svasdssvasds

เม็กซิโกค้นพบหลุมน้ำเงินลึกที่สุดอันดับ 2 ของโลก 274 ม. สูงเกือบเท่าหอไอเฟล

เม็กซิโกค้นพบหลุมน้ำเงินลึกที่สุดอันดับ 2 ของโลก 274 ม. สูงเกือบเท่าหอไอเฟล

มหัศจรรย์ธรรมชาติ! นักวิจัยค้นพบหลุมน้ำเงินที่ลึกที่สุดอันดับ 2 ของโลก ในเม็กซิโก 274 เมตร เกือบเท่าหอไอเฟลหรือตึกใบหยกเลย

การศึกษาที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมาในวารสาร Frontiers in Marine Science ได้เผยถึงการค้นพบหลุมน้ำเงินใต้น้ำที่ลึกสุด ๆ นอกชายฝั่งของคาบสมุทร Yucatan ในเม็กซิโก โดยอธิบายว่า ถ้ำใต้น้ำหรือหลุมขนาดยักษ์นี้ตั้งอยู่ในอ่าว Chetumal วัดความลึกได้ประมาณ 900 ฟุตหรือ 274 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 147,000 ตารางฟุต หรือ 13,660 ตารางเมตร

พิกัดหลุมน้ำเงิน Cr. frontiersin คาดว่าลึกเป็นอันดับ 2 รองจากหลุมมังกร (Dragon Hole) ในทะเลจีนใต้ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหลุมที่ลึกที่สุดในโลก ถูกค้นพบเมื่อปี 2016 มีความลึกประมาณ 980 ฟุตหรือ 300 เมตร

หลุมมังกร (Dragon Hole) หรือ Great Blue Hole Cr. Luo Yunfei/CNSPHOTO/VCG

หลุมน้ำเงินที่ถูกค้นพบใหม่นี้มีถ้ำแนวตั้งลึกลงไปในทะเล ภายในประกอบไปด้วยพืชและสัตว์ทะเลที่หลากหลาย เช่น ปะการัง เต่าทะเล และฉลาม ความสูงมีความลาดชันเกือบ 80 องศา และปากถ้ำอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 4.6 เมตร

โดยผู้คนพบหลุมยักษ์นี้คือ นักวิทยาศาสตร์จาก El Colegio de la Frontera Sur (Ecosur) เป็นศูนย์วิจัยสาธารณะที่ประสานงานโดย National Council of Science and Technology (Conacyt) ของเม็กซิโก ซึ่งถูกค้นพบในปี 2021 แต่เพิ่งถูกประกาศการสำรวจอย่างเป็นทางการในปี 2023 นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พวกเขาอธิบายเพิ่มเติมถึงการเกิดหลุมน้ำเงินว่า มันจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำทะเลมาพบกับหินปูน หินปูมีรูพรุนมาก ดังนั้นน้ำจึงซึมผ่านหินได้ง่าย ทำให้สารเคมีในน้ำทำปฏิกิริยากับหินปูนที่กินมันออกไป ซึ่งหลุมน้ำเงินส่วนใหญ่บนโลกจะก่อตัวขึ้นในช่วงยุคน้ำแข็ง เพราะเกิดน้ำท่วมซ้ำซากและการระบายน้ำบริเวณชายฝั่งได้กัดเซาะหินพร้อมสร้างช่องว่างมากมาย

ความลึกของหลุม Cr.frontiersin

เมื่อยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลงราว 11,000 ปีที่แล้ว ระดับน้ำทะเลก็สูงขึ้น ถ้ำเหล่านี้ก็เลยเต็มไปด้วยน้ำและบางถ้ำก็จมอยู่ใต้น้ำทั้งหมด

คริสโตเฟอร์ จี. สมิธ นักธรณีวิทยาชายฝั่งที่ U.S. Geological Survey (USGS) เป็นนักศึกษาหลุมยุบใต้ทะเลอื่น ๆ แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในหารค้นพบครั้งนี้ออกความเห็นว่าเคมีของน้ำทะเลในบริเวณเหล่านี้จะมีความเฉพาะตัว  อีกทั้งยังมีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะแสงแดดจะส่องมาบนพื้นผิวเท่านั้น

แต่กระนั้นหลุมขนาดมหึมานี้กลับเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวให้เข้ากกับสภาพแวดล้อมที่ออกซิเจนต่ำได้ ดังนั้น จึงอาจวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ว่า หลุมน้ำเงินเป็นภาพรวมของชีวิตเมื่อหลายพันปีก่อน หากไม่มีออกวิเจนหรือแสงมาก ฟอสซิลก็สามารถถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีได้ ซึ่งสิ่งนี้เองอาจทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุซากของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธ์ไปแล้วได้

ภาพภายในหลุมน้ำเงินยักษ์ Cr. frontiersin และหากสำรวจให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น เราอาจค้นพบสิ่งที่เราคาดไม่ถึงก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน และแรงดันในความลึกขนาดนี้เราก็หวังว่าจะไม่เจอขยะภายในหลุมนั้นนะ

และที่วิเคราะห์ได้มากกว่านั้นคือ หลุมน้ำเงินอาจบอกเราเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่น อย่างในปี 2012 นักวิจัยสำรวจหลุมสีน้ำเงินในบาฮามาสและค้นพบแบคทีเรียที่อยู่ลึกในถ้ำ และไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นใดอาศัยอยู่ ซึ่งมันให้เยาะแสแก่เราว่า สิ่งมีชีวิตอาจดำรงอยู่ในสภาวะที่รุนแรงอื่น ๆ ได้ในระบบสุริยะของเรา เป็นต้น

ที่มาข้อมูล

LiveScience

Frontiers in Marine Science

related