McKinsey บริษัทที่ปรึกษายักษ์ใหญ่ของโลก เปิดเผยรายใหม่ระบุว่า ภายในปี 2030 โลกอาจขลาดแคลนวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ชี้ การจัดหาวัตถุดิบยังมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยมลพิษจากแบตฯ รถยนต์ EV มากถึง 40%
อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเฟื่องฟูอย่างสุดขีด และเบอร์ 1 ในตลาด EV ณ เวลานี้คือ จีน เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในทุกมิติ ทั้งยังครองส่วนแบ่งตลาด EV ในประเทศไทยถึง 82%
และสำหรับ ‘แบตเตอรี่’ เจ้าตลาดก็ยังเป็นของจีน โดย BYD และ CATL ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันกว่า 53.6% ซึ่งตัวเลขนี้ เป็นผลสำเร็จของนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลจีน หนึ่งในนั้นก็คือ การควบคุมแหล่งแร่สำคัญ อาทิ ลิเธียม โคบอลต์ แบบครบวงจร
ในภาพรวม อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าถือว่าคึกคัก แต่ทำไมหลายหน่วยงานถึงมองว่าภายในเวลาไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมการผลิตแบตฯ EV อาจถึงคราวชะงักงัน?
ล่าสุด McKinsey บริษัทที่ปรึกษายักษ์ใหญ่ของโลก เปิดเผยรายใหม่ระบุว่า ภายในปี 2030 โลกอาจขลาดแคลนวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
การศึกษาพบว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 4.5 ล้านคัน เป็น 28 ล้านคันภายในสิ้นทศวรรษนี้ ราว ๆ 4-5 เท่าเลยทีเดียว ดังนั้น เมื่อดีมานด์สูงขึ้น วัตถุดิบสำคัญจำพวก ลิเทียม แมงกานีบริสุทธิ์สูง และกราไฟต์ ต้องมีเพียงพอ ซึ่งรายงานคาดว่าจะไม่เพียงพอ และขาดตลาดในที่สุด
นอกจากนี้ กระบวนการจัดหาวัตถุดิบยังมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยมลพิษจากแบตฯ รถยนต์ EV มากถึง 40% รายงานจาก McKinsey จึงเน้นย้ำว่าผู้ผลิตต้องลดมลพิษในกระบวนการเหล่านี้ และต้องจัดหาวัตถุดิบที่ปล่อยมลพิษต่ำ
รัฐบาลทั่วโลก ที่กำลังส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า เล็งเห็นถึงปัญหานี้เช่นกัน และปัจจุบันก็มีหลายประเทศที่คลอดแผนสนับสนุนผู้ประกอบการ ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกามอบเงินสนับสนุนให้กับบริษัทโตโยต้า 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 154 ล้านบาท เพื่อไปพัฒนาแบตเตอรี่ไฟฟ้าให้มีความยั่งยืนมากขึ้น
การที่ห่วงโซ่อุปทานของรถยนต์ไฟฟ้าจะไม่ชะงักงันนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไทยเองก็มีนโยบายที่ชื่อว่า “อว. For EV” ซึ่งมีมาตรการส่งเสริม EV โดยจะเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ และ Supply Chain ที่เกี่ยวข้อง
หากทำได้ อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าก็จะมีความสมดุล ปล่อยมลพิษน้อย (จนถึงไม่ปล่อยเลย) ดังนั้น การจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอต่อตลาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน ถือเป็นสิ่งที่ควรเริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้
ที่มา: electrek
ข่าวที่เกี่ยวข้อง