SHORT CUT
วันนี้พาเทียบชัดๆผลิตไฟฟ้า ใช้เชื้อเพลิง-ระบบไหน ต้นทุนเท่าไหร่ ต่างกันอย่างไร?
ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันดีเซล 15 บาท/หน่วย ต่อมาระบบ Grid (ใช้ก๊าซธรรมชาติ70%) 4.30 บาท/หน่วย ส่วนโซลาร์เซลล์ 2 บาท/หน่วย ขณะที่กรีนไฮโดรเจน (ปัจจุบัน) 200 บาท/กก. หรือประมาณ 13 บาท/หน่วย
พาเทียบดูชัดๆว่าผลิตไฟฟ้าไทย ใช้เชื้อเพลิง-ระบบไหน ต้นทุนเท่าไหร่ และต่างกันอย่างไร? เช่น น้ำมันดีเซล 15 บาท/หน่วยต่อมาระบบ Grid (ใช้ก๊าซธรรมชาติ70%) 4.30 บาท/หน่วย ส่วนโซลาร์เซลล์ 2 บาท/หน่วย ขณะที่กรีนไฮโดรเจน (ปัจจุบัน) 200 บาท/กก. หรือประมาณ 13 บาท/หน่วย
แน่นอนว่าเรื่องราคาไฟฟ้าบ้านเรายังเป็นเรื่องที่ต้องจับตากันอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชูมาตรการลดค่าไฟฟ้า 3.70 บาทต่อหน่วย เรื่องนี้จะมีความเป็นไปได้แค่ไหน ยังคงต้องลุ้นรอดูคำตอบ ที่คาดว่าจะดำเนินการทำให้เป็นความจริงได้ภายในปี 2568 ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดยบอดณ์ด กกพ. ได้มีการนำเสนอแนวทางที่จะช่วยลดค่าไฟลงได้ทันที 17 สตางค์ต่อหน่วย โดยให้ภาคนโยบายทบทวนและปรับปรุงเงื่อนไขการสนับสนุนทั้งในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder)
ทั้งนี้รวมถึง Feed in Tariff (FiT) หรืออัตรารับซื้อไฟฟ้าคงที่ตลอดอายุโครงการผ่านการอุดหนุนราคารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) เพื่อให้การอุดหนุน Adder และ Feed in Tariff (FiT) สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
ขณะที่ นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เสนอมุมมองการบริหารทางเศรษฐกิจ เพื่อให้มีประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ต้องการให้มีการเจรจาราคาค่าไฟฟ้ากันใหม่ ดังนี้
จากข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวมาเบื้องต้นก็ต้องจับตากันต่อไปว่าค่าไฟไทยจะลดได้ตามที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้หรือไม่? #SPRiNG มีโอกาส สัมภาษณ์ นายธนัย โพธิสัตย์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย บริษัท Enapter ในทริปเยี่ยมชมโครงการบ้านผีเสื้อ จังหวัดเชียงใหม่ เขาได้ฉายภาพต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย จากแหล่งต่างๆ ตามรายละเอียดดังนี้
อย่างไรก็ตามมองว่าในอนาคตต้นทุนไฮโดรเจนอาจต่ำลง 50 บาท/กก. หากเป็นเช่นนั้นจะมีการใช้กรีนไฮโดรเจน ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น และทำให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่าย สะดวกขึ้น ที่จะช่วยโลกในเรื่องของการปล่อยคาร์บอนได้อีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันราคาไฮโดรเจนยังอยู่สูงถึง 200 บาท/กก. โดย 1กก.ผลิตไฟได้ 15 หน่วย ส่วนปัจจัยที่ทำให้ไฮโดรเจนมีโอกาสถูกลงเนื่องจากพลังงานสะอาดที่เป็นต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนจะถูกลงเรื่อยๆ เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจพบว่า ทั่วโลกใช้ไฮโดรเจนสีเทากว่า 90% เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพียง5% และมีการใช้ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน แม้จะไม่รักษ์โลก100% แต่กักเก็บคาร์บอนได้ระดับหนึ่ง ส่วนไฮโดรเจนสีเขียวช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้100%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กกพ. เสนอลดค่าไฟทันที 17 สตางค์ เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย ยึดหลักต้นทุนแท้จริง
พลังงาน ชี้โรงไฟฟ้าสำรองจำเป็นสร้างความมั่นคง จ่อปรับแผนดึงลงทุน ลุยปรับลดค่าไฟ
ไทยขยายมาตรการ "รับซื้อไฟจากพลังงานทดแทน" ไม่เกิน 2 ปี หวังลดต้นทุนค่าไฟ