svasdssvasds

สุดเจ๋ง ! นำ “แหน” ดัดแปลงพันธุกรรม สามารถผลิต 'น้ำมันชีวภาพ' ได้

สุดเจ๋ง ! นำ “แหน” ดัดแปลงพันธุกรรม สามารถผลิต 'น้ำมันชีวภาพ' ได้

ใครจะไปคิดว่าถ้าหากนำ “แหน” มาดัดแปลงพันธุกรรม สามารถผลิต 'น้ำมันชีวภาพ' ได้ ที่สำคัญผลิตได้สูงกว่าถั่วเหลือง 7 เท่า

แหนเป็นวัชพืชที่มีประโยชน์มากกว่าโทษ ส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ หรือการปล่อยปลากินพืชในจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดพื้นที่หรืออัตราการขยายพันธุ์ของแหนในพื้นที่นั้นศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยข้อมูลว่า แหนเป็นพืชขนาดเล็กลอยน้ำ เจริญเติบโตได้ดีในน้ำนิ่ง เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ระบาดมากในพื้นที่น้ำนิ่งหรือไหลอย่างช้าๆ และไม่มีสัตว์กินพืช เช่น เป็ด ปลากินพืช

โดยแหนบางชนิด มีโปรตีนประมาณ 20-40% ใยประมาณ 4-6% และยังเป็นพืชที่นิยมนำไปตากแห้งทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์หรือผสมในอาหารของสัตว์ เช่น อาหารของเป็ด ห่าน ปลา ไก่ นกกระทา และสุกร เป็นต้น มีผู้ศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มเป็ด พบว่า ในระยะเวลา 100 วัน สามารถดูดปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) ได้สูงสุดถึง 49.10% ดังนั้น จึงนิยมนำแหนเป็ดเล็กมาใช้เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกสำหรับเลี้ยงเป็ดเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่…ใครจะไปคิดว่าแหนถ้าหากนำ “แหน” มาดัดแปลงพันธุกรรม สามารถผลิต 'น้ำมันชีวภาพ' ได้ ที่สำคัญผลิตได้สูงกว่าถั่วเหลือง 7 เท่า โดยเรื่องนี้ถูกเปิดเผยจากสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) อีกหนึ่งคุณสมบัติสำคัญของแหน คือ เป็นพืชที่มีกรดไขมันอิสระอยู่อย่างสมบูรณ์ และยังสามารถดึงกรดไขมันที่ว่านี้ ไปสกัดเป็น "น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ" ได้ด้วย โดยผ่านกระบวนการดัดแปลงพันธุกรรม

ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์จาก Brookhaven ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ได้ร่วมกับ Cold Spring Harbor Laboratory (CSHL) โดยคิดค้นการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากแหนเล็ก โดยการสร้างยีนขึ้นมาแล้วนำมาดัดแปลงกับพันธุกรรมของแหน เพื่อกระตุ้นการสังเคราะห์กรดไขมัน และดึงเอากรดไขมันเหล่านั้นออกมาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ และป้องกันการย่อยสลายของน้ำมัน ซึ่งผลการทดลองนี้ สามารถสะสมน้ำมันได้ถึง 10%

สำหรับกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากแหน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้สร้างยีนที่ใช้สำหรับการดัดแปลงพันธุกรรมของแหนขึ้นมา 3 ตัว ได้แก่ W,D,O แต่ตัวจะมีคุณสมบัติดังนี้

  • ยีนที่ 1 W = Push “กระตุ้น”การสังเคราะห์กรดไขมันที่มีอยู่ในแหน
  • ยีนที่ 2 D = Pull “ดึง”กรดไขมันเหล่านั้นออกมาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ
  • ยีนที่ 3 O = Protect “ปกป้อง”การย่อยสลายของน้ำมัน โดยผลิตโปรตีนที่เป็นตัวเคลือบหยดน้ำมันในเนื้อเยื่อพืช

ทั้งนี้ผลการทดลอง ยังพบว่า แหนที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมจากยีนทั้ง 3 ตัว พบว่าสามารถสะสมกรดไขมันได้ 16% และผลิตน้ำมันได้ 8.7% นั่นหมายความว่า แหนที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม สามารถสะสมน้ำมันได้ถึง 10% มากกว่า 100 เท่า ของระดับน้ำมันที่มีอยู่ในพืชชนิดอื่น ๆ และผลิตได้สูงกว่าถั่วเหลืองถึง 7 เท่า ซึ่งเป็นแหล่งไบโอดีเซลที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ ของแหน คือ พืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และเก็บเกี่ยวได้ง่าย ถือเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ และยังยืน นอกจากนี้ ยังสามารถบำบัดน้ำเสียให้กับโรงงานวิศวกรรม ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเกษตรเนื่องจากเป็นโรงงานผลิตน้ำมันทั้งนี้แม้การทดลองจะถือว่าเป็นผลสำเร็จ แต่ยังคงต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านคุณภาพปริมาณ และระยะเวลาในการผลิต เพื่อขยายผลจากห้องทดลองไปสู่ระดับอุตสาหกรรม   

related