SHORT CUT
ทำไมค่าไฟแพง เป็นคำถามที่ง่าย แต่ไม่เคยมีคำตอบว่ามันเกิดจากอะไร นี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดงานเสวนา สาเหตุไฟฟ้าแพง ประชาชนเดือดร้อนเพราะใคร? โดยมีผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมพูดคุยกัน
โดยนาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ประธานองค์กรส่งเสริมการแข่งขัน ที่เป็นธรรมและต่อต้านการผูกขาก กล่าวว่า ประเด็นค่าไฟแพงคงต้องโทษนักการเมือง เพราะพวกเขาคือคนที่ต้องปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน แต่ที่ผ่านมากลับไม่ทำเช่นนั้น เหมือนเราจ้างทนายที่ไม่ยอมเจรจาผลประโยชน์ให้กับเรา จึงอยากใช้เวทีนี้เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่แนวทางในการหาทางออกและแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนต่อไป
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center ซึ่งมาในฐานะตัวแทนของพรรคประชาชน กล่าวว่า ค่าไฟฟ้าที่แพงกว่าปกติของไทยนั้น มาจากการวางแผนระบบพลังงานที่ผิดพลาด เรามีโรงไฟฟ้าเยอะเกินความจำเป็น เนื่องจากการพยากรณ์ถึงความต้องการในการใช้ไฟฟ้าที่สูงเกินจริง ซึ่งมาจาก 2 ส่วน
แต่ในช่วงโควิดกลับมีอัตราการเพิ่มของประชากรที่ลดลง และเศรษฐกิจไม่ได้โตตามที่คาดการณ์ ทั้งยังมีปัจจัยด้านแนวคิดการประหยัดพลังงานที่กำลังได้รับความสนใจ ทำให้ความต้องการไฟฟ้าจึงแทบไม่เพิ่มขึ้นเลย
กาารมีโรงไฟฟ้าเยอะเกินความจำเป็น และผลิตไฟฟ้าส่วนเกินปริมาณมาก ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงเกินความเป็นจริง กลายเป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน แต่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน
รณกาจ ชินสำราญ นักวิชาการด้านไฟฟ้า ตัวแทนนักธุรกิจ ร่วมแสดงความเห็น ระบุว่า ในช่วงสองที่ผ่านมาเราเผชิญภาวะเศรษฐิกิจที่ยังไม่ฟื้นจากช่วงโควิด 19 ต้นทุนค่าครองชีพรวมถึงค่าพลังงานก็แพงขึ้น ซึ่งหากพูดถึงค่าไฟ ก็จะมีในส่วนของนโยบายภาครัฐที่เข้ามากำหนดราคา
ก่อนหน้านี้รัฐบาลใหม่เข้ามา ก็ให้สัญญาว่าจะทำให้ค่าไฟถูกลง แต่วิธีการกลับใช่วิธีตรึงค่าไฟหรือปลดเพด้านค่าไปลงมา ซึ่งผลกระทบก็คือจะทำใช้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากเมื่อก่อน 4 หมื่นล้าน ปัจจุบันอยู่ที่ราวๆ 110,000 ล้าน
เมื่อมีหนี้ก็ต้องมีคนจ่ายหนี้ เงินที่ต้องหามาจ่ายทดแทนการตรึงค่าไฟ ก็เป็นงบประมาณของรัฐบาลซึ่งเดิมควรเอาไปลงทุนด้านอื่นๆ เช่น พัฒนาแรงงาน หรือการศึกษา
นโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนก็ยังไม่ชัดเจน เรามีพลังงานหมุนเวียนเพียง 16-17 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประเทศอื่นในโซนยุโรป, อเมริกา เขาไป 40-50 เปอร์เซ็นต์ อย่าง ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ก็เริ่มผลักดันพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์แล้ว ปัญหาเหล่านี้ทำให้ไทยพัฒนาไปถึงจุดที่ควรจะเป็นได้ยาก
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ หัวหน้าทีมวิจัยประจำ Climate Finance Network Thailand บอกว่า สิ่งที่น่าแปลกใจคือ 'การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ' ที่ควรจะผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก แต่กลับเป็นเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าถึง 73% ด้านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตก็ทำหน้าที่เป็นฝ่ายจัดซื้อแทน ส่วนสัญญาซื้อขายก็ไม่สามารถขอดูจากหน่วยงานได้
ขณะที่ในปี 2040 รัฐบาลมีแผนจะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ต้นทุนมหาศาล แต่ยังไม่มีกลไกที่จะมารองรับหรือระบุว่า ใครจะเป็นคนจ่าย ซึ่งก็อาจจะกลับมาเป็นภาระของผู้บริโภคอยู่ดี
หลายคนยังมองว่าการที่เอกชนผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า อาจเป็นความพยายามลดบทบาทของกฟผ. ขณะที่เอกชนตอนนี้เหมือนจับเสือมือเปล่าโดยที่ไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงอะไรเลย ส่ววนประชาชนต้องก้มหน้าแบกรับค่าไฟแพง ทั้งยังต้องแบกภาระหนี้ของกฟผ. ด้วย
รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ตัวแทนสภาองค์กรของผู้บริโภค มองว่าการแก้ปัญหานี้เกิดขึ้นได้จากทุกภาคส่วน คือ
ภาครัฐ : ต้องปรับกระบวนการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับแนวโน้มใหม่ ลดการพึ่งพาฟอสซิล หยุดการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชชาติใหม่ ลดการผู้ขาดนายทุน สร้างช่องทางการผลิตและขายพลังงานหมุนเวียนในประเทศ
ภาคเอกชน/ผู้บริโภค : พึ่งพาตนเองอย่างเต็มที่ในการประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานอย่างมีประสิธทภาพ และมีแหล่งพลังงานสะอาด เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา
ส่วนนายรพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ กล่าวว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการเปลี่ยนพลังงานให้เขียวขึ้น หรือการใช้พลังงานสะอาด คือวิธีที่ง่ายและมีราคาถูกที่สุด ซึ่งรัฐมีอำนาจในการทำเช่นนั้น แต่จนถึงตอนนี้มันยังไม่เกิดขึ้น ทั้งยังมองว่าการเก็บภาษีคาร์บอนเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้เดิกความเป็นธรรมกับภาคประชาชนที่ต้องรับผลกระทบด้วย