svasdssvasds

สัมผัสมลพิษทางอากาศเพียง 2-3 ชั่วโมง เสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สัมผัสมลพิษทางอากาศเพียง 2-3 ชั่วโมง เสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เป็นที่รู้กันดีว่ามลพิษทางอากาศส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกาย ล่าสุดมีงานวิจัยจาก Fudan University ในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน พบว่าการอยู่ท่ามกลางมลภาวะเป็นพิษทางอากาศ เพียง 2-3 ชั่วโมงแรกก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจวายเฉียบพลันได้

จากการศึกษาวิจัยคนไข้ที่แอดมิทในโรงพยาบาล 200,000 คน ในโรงพยาบาล 300 กว่าแห่งทั่วประเทศจีน พบว่ามาจากมลพิษทางอากาศที่เพิ่มสูงซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลทั้งภาวะหัวใจเต้นเร็ว ภาวะหัวใจเสียจังหวะมีความเกี่ยวข้องกับมลภาวะเป็นพิษทางอากาศทั้งสิ้น

สัมผัสมลพิษทางอากาศเพียง 2-3 ชั่วโมง เสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 Dr. Renjie Chen จากมหาวิทยาลัย Fudan เผยว่าการสัมผัสมลพิษทางอากาศซึ่งมีฝุ่นละอองขนาดเล็กอาจส่งผลกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เผยแพร่ไปเมื่อปีที่แล้ว จนมางานวิจัยล่าสุดการสัมผัมมลภาวะเป็นพิษทางอากาศอย่างเฉียบพลัน ทำให้ความเสี่ยงของอาการหัวใจเต้นเสียจังหวะนั้นเพิ่มขึ้น เป็นการตอกย้ำอันตรายของอันตรายของอากาศที่เป็นพิษนั้นส่งผลกับสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

งานวิจัยยังพบว่า ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นสารที่มีผลมากที่สุดกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเฉียบพลัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสารนี้มาจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งคาดว่าไนโตรเจนไดออกไซด์ทำปฎิกิริยาทำให้เนื้อเยื่อเกิดความเครียดจึงสงผลกับกิจกรรมไฟฟ้าของหัวใจ และได้มีการเรียกร้องให้มีการจัดการอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันสุขภาพของประชาชน

มีการคาดคะเนของมูลนิธิ British Heart Foundation ประเมินว่าอีก 10 ปีอาจมีคนเกือบสองแสนคนทั่วโลกต้องเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจซึ่งมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ

 

ที่มา : The Guardian / Healthline