svasdssvasds

ลดค่าไฟ 3.70 บาท/หน่วย ยังไร้ความชัดเจน ชี้ต้องหารือหทำแผนอีกมากมาย

ลดค่าไฟ 3.70 บาท/หน่วย ยังไร้ความชัดเจน ชี้ต้องหารือหทำแผนอีกมากมาย

พามาดูความคืบหน้าการลดค่าไฟ 3.70 บาท/หน่วย ล่าสุดกระทรวงพลังงาน เปิดบ้านอัปเดตยังไร้ความชัดเจน ชี้ต้องหารือทำแผนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย พร้อมเตรียมปรับปรุงโครงสร้างราคา เร่งเดินหน้าพลังงานสะอาด ย้ำชัดความยั่งยืน

SHORT CUT

  • พามาดูความคืบหน้าลดค่าไฟ 3.70 บาท/หน่วย ล่าสุด กระทรวงพลังงาน เปิดบ้านอัปเดตยังไร้ความชัดเจน ชี้ชี้ต้องหารือทำแผนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย
  • พร้อมกันนี้เตรียมปรับปรุงโครงสร้างราคา เร่งเดินหน้าพลังงานสะอาด ย้ำชัดความยั่งยืน

  • เรื่องค่าไฟต้องหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และ 3 การไฟฟ้า ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.,การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)นอกจากนี้รวมไปจนถึง ปตท. และกระทรวงการคลังด้วย ซึ่งในขณะนี้คณะทำงานกำลังเร่งวางแผนร่วมกันว่าจะไปในทิศทางไหน

พามาดูความคืบหน้าการลดค่าไฟ 3.70 บาท/หน่วย ล่าสุดกระทรวงพลังงาน เปิดบ้านอัปเดตยังไร้ความชัดเจน ชี้ต้องหารือทำแผนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย พร้อมเตรียมปรับปรุงโครงสร้างราคา เร่งเดินหน้าพลังงานสะอาด ย้ำชัดความยั่งยืน

เรื่องพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญมากของประเทศไทย เพราะชีวิตผู้คน และภาคธุรกิจต้องการความมั่นคงด้านพลังงาน เข้าถึงง่าย ราคาที่เป็นธรรม ดังนั้นหน้าที่หลักของกระทรวงพลังงานก็ต้องทำงานบริหารจัดการเรื่องพลังงานให้สอดคล้องความต้องการของประชาชน และภาคธุรกิจ ล่าสุด กระทรวงพลังงาน เปิดบ้านแถลงข่าวนำทัพโดยปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารระดับสูง เผยผลงานสำคัญ ปี 2567 พร้อมแผนงานด้านพลังงานปี 68 ยังคงมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมปรับโครงสร้างราคาพลังงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิต เร่งเดินหน้าผลิตพลังงานสะอาด

หนึ่งในประเด็นที่สำคัญ และประชาชนอย่างรู้ นั่นก็คือ การลดค่าไฟให้เหลือระดับดับ 3.70 บาทต่อหน่วย จะทำได้ตอนไหน และกระบวนการเป็นอย่างไร โดยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลดค่าไฟให้เหลือระดับ 3.70 บาทต่อหน่วย ตามนโยบายรัฐบาลและแนวคิดของ นายทักษิณ ชินวัตร ยังคงต้องหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และ 3 การไฟฟ้า ทั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.,การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

ลดค่าไฟ 3.70 บาท/หน่วย ยังไร้ความชัดเจน ชี้ต้องหารือหทำแผนอีกมากมาย

นอกจากนี้รวมไปจนถึง ปตท.และกระทรวงการคลังด้วย ซึ่งในขณะนี้คณะทำงานกำลังเร่งวางแผนร่วมกันว่าจะไปในทิศทางไหน และตัวเลขอาจใช่ หรือไม่ใช่ ค่าไฟ 3.70 บาทต่อหน่วย ต้องรอดูกันอีกที และจะทันค่าไฟงวด 2 ของปีคือ พ.ค.-ส.ค.2568 หรือไม่ยังไม่สามารถตอบได้ โดยงวดปัจจุบันคือ ม.ค.-เม.ย. อัตรา 4.15 บาทต่อหน่วย

ส่วนประเด็นอื่นๆ ได้มีการนำเสนอผลงานกระทรวงพลังงานปี 2567 และแผนการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2568 ภายใต้หัวข้อ ”New Chapter เปิดศักราชใหม่พลังงานไทย จาก ภาพฉาย สู่ ภาพชัด” โดยได้กล่าวว่า การดำเนินการในช่วงปี 2567 เป็นอีกหนึ่งปีที่ทั่วโลกยังคงเผชิญกับความท้าทายด้านราคาพลังงานซึ่งเป็นผลมาจากภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากสถานการณ์สงครามในต่างประเทศที่ยืดเยื้อส่งผลให้ราคาพลังงานทั่วโลกผันผวน แต่ก็ถือว่าสถานการณ์ผ่อนคลายมากกว่าเมื่อ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของกระทรวงพลังงานยังคงออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ผ่านมาตรการการตรึงราคาค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม และ NGV

รวมทั้งการปรับใช้ราคา Pool Gas การใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคส่วนต่างๆ ทำให้ราคาพลังงานภายในประเทศอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อลดภาระหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งหลายๆ มาตรการก็เกิดจากการบริหารจัดการและระดมสมองจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัด ทั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

ส่วนในปี 2568 นี้ กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบาย โดยมุ่งเน้น “ประชาชนและประเทศ” เป็นสำคัญ ผ่าน 3 เป้าหมายการขับเคลื่อนด้านพลังงาน ประกอบด้วย 1) ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงาน 2) พลังงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ก็จะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนทั่วประเทศ และ 3) พลังงานคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ที่หลายบริษัทชั้นนำระดับโลกมุ่งหาพลังงานสะอาด

สำหรับกุญแจสำคัญในการทำให้แผนการขับเคลื่อนด้านพลังงานมีความชัดเจน จากภาพฉายกลายเป็นภาพชัดให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรม กระทรวงพลังงานได้วางกรอบ 5 นโยบายสำคัญ ได้แก่ 1) การจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ในประเทศ โดยจะเร่งสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเล 2) บริหารจัดการระบบพลังงานให้มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นเพื่อรองรับพลังงานทุกรูปแบบ ทั้งการพัฒนาระบบสำรองเชื้อเพลิงและการตรวจสอบปริมาณสำรอง การพัฒนาระบบ Smart Grid การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาระบบ SPR และการยกระดับระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตแบบกระจายศูนย์

3) ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงาน กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขัน เร่งขับเคลื่อนพลังงานสะอาดเพื่อเปิดรับการลงทุนจากบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น Data Center ผ่านมาตรการเช่น Direct PPA, UGT และการปรับแผน PDP ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น 4) เตรียมเสนอมาตรการด้านพลังงานสีเขียว ส่งเสริมการติดตั้ง Solar Roof ผลักดันมาตรการทางภาษี การลดขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้ง การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลเพื่อลดการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง ก็จะเป็นอีกตัวช่วยในการลดฝุ่น PM2.5 และ 5) สนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ ทั้งพลังงานไฮโดรเจน การปรับเปลี่ยนเอทานอลมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันเครื่องบินหรือ SAF การพัฒนาการกักเก็บ CO2 

“จากผลการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในปี 2567 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินทุกมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชน ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ที่ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้พลังงาน”

ส่วนในปี 2568 นี้ กระทรวงพลังงานจะเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้ “ภาพฉาย กลายเป็น ภาพชัด” ให้ทุกภาคส่วนได้เห็นถึงการบริหารจัดการภาคพลังงานของกระทรวงพลังงาน ทั้งการปรับโครงสร้างราคาเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน การสร้างความมั่งคงทางด้านพลังงาน การกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาและปรับแก้กฎหมายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต การทำให้ประชาชนเข้าถึงการใช้พลังงานสะอาด

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นนโยบายที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานได้เตรียมดำเนินการอย่างเต็มความสามารถ ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกัน ช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตด้านพลังงานในหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจะปฏิบัติตามแผนในปี 2568 เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่งคงด้านพลังงานไปพร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมุ่งสู่เป้าหมายพลังงานสะอาดต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related