เป็นที่รู้กันดีว่าอุตสาหกรรมการบินเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ SAF จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมการบินลงได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเชื้อเพลิงชนิดนี้ทำมาจากขยะและชานอ้อย
น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (เชื้อเพลิง SAF) เป็นเชื้อเพลิงรักษ์โลกช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมการบินลงได้สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์
เพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบิน จึงมีการนำเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนมาใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบเดิม ซึ่งบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้นำเชื้อเพลิง SAF มาใช้กับเครื่องบินของการบินไทย และได้ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (Thai Oil), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) ในการศึกษาพัฒนาและลงทุนผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF)
น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือเชื้อเพลิง SAF ผลิตขึ้นได้จากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น Used cooking oil, Ethanol จากชานอ้อยและขยะ เป็นต้น โดยจุดเด่นของเชื้อเพลิง SAF คือ การมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดวงจรชีวิตน้อยกว่าเชื้อเพลิงอากาศยานโดยทั่วไป และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงโดยปกติ
ด้วยเหตุนี้เองหลายธุรกิจและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ จึงหันมาให้ความสนใจในเชื้อเพลิง SAF และพยายามผลักดันให้มีการใช้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสามารถนำมาใช้งานโดยผ่านการผสมในน้ำมันเครื่องบินที่ทำจากฟอสซิสในปัจจุบัน (Jet A1) ได้ทันที โดยไม่ต้องมีการปรับปรุงเครื่องยนต์ให้รองรับการใช้งาน อีกทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนมีการกำหนดมาตรฐานการผลิตตามแต่ละประเภทของวัตถุดิบเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
การบินไทยมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความคิดริเริ่มในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี พ.ศ. 2593 หรือ ค.ศ. 2050 และเป็นการปฏิบัติตามมาตรการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และสมาคมการบินระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) ทั้งยังสอดคล้องกับที่สหภาพยุโรปกำหนดสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิง SAF ในน้ำมันอากาศยานที่จะทำการบินออกจากสนามบินในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
เนื้อหาที่น่าสนใจ :