svasdssvasds

เปิดต้นทุน “น้ำมันดีเซล” ผลิตไฟ ระยะยาวเมียนมาอ่วม-หวั่นโซลาร์เซลล์ทะลัก

เปิดต้นทุน “น้ำมันดีเซล” ผลิตไฟ ระยะยาวเมียนมาอ่วม-หวั่นโซลาร์เซลล์ทะลัก

ไทยตัดไฟเมียนมาเพื่อแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์ และทุนจีนสีเทา จนประชาชนได้รับผลกระทบ และแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ “น้ำมันดีเซล” มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งต้นทุนแพงมาก 15บาท/หน่วย คาดระยะยาวเมียนมามีอ่วม-เสี่ยงโซลาร์เซลล์ทะลัก

SHORT CUT

  • ต้องยอมรับว่าไทยตัดไฟในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา เสกัดการดำเนินการของขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ได้รับผลกระทบถ้วนหน้า
  • ทั้งนี้ทำให้ต้องซื้อไฟจาก สปป.ลาว มาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน บางส่วนบางพื้นที่ก็ได้มีการใช้น้ำมันดีเซล มาปั่นไฟฟ้าใช้เอง แน่นอนว่าการทำเช่นนั้นต้นทุนการผลิตสูงมาก และหากในระยาวจะทำให้มีค่าใช้ที่สูงขึ้น
  • วันนี้จะพาเปิดต้นทุน “น้ำมันดีเซล” ผลิตไฟฟ้าว่าสูงแค่ไหน และระยะยาวเมียนมามีอ่วมแน่นอน และไทยยังกังวลว่าโซลาร์เซลล์จะทะลักชายแเดน

ไทยตัดไฟเมียนมาเพื่อแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์ และทุนจีนสีเทา จนประชาชนได้รับผลกระทบ และแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ “น้ำมันดีเซล” มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งต้นทุนแพงมาก 15บาท/หน่วย คาดระยะยาวเมียนมามีอ่วม-เสี่ยงโซลาร์เซลล์ทะลัก

ยังคงดำเนินมาตรการต่อไปสำหรับกรณีที่ไทยตัดไฟในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา เพื่อสกัดการดำเนินการของขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทั้งนี้มีมติให้ตัดไฟ ตัดอินเตอร์เน็ต ตัดน้ำมัน ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวเป็นวงกว้าง จึงทำให้เมืองเมียวดี สถานที่ราชการ ตลาดบุเรงนอง โรงพยาบาล ได้มีการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟ และบ้านเรือนของประชาชนบางส่วนใช้ไฟโซลาร์เซลล์ให้แสงสว่าง รวมถึงการใช้ตะเกียงน้ำมันแทน

 

นอกจากนี้ภาคธุรกิจ และบ่อนกาสิโนต่างๆ มีการซื้อไฟจาก สปป.ลาว มาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน บางส่วนบางพื้นที่ก็ได้มีการใช้น้ำมันดีเซล มาปั่นไฟฟ้าใช้เอง แน่นอนว่าการทำเช่นนั้นต้นทุนการผลิตสูงมาก และหากในระยาวจะทำให้มีค่าใช้ที่สูงขึ้น วันนี้ #SPRiNG ได้รวบรวมข้อมูลจากแวดวงพลังงานของไทยมาเล่าสู่กันฟังว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้า จาก “น้ำมันดีเซล” สูงแค่ไหน และต้นทุนจากเชื้อเพลิงอื่นๆอยู่ที่เท่าไหร่ รายละเอียดดังนี้

  • ลิกไนต์ (กฟผ.) ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 1.18 บาทต่อหน่วย
  • พลังน้ำ (กฟผ.) ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 1.38 บาทต่อหน่วย
  • พลังน้ำ ลาว ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 1.89 บาทต่อหน่วย ถ่านหินำเข้า (IPP) ต้นทุนอยู่ที่ 2.14 บาทต่อหน่วย สัดส่วนการผลิตปัจจุบันใช้อยู่ 7.03%
  • ลิกไนต์ หงสา ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 2.17 บาทต่อหน่วย
  • Pool Gas ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 4.02 บาทต่อหน่วย
  • ก๊าซฯ (SPP Firm) ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 4.87 บาทต่อหน่วย
  • พลังงานหมุนเวียน (Renew) ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 5.57 บาทต่อหน่วย
  • น้ำมันดีเซล ต้นทุนอยู่ที่ 15 บาทต่อหน่วย
  • SPP Firm อื่นๆ ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 4.49 บาทต่อหน่วย

เปิดต้นทุน “น้ำมันดีเซล” ผลิตไฟ ระยะยาวเมียนมาอ่วม-หวั่นโซลาร์เซลล์ทะลัก

 

ด้าน นายธนัย โพธิสัตย์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย บริษัท Enapter เปิดเผยว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงต่างๆ จำแนกได้ดังนี้

  • น้ำมันดีเซล 15 บาท/หน่วย
  • ระบบ Grid (ใช้ก๊าซธรรมชาติ70%) 4.30 บาท/หน่วย
  • โซลาร์เซลล์ 2 บาท/หน่วย
  • กรีนไฮโดรเจน (ปัจจุบัน) 200 บาท/กก. 1กก.ผลิตไฟได้ 15 หน่วย หรือคิดเป็นต้นทุนค่าไฟประมาณ 13 บาท/หน่วย

ทั้งหมดคือต้นทุนการผลิตไฟฟ้าแต่ละเชื้อเพลิงที่ใช้ ซึ่งประเด็นเมียนมาถูกตัดไฟจากไทย บางพื้นที่เขาเลือกวิธีปั่นไฟด้วยเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล แน่นอนว่าต้นทุนสูงลิ่ว แต่…มีหลายฝ่ายจับตาว่าจากนี้ไปจะมีการนำเข้าโซลลาร์เซลล์ไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าฝั่งเมียนมามากขึ้น  จนทำให้ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ ได้เตรียมข้อมูลสถานการณ์การค้าชายแดน และกฎระเบียบทางการค้าภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์ หากมีการสั่งการให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามนโยบายสกัดขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์

เปิดต้นทุน “น้ำมันดีเซล” ผลิตไฟ ระยะยาวเมียนมาอ่วม-หวั่นโซลาร์เซลล์ทะลัก

อย่างไรก็ตามมีการระบุถึงประเด็นแผงโซลาร์เซลล์ ที่มีการขนย้ายข้ามประเทศเพื่อเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้า แม้ตอนนี้จะไม่ได้มีการสั่งห้าม เพียงทางการไทยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ไม่นำออกไปจำหน่าย หรือ ขนย้ายข้ามประเทศผ่านศุลกากรโดยเด็ดขาด คงต้องดูว่าจะมีมาตการเข้มข้นเรื่องนี้หรือไม่ หากเห็นว่ามีการส่งออกไปป้อนพื้นที่ตั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และอาชญากรรมข้ามชาติ ถึงขั้นต้องห้ามส่งออกเป็นการชั่วคราวก่อนหรือไม่ โดยเรื่องดังกล่าวนี้กระทรวงพาณิชย์มีการส่วนเกี่ยวข้อง และหากจะต้องห้ามส่งออกก็จะต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related