svasdssvasds

ส่องอนาคตต้นทุนผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” มีโอกาสลดต่ำลง 50 บาท/กิโลกรัม

ส่องอนาคตต้นทุนผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” มีโอกาสลดต่ำลง 50 บาท/กิโลกรัม

ไฮโดรเจนสีเขียว คือ อีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานสะอาดที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก บางประเทศไปได้ไกลแล้ว วันนี้พาส่องอนาคตต้นทุนผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” มีโอกาสลดต่ำลง 50 บาท/กิโลกรัม โอกาสเข้าถึงพลังงานสะอาดในไทย

SHORT CUT

  • ทั่วโลกให้ความสำคัญกับ ไฮโดรเจนสีเขียว เพราะมันคือหนึ่งทางเลือกของพลังงานสะอาดที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก
  • ในส่วนของประเทศไทยของเราก็ยังถือว่าอยู่ในจุดที่กำลังศึกษากันอย่างต่อเนื่อง และปัญหาใหญ่ที่พบคือ ต้นทุนการผลิตที่ยังสูงอยู่ แต่ก็หวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการปรับลดลงมาบ้าง

  • วันนี้จะพาส่องอนาคตต้นทุนผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” อาจลดต่ำลง 50 บาท/กก.โอกาสพลังงานสะอาดในไทย

ไฮโดรเจนสีเขียว คือ อีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานสะอาดที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก บางประเทศไปได้ไกลแล้ว วันนี้พาส่องอนาคตต้นทุนผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” มีโอกาสลดต่ำลง 50 บาท/กิโลกรัม โอกาสเข้าถึงพลังงานสะอาดในไทย

ไฮโดรเจนสีเขียว คือ อีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานสะอาดที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก บางประเทศไปได้ไกลแล้ว บางประเทศก็ยังอยู่ในจุดเริ่มต้น อย่างเช่น ประเทศไทยของเราก็ยังถือว่าอยู่ในจุดที่กำลังศึกษากันอย่างต่อเนื่อง และปัญหาใหญ่ที่พบคือ ต้นทุนการผลิตที่ยังสูงอยู่ แต่ก็หวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการปรับลดลงมาบ้าง

นาทีนี้ต้องยอมรับว่าไฮโดรเจนสีเขียว กำลังมีการพูดถึงกันในวงที่กว้างขึ้นจริงๆ #SPRiNG มีโอกาสสัมภาษณ์ นายธนัย โพธิสัตย์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย บริษัท Enapter ในทริปเยี่ยมชมโครงการบ้านผีเสื้อ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า พลังงานไฮไดรเจนสีเขียวแม้ว่าขณะนี้ต้นทุนการผลิตยังสูงอยู่ แต่หากมองในระยาวในแง่ของความยั่งยืนโดยเฉพาะในภาคธุรกิจถือว่ามีความคุ้มค่าในระยาวเนื่องจากภาคธุรกิจไทยจะต้องมีความรักษ์โลกให้มากที่สุด ถ้าหากจะส่งออกไปยังตลาดยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนตัวมีความเห็นว่าในอนาคตต้นทุนพลังงานไฮไดรเจนสีเขียวจะปรับลดลง โดยมองว่าถ้าปรับลงมาอยู่ที่ 50 บาทต่อกิโลกรัม จะส่งผลดีทำให้คนหันมาใช้พลังงานสะอาดชนิดนี้มากขึ้น

ทั้งนี้ในปัจจุบันพบว่าต้นทุนพลังงานไฮไดรเจนสีเขียวอยู่ที่ 300บาทต่อกิโลกกรัม ถือได้ว่ามีราคาสูงกว่าที่เราไปเติมน้ำมันทั่วไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวลงมาอีกเสมือนรถอีวีคันหนึ่ง อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจพบว่าทั่วโลกใช้ไฮโดรเจนสีเทากว่า 90% เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพียง5% และมีการใช้ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน แม้จะไม่รักษ์โลก100% แต่กักเก็บคาร์บอนได้ระดับหนึ่ง ส่วนไฮโดรเจนสีเขียวช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้100%

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ,สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน , สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ , ธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า พลังงานไฮโดรเจนสีเขียว กลายเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทน ทางเลือกที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาโลกร้อน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์ (Net Zero Commitment)

พามาดูข้อดี ข้อเสีย ของพลังงานไฮโดรเจนสีเขียว มีดังนี้

ข้อดีไฮโดรเจนสีเขียว

-ให้ความร้อนดี ค่าพลังงานสูง

-พลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

-ไม่ปล่อยมลพิษขณะใช้งาน

-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42%

-ประสิทธิภาพเทียบเท่าน้ำมันเชื้อเพลิง

-ประหยัดกว่าน้ำมัน 40 – 60%

-ระบบระบายความร้อนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์

-ผลิตจากน้ำเปล่า เป็นธาตุที่ค้นพบได้ปริมาณมาก

ข้อเสียไฮโดรเจนสีเขียว

-เก็บเข้าถัง100% นำมาใช้ได้30%

-ราคาสูง

-ก๊าซเบา เล็ก ระเหยง่าย ติดไฟง่าย

-ถังเก็บต้องออกแบบพิเศษ

-ระบบความปลอดภัยต้องสูง ใช้เทคโนโลยี

ส่องอนาคตต้นทุนผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” มีโอกาสลดต่ำลง 50 บาท/กิโลกรัม

ไฮโดรเจนสีเขียวเหมาะกับธุรกิจไหน? 

-ภาคพลังงานไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน

-อุตสาหกรรมใช้ความร้อนสูง เหล็ก อะลูมิเนียม ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์

-ภาคการขนส่ง รถบรรทุก

พร้อมกันนี้จะพามาดูตัวอย่างการใช้งานไฮโดรเจนในประเทศไทยที่โรงไฟฟ้าบางปะกง โดยปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้งานไฮโดรเจนในรูปแบบต่างๆ เช่น กังหันก๊าซของบริษัท GE ที่ทำงานโดยใช้เชื้อเพลิงที่มีไฮโดรเจนเป็นส่วนผสมในภาคส่วนอุตสาหกรรม รวมถึงโรงงานเหล็ก โรงกลั่นน้ำมัน และโรงงานปิโตรเคมี มานานหลายทศวรรษแล้ว กลุ่มผลิตภัณฑ์กังหันก๊าซ H-Class ของจีอี มีระบบการเผาไหม้ DLN 2.6e ทำให้สามารถใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงได้ในอัตราส่วน 50% เมื่อผสมกับก๊าซธรรมชาติ ระบบการเผาไหม้นี้เป็นคุณสมบัติมาตรฐานของกังหันก๊าซรุ่น 9HA.01/9HA.02/7HA.03 โดยปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 50 รายใน 20 ประเทศทั่วโลก

อีกที่คือโรงไฟฟ้าลำตะคองเป็นการนำกังหันลมมาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานด้วย Wind Hydrogen Hybrid ที่ลำตะคองนั้น เป็นโครงการวิจัยของ กฟผ. เพื่อศึกษาข้อดี ข้อเสีย และประสิทธิภาพของการทำงานของระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนนำไฟฟ้าที่ได้ไปใช้งานจริงในศูนย์การเรียนรู้ลำตะคองแห่งใหม่ของเมืองโคราช ที่ได้เปิดในปี 2561 และจะเป็นส่วนหนึ่งของการนำมาสาธิตในศูนย์ เพื่อการเรียนรู้ระบบพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยอย่างครบวงจร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

related