ในอนาคตคงไปเที่ยวทะเลเพื่อคลายร้อนยากละล่ะ งานวิจัยใหม่เผย อุณหภูมิทะเลกำลังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลจากภาวะโลกร้อน อาจส่งผลต่อความมั่นคงอาหารทั่วโลกในอนาคต
การเที่ยวทะเลในฤดูร้อนเพื่อคลายร้อน อาจจะเป็นเรื่องยากขึ้นในอนาคต อาจไม่ได้เห็นผลทันทีในวันนี้ แต่ลูกหลานของเราในอนาคตอาจลงเล่นน้ำทะเลไม่ได้ก็เป็นไปได้ เพราะงานวิจัยใหม่ ๆ ยังคงส่งขึ้นมาเผยแพร่อย่างต่อเนื่องว่า มหาสมุทรโลกหรือน้ำทะเลทั่วโลกกำลังมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน
เกิดอะไรขึ้น?
ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงมีนาคม 2023 ที่ผ่านมา NOAA และ Climatechange.org ได้รายงานการตรวจสอบอุณหภูมิในมหาสมุทร ซึ่งผลสรุปว่าอุณหภูมิผิวน้ำยังคงมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีทีท่าลดลงเลย
ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2022 นักวิทยาศาสตร์สรุปข้อมูลอุณหภูมิมหาสมุทรได้ว่า ปี 2022 เป็นปีที่มหาสมุทรร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ เนื่องจากมหาสมุทรดูดซับความร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 90% ซึ่งได้สร้างคลื่นความร้อนขนาดใหญ่ในทะเลและกินเวลายาวนาน แถมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Climate Change มหันตภัยร้ายซ้ำเติมความยากจน ทำความเหลื่อมล้ำพุ่ง
โลกจะเผชิญคลื่นความร้อนและภัยแล้ง จากผลพวงเอลนีโญ ที่รุนแรง-ยาวนานขึ้น
ระเบิดเวลา UN เตือน โลกมีเวลาไม่ถึง 10 ปี ก่อนเดินหน้าสู่หายนะสภาพอากาศ
อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น สัมพันธ์กับความไม่แน่นอนของชั้นบรรยากาศและก่อกำเนิดให้สภาพอากาศรุนแรง เช่น พายุ ปริมาณความร้อนในมหาสมุทรสูงกว่าระดับของปี 2021 ประมาณ 10 เซตตะ จูล (Zetta Joules) เทียบเท่ากับการผลิตไฟฟ้า 100 เท่าทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันคาดว่าสูงถึง 13 เซตตะจูลแล้ว
แต่จากการอัปเดตล่าสุด เดือนกุมภาพันธ์ 2023 เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกในสถิติ 174 ปีของ NOAA อุณหภูมิพื้นผิวโลกในเดือนอยู่ที่ 0.97 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าเฉลี่ยในศตวรรษที่ 20
และในปัจจุบันคาดว่าน้ำทะเลกำลังมีอุณหภูมิสูงขึ้น 0.7 องศาเซลเซียสและกำลังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ตามภาพด้านล่างนี้
เพราะอุณหภูมิพื้นผิวโลกสัมพันธ์กับอุณหภูมิมหาสมุทรโลกด้วย เดือนมีนาคมที่ผ่านมาอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 21 องศาเซลเซียสทั่วโลก ไม่รวมอุณหภูมิในขั้วโลก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ 1981 ที่มาหสมุทรมีอุณหภูมิสูงขนาดนี้
เพราะอะไรทำไมอุณหภูมิถึงสูงขึ้น?
นักวิทย์มีการคาดการณ์ว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ ปรากฎการณ์เอลนีโญที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง ที่ปีนี้ถูกวิเคราะห์ว่าจะมีความรุนแรงและยาวนานมากยิ่งขึ้น เอลนีโญมีผลต่ออุณหภูมิของน้ำทะเลโดยตรง อาจทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นได้
ยิ่งอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นเท่าไหร่ ก็ก่อให้เกิดการระเหยมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การปกคลุมของเมฆที่เพิ่มขึ้น พอมีเมฆมาก แสงแดดก็ส่องไม่ถึงพื้นผิวโลก กระตุ้นให้เกิดความร้อนสะสมในชั้นบรรยากาศ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดพายุ ภัยแล้ง และน้ำท่วมได้
เมื่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น ก็ให้เกิดภัยร้ายแรงที่ค่อยคืบคลานเข้ามา เช่น การละลายของธารน้ำแข็ง เมื่ออุณหภูมิเริ่มแปรปรวน น้ำทะเลอาจมีความเป็นกรดมากยิ่งขึ้นจากการปรับตัวกับอุณหภูมิได้ยาก ออกซิเจนในน้ำก็จะยิ่งลดน้อยลง ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล สัตว์ทะเลรวมไปถึงระบบนิเวศใต้ทะเลทั้งหมด
น้ำทะเลอาจหนุนสูงขึ้น พายุรุนแรงขึ้น ซึ่งแม้แต่การเอาชีวิตรอดบนบกก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก ผลกระทบนี้จะส่งกันเป็นลูกโซ่ เมื่อสัตว์ทะเลและระบบนิเวสใต้น้ำได้รับพิษก็อาจทำให้อาหารทะเลวิกฤต กระทบต่อเศราฐกิจชุมชนไปจนถึงประเทศ และปากท้องของชุมชนที่พึ่งพาทะเลเป็นหลัก ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า การทำลายความมั่นคงทางอาหาร
ดังนั้น แน่นอนว่า ผลภัยที่จะเกิดขึ้นจุดเริ่มต้นคือกิจกรรมของมนุษย์เราเองทั้งสิ้น ในการสร้างมลพิษที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของโลก อุณหภูมิที่สูงขึ้น คงไม่ได้น่ากลัวแค่ว่า ลูกหลานของเราในอนาคตจะไม่ได้เล่นน้ำทะเลคลายร้อนในหน้าร้อนแล้ว แต่มันจะกระทบร้ายแรงไปถึงอาหาร ชีวิต ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ ที่พึ่งพากันและกันในห่วงโซ่อาหารทั้งหมดบนโลกใบนี้
ที่มาข้อมูล