SHORT CUT
กิจกรรมของมนุษย์ในแต่ละวันเพิ่มปริมาณขยะให้กับแม่น้ำ ลำคลอง จำนวนมหาศาล ใช้กำลังคนช่วยกันเก็บก็แทบจะไม่หมด จึงจำเป็นต้องมีนวัตกรรมเข้ามาช่วย เรือเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยเก็บขยะมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์ ถูกนำมาใช้ในกรุงเทพมหานครเพื่อช่วยเก็บขยะมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เครื่อง Interceptor เป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการขยะ ซึ่งเครื่องนี้ประกอบด้วย แผงทุ่นลอยน้ำที่โยงติดกับโรงเก็บขยะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายแพเรือที่ทอดสมออยู่ในแม่น้ำ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์และทำงานด้วยระบบอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้แรงงานคนในการควบคุม ซึ่งคิดค้นโดยองค์กร The Ocean Cleanup (TOC) องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมชั้นนำระดับโลก ดำเนินการด้านการจัดการขยะในทะเลจากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เป็นเครื่องดักขยะที่ช่วยลดปริมาณขยะในแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเล
เรือเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์สามารถเก็บขยะได้วันละ 50,000-100,000 ชิ้น ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น 1 ในแม่น้ำ 15 สายของโลกที่จะใช้เครื่อง Interceptor นวัตกรรมการจัดการขยะ เพื่อลดขยะในแม่น้ำเจ้าพระยาและเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนลดการทิ้งขยะลงแม่น้ำ ช่วยลดปัญหามลพิษ แถมเรือเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Interceptor ยังใช้พลังงานสะอาด อย่าง พลังงาน แสงอาทิตย์อีกด้วย เป็นการช่วยประหยัดพลังงาน
กรุงเทพมหานครได้เริ่มใช้เรือเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึงวัดโยธินประดิษฐ์ สุดเขตบางนา เป็นระยะทางประมาณ 34 กิโลเมตร โดยวัชพืชและขยะที่เก็บได้จะนำไปขึ้นที่ท่าเรือ 3 แห่ง ได้แก่ ปากคลองบางกอกน้อย (ใต้สะพานอรุณอัมรินทร์) ใต้สะพานพุทธ(คลองโอ่งอ่าง) และใต้สะพานพระราม 9 (ฝั่งพระนคร) จากนั้นจะนำวัชพืชและขยะไปกำจัดที่สถานีกำจัดมูลฝอยหนองแขม
ขยะที่เก็บได้ส่วนใหญ่เป็นวัชพืชและผักตบชวา ส่วนปริมาณมูลฝอยที่จัดเก็บได้ มีปริมาณทั้งหมด 3,146.16 ตัน เฉลี่ยวันละ 8.62 ตัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 - กันยายน 2565 โดยเรือเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ลำ ใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเก็บขยะ เพียงไม่กี่คน ซึ่งขยะที่เก็บได้จะนำไปศึกษาวิจัยปริมาณขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยาต่อไป
เนื้อหาที่น่าสนใจ :