้น ๆ มีฐานะยากจน
ดังนั้น ควายเปรียบเสมือนทรัพย์สมบัติที่มีค่าอย่างหนึ่งของเกษตรที่ยากจนในอดีต บ้านไหนมีควาย บ้านนั้นก็ไม่อดตาย ลำบากเมื่อไหร่ก็ขายควายเลี้ยงชีพ แต่ก็ต้องตัดสินใจหรือเลือก เพราะหากมีควายก็จะมีเครื่องทุ่นแรงในการทำนาต่อไป
ภาพจำของไทยในอดีต นอกจากช้างแล้วก็มีควายที่เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง หรือบ้างก็เรียกว่า กระบือ สัตว์ที่ช่วยเกษตรกรไถนาจนทำให้คนทั้งประเทศอิ่มท้อง และดูเหมือนว่าทุกบ้านในอดีต โดยเฉพาะในต่างจังหวัดจะมีควายอยู่เยอะ จนเกือบจะกลายเป็นสัตว์เลี้ยง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระบบเลี้ยงควายปลักทะเลน้อย เป็นพื้นที่มรดกโลกทางเกษตรแห่งแรกของไทย
อยากเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์ หนึ่ง บางปู ประกาศรับซื้อควายให้ราคาสูง 7 หลัก
อัปเดต! พลายศักดิ์สุรินทร์เตรียมกลับบ้านปลายเดือนมิถุนายนนี้
หากเทียบกับตะวันตกแล้ว ควายเปรียบเสมือนม้าของคนไทย ที่ไว้ใช้ทางการเกษตรก็ว่าได้ หรือจะใช้ขี่เดินทางไปไหนมาไหนก็ย่อมได้ด้วยเช่นกัน แถมยังเป็นสัตว์ที่อึด ถึก ทน ทนแดด ทนร้อน ทนฝนได้ ทำให้เมื่อก่อนชาวนาจึงนิยมนำควายมาใช้งานที่ต้องใช้พละกำลังบ่อยครั้ง
ควายไทยจัดเป็นควายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาควายเลี้ยงในประเทศแถบเอเชีย ควายตัวผู้โตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 600-650 กิโลกรัม ส่วนควายตัวเมียที่โตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 400-500 กิโลกรัม ร่างกายใหญ่บึกบึนและเขายาวโค้ง ควายไทยมีสองสี คือ สีเทากับสีดำ บ้างจะเจอควายเผือก ซึ่งหายากมาก
พบกบชนิดใหม่ของโลกในบราซิล ทำหน้าที่เหมือนผึ้ง กินน้ำหวานและผสมเกสรได้
ไทยเจ๋ง ! คว้าคะแนนสูงสุดอนุรักษ์ปลาทูน่ามหาสมุทรอินเดีย 98%
ปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้ามาหาเกษตรกรไทย อาชีพเกือบหนึ่งเดียวที่ทำให้ควายไทยยังคงอยู่ได้ในสังคม แต่เมื่อรถไถ รถแทรกเตอร์เข้ามาทำหน้าที่แทน เพื่อให้เกษตรกรสะดวกสบายและมีกำไรมากขึ้น ควายจึงเริ่มถูกใช้งานน้อยลงเรื่อย ๆ ความสำคัญของควายต่อเกษตรจึงลดลงตามไปด้วย จนเหลือเพียงแค่ควายสวยงามที่ก็เริ่มลดน้อยลงไปด้วยเหมือนกัน
ด้วยเหตุนี้เอง เราไม่อยากให้ควายไทยเป็นอีกหนึ่งสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์และอยากให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ควายไทย คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้วันที่ 14 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ควายไทย เนื่องจากปัจจุบันจำนวนควายไทยและผู้เลี้ยงควายไทยมีแน้วโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งควายยังเป็นสัตว์ที่ไม่ได้รับความเอาใจใส่หรือได้รับความสนใจจากทางภาครัฐมากพอในการส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างเสริมอาชีพ การมีขึ้นของวันสำคัญดังกล่าวจึงมีเป้าหมายเพื่อที่จะร่วมกันอนุรักษ์และส่งเสริมให้การเลี้ยงควายอยู่คู่กับคนไทยไปอีกนาน ก่อนที่ควายจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย
ส่วนเหตที่ต้องกำหนดให้เป็นวันที่ 14 พฤษภาคม ก็เพราะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีกระกระแสรับสั่งถึงหลักการดำเนินโครงการธนาคาร-กระบือ เป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ควายไทยสืบมา
ที่มาข้อมูล