ยลโฉม! รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-4 ฝีมือคนไทย ที่เตรียมจะไปลงแข่งขันรายการ Bridgestone World Solar Challenge 2023 สเปกรถน่าสนใจแค่ไหน ไปดู
วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ ลานมิวเซียมสยาม กรุงเทพฯ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ร่วมกันเปิดตัว รถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-4 เพื่อเข้าแข่งขันรายการ Bridgestone World Solar Challenge 2023 ที่ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 22-29 ตุลาคม 2566
โดยงานนี้มีผู้ร่วมสนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด และสำนักงานบริหารและพัมนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงงานแสงอาทิตย์ฝีมือคนไทย
เรื่องราวของรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของไทย ที่ได้ไปลงแข่งขันระดับโลก STC-4 ไม่ได้เป็นคันแรก แต่ก่อนหน้านี้มีอยู่แล้ว 3 รุ่น คือ รุ่น STC-1 ในปี พ.ศ. 2558, STC-2 ในปี พ.ศ. 2560, STC-3 ในปี พ.ศ. 2562 และในปีล่าสุดกับ STC-4 ในปี พ.ศ. 2566 นี้
โดยทั้ง 4 รุ่นนี้เป็นผลงานของอาจารย์และนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามล้วน ๆ เพื่อเข้าร่วมสู่การแข่งขันรายการ Bridgestone World Solar Challenge 2023 ที่ประเทศออสเตรเลีย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Tesla รุ่นใหม่ เตรียมรองรับ "การชาร์จแบบสองทิศทาง" จ่ายไฟให้อุปกรณ์อื่นได้
Tesla Model 3 Highland เปิดตัวสเปค ราคาเริ่ม 1.2 ล้านบาท ขายไทยปลายปีนี้
ม้านั่งพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมฟังชั่นชาร์จมือถือแบบไร้สายได้รวดเร็ว
คุณสมบัติและอัตลักษณ์ STC-4
ชื่อ : STC-4 / Thainamic
แข่งขันในรายการ : Bridgestone World Solar Challenge 2023
ประเภท : Cruiser Class (รถต้นแบบสำหรับใช้งานจริง)
ขนาด : หน้ากว้าง 2 ม. X ยาว 4 ม. X สูง 1.6 ม.
จำนวนที่นั่ง : สำหรับ 4 ที่นั่ง
Body Color : ขาว แดง น้ำเงิน (เอกลักษณ์ความเป็นไทยด้วยธงชาติไทย) มีลายของหางปลากัดไทยเสริมความสวยงาม
ความเร็วสูงสุด : 120 km/h ระยะทาง 1,200 km/ชาร์จ
ระบบสื่อสารข้อมูลภายในรถ : เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายในรถผ่านระบบคลาวด์และถูกส่งมาแสดงผลที่หน้าจอให้ผู้ขับได้รับรู้ข้อมูล อาทิ ความเร็วรถ / ตำแหน่งที่ตั้ง / พลังงานแบตเตอรี่ / ค่าแรงดันเซลล์แบตเตอรี่ / อุณหภูมิภายในแบตเตอรี่ / พลังงานที่คงเหลือในแบตเตอรี่
Body Material : ทำมาจาก Fyber Glass เพื่อให้โครงรถมีน้ำหนักเบาช่วยให้รถวิ่งได้ไกลมายิ่งขึ้น
มาตรฐานเดียวกับการผลิตรถยนต์ : ออกแบบและผลิตโดยใช้มาตรฐานเดียวกับการผลิตรถยนต์ที่ใช้งานจริงบนท้องถนนทั่วไปในประเทศไทย
ระบบบังคับเลี้ยว : ระบบช่วยบังคับเลี้ยวแบบไฟฟ้าล้อหน้า ทำให้ช่วยผ่อนแรงผู้ขับในขณะบังคับเลี้ยว นอกจากนี้ยังมี Electronic Differentail System ช่วยในการควบคุมความเร็วมอเตอร์ในขระรถแล่นอยุ่ในทางโค้งหรือขณะเลี้ยวรถ ทำให้รัศมีวงเลี้ยวของตัวรถแคบ
ส่องมาตรการรัฐอุดหนุนราคา “รถยนต์อีวี” คันละเท่าไหร่ ถึงเดือนไหน ?
ระบบโซลาร์เซลล์ : แผงโซลาร์เซลล์ ซิลิกอนแบบผลึกเดี่ยว (mono-crystalline silicon) ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 630-756 Wp แรงดันไฟฟ้า Voc 92.1 V, Vmp 79.8 V กระแสไฟฟ้า Isc 10.73A และใช้แบตเตอรี่ NMC Pack (8P14S) จำนวน 2 แพ็ก ความจุแบเตอรี่ 97 kWh
ระบบส่งกำลัง : ใช้มอเตอร์หมุนขับที่ล้อทั้ง 2 ล้อ โดยตรงทำให้การสูญเสียกำลังน้อยเมื่อเทียบกับระบบส่งกำลังที่ส่งผ่านชุดเกียร์
สนามแข่งที่ออสเตรเลียปีนี้
สำหรับการแข่งขันในปีนี้ รายการ Bridgestone World Solar Challenge 2023 ได้จัดขึ้น ณ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนึ่งในเวทีขนาดใหญ่ที่ใช้เพื่อทดสอบรถพลังงานแสงอาทิตย์ในเชิงการออกแบบอุตสาหกรรม เทคนนิคเชิงวิศวกรรม และเทคโนโลยีด้านพลังงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง โดยจัดต่อเนื่องมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว
สำหรับสนามแข่งปีนี้ ประเทศออสเตรเลียได้กำหนดเส้นทางที่สมบุกสมบันให้กับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะเริ่มต้นจากเมือง Darwin ทางตอนเหนือสุด และสิ้นสุดเส้นชัยในเมือง Adelaide ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย บนทางหลวงหมายเลข 1 ทีมต่าง ๆ จะได้สัมผัสกับภูมิประเทศ สถานที่สำคัญ สภาพแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันของในแต่ละพื้นที่
โดยเมือง Darwin มีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางของทวีปอย่างเมือง Alice Springs ที่รายล้อมไปด้วยทะเลทราย อากาศที่แห้งก็จะมีอุณหภูมิสูงถึง 45-50 องศาเซลเซียส หรือบางครั้งก้อาจเกิดฝนตกหนัก
ถัดลงมาทางตอนใต้ของทวีปอย่างเมือง Coober Pedy เมืองก่อนถึงเส้นชัย ผู้เข้าแข่งขันจะเริ่มเผชิญกับสภาพที่แห้งแล้งและอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส มีลมหนาวและพายุบ่อย ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างทางได้
ถือว่าเป็นเส้นทางที่หฤโหดและหนักสุด ๆ สำหรับนักแข่ง 50 ทีมจาก 25 ประเทศทั่วโลก โดยรวมระยะทางของการแข่งขันแล้วทั้งสิ้น 3,022 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 6 วัน หรือ 50 ชั่วโมง