ค่าไฟ ค่าไฟขึ้น ที่ผ่านมา คือ ความทุกข์ร้อนของประชาชน ซึ่งก็มาจากหลายปัจจัย แม้ว่าหลายฝ่ายกำลังเดินหน้าเร่งแก้ไขปัญหา ล่าสุดมีเวที ภาคประชาสังคมมีการหารือกัน เตรียมชงรอรัฐบาลใหม่ ค่าไฟต้องแฟร์ และเป็นธรรมค่าไฟไม่ต้องถูกมาก แต่..ต้องแฟร์ เป็นธรรม กับประชาชน
ช่วงหน้าร้อนของปี2566 ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าหลายบ้านค่าไฟแพง ค่าไฟขึ้น เนื่องจากใช้ไฟในปริมาณที่มากขึ้น ประกอบกับต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าอย่างก๊าซธรรมชาติ ที่เป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตมากถึง 50 – 60 % พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปจนถึงต้นทุนเรื่องของการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่งไฟ รวมถึงกลไกการขายปลีก การจำหน่ายไฟฟ้าที่สูงขึ้นจึงทำให้ค่าไฟพุ่งสูงขึ้นตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่องนโยบายลดค่าไฟ “พรรคเพื่อไทย” ดีต่อประชาชน - ผลเชิงลบกับธุรกิจโรงไฟฟ้า
ข่าวดี! กกพ. เคาะลดค่าไฟฟ้า 4 งวด เริ่มบิลเดือน ก.ย.-ธ.ค. 66
“ติดโซลาร์เซลล์” หนีค่าไฟแพง ! ต้องรู้ 4 เรื่องยอดฮิต ที่ทำให้คนมักเข้าใจผิด
ล่าสุดได้ดับฝันพี่น้องประชาชนที่รอความหวังว่าค่าไฟจะลดลงในงวดสุดท้ายปี2566 หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน นำโดยนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผย่ว่า การปรับลดค่าไฟฟ้าในช่วงงวดสุดท้ายของปี2566 เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หรืออาจเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากต้องมีกระบวนการคำนวณสูตรค่าไฟฟ้าใหม่ ต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น รวมถึงการพิจารณาต้นทุนที่เกี่ยวข้องทั้งของปตท. และกฟผ.
ทั้งนี้จากข้อเสนอให้ปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าลงมาเป็น 4.25 บาท โฆษก เรื่องนี้ต้องให้เป็นเรื่องของรัฐบาลใหม่เข้ามาเข้ามาดูแล โดยเฉพาะหนี้ที่ติดค้างกับกฟผ.ซึ่ง กกพ.ไม่มีงบประมาณ ทำได้แค่ดูแลตัวเลขที่เสนอเข้ามาไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไปเท่านั้น ซึ่งเบื้องต้นหากจะลดให้ได้ตามข้อเสนอจะต้องใช้เงินงบประมาณราว 15,000 ล้านบาท หรือคิดง่ายๆ ว่าจะลดให้ได้ทุก 1 สตางค์จะใช้เงินราว 600 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มค่าไฟฟ้าในงวดแรกของปี 2567 จะสามารถลดลงได้มากกว่านี้หรือไม่ ขณะนี้มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากกฟผ.ได้แจ้ง กกพ.ว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนที่ สปป.ลาว ลดน้อยลง จะส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าที่ กฟผ.ซื้อไฟฟ้าพลังงานน้ำส่งมายังไทย ก็อาจทำให้การผลิตไฟฟ้าต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเข้ามาทดแทน ขณะที่ถ่านหินราคาสูงขึ้น รวมถึงต้องติดตามราคาก๊าซฯ LNG ที่ผันผวน เพราะยังมีหลายปัจจัยเข้ามากระทบ พร้อมกันนี้กกพ.เตรียมแผนรองรับสถานการณ์รับมือราคาเชื้อเพลิงที่ผันผวน และติดตามผลิตก๊าซฯ อ่าวไทย เพื่อลดผลกระทบจากค่าไฟฟ้าในอนาคต
จากปัญหาเรื่องค่าไฟแพง หลายภาคส่วนกำลังเดินหน้าช่วยกันแก้ไขปัญหา ล่าสุด เครือข่ายขับเคลื่อนค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรม โดยมีศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI และสภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกันสื่อสารต่อรัฐบาลใหม่และสาธารณะให้ทราบถึงสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปสู่ราคาค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรมและสร้างความยั่งยืน #ค่าไฟต้องแฟร์ : พร้อมข้อเสนอภาคประชาสังคมและเอกชนถึงรัฐบาลใหม่
ทั้งนี้เวทีดังกล่าวต้องการสื่อสารต่อรัฐบาลใหม่ถึงข้อเสนอของภาคประชาสังคมและเอกชน ในการทำให้ราคาค่าไฟฟ้าเป็นธรรมและนำไปสู่ความยั่งยืน และจะมีการนำเสนอข้อมูลต่อสาธารณะเกี่ยวกับปัญหาราคาค่าไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรมด้วย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา อีกทั้งเพื่อเรียกร้องให้พรรคการเมืองต่าง ๆ และรัฐบาลใหม่ เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาค่าไฟฟ้าไม่เป็นธรรมอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม
โดย รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ อนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค บอกว่า ข้อเสนอภาคประชาสังคม และเอกชนถึงรัฐบาลใหม่ มี 5 ข้อ ดังนี้
1.หยุดลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้า (PPA)
จากโครงการขนาดใหญ่แห่งใหม่ทุกโครงการทั้งโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่จากประเทศเพื่อนบ้าน และโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อหยุดการนำภาคธุรกิจและภาคประชาชนไปแบกรับภาระในแต่ละสัญญาที่ผูกมัดยาวนาน 25 - 35 ปี จนกว่าโรงไฟฟ้าจำนวนมากที่มีอยู่แล้วแต่ไม่จำเป็นต้องเดินเครื่อง จะลดลงสู่ระดับที่เป็นมาตรฐานนานาชาติ แล้วจึงนำกลับมาให้รัฐบาลพิจารณา
2.เร่งเดินหน้านโยบายNet-metering หรือระบบหักลบหน่วยไฟฟ้ากับพลังงาน
ให้เดินหน้าหนุนการใช้แสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ บนหลักการที่เสรี เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และครอบคลุมทั้งประเทศ ได้แก่ การส่งไฟฟ้าไป-มากับระบบสายส่งได้ไม่จำกัด โดยหน่วยไฟฟ้าที่ไม่เกินการใช้เองในแต่ละเดือน มีราคาเดียวกับที่การไฟฟ้าจำหน่ายให้
ส่วนไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้เองในแต่ละดือนมีราคาเดียวกับราคาไฟฟ้าขายส่ง และหากผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดเข้าเกณฑ์ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องบันทึกการซื้อกับการขายไฟฟ้าแยกออกจากกัน ทั้งนี้ 3 การไฟฟ้าจำเป็นต้องแสดงประโยชน์ของไฟฟ้าจากระบบ Net-metering ในการลดต้นทุนหน่วยสุดท้ายของระบบไฟฟ้าของประเทศ และต้องจัดการระบบสายส่งไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อสิทธิของธุรกิจและประชาชนในการผลิตจัดการ และขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือเข้าระบบ รวมทั้งต้องเร่งปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนา การผลิต และการใช้พลังงานหมุนเวียน
3. เปิดรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง โปร่งใส
ซึ่งจะต้องตรวจสอบได้ ต่อร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) และร่างแผนพลังงานอื่นๆได้แก่ แผนพลังงานหมุนเวียน, แผนประสิทธิภาพพลังงาน, แผนก๊าซธรรมชาติ, และแผนน้ำมัน แล้วจึงจะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและตัดสินใจของรัฐบาลต่อไป โดยกระทรวงพลังงานจำเป็นต้องให้ข้อมูลในรายละเอียดอย่างครบถ้วน และเข้าถึงได้ง่ายโดยมีระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนการรับฟังความคิดเห็น และนำผลของการรับฟังความคิดเห็น เข้าสู่กระบวนการพิจารณาและตัดสินใจของรัฐบาลอย่างครบถ้วนสมเหตุสมผล และทวนสอบได้
4. พัฒนาระบบซื้อ-ขายส่งไฟฟ้า ที่สร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม
สำหรับการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐอย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องมีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับภาครัฐอีกต่อไป โดยดำเนินการควบคู่กับการเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเดิมที่ลงนามไปแล้ว เพื่อลดภาระค่าความพร้อมจ่าย (APหรือ CP) ภาระไม่ใช้ก็ต้องจ่าย (Take-or-Pay) และอัตรากำไร (IRR) ของโรงไฟฟ้าเอกชนที่สูงเกินควร บนหลักการที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรมต่อภาคธุรกิจและภาคประชาชน
5. นำต้นทุนก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซที่มีราคาถูกกว่ามาคิดเป็นต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
ซึ่งได้แก่ ก๊าซอ่าวไทย และก๊าซจากเมียนมา ให้นำคิดเป็นต้นทุนการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากเป็นบริการสาธารณะ แล้วนำต้นทุนก๊าซที่มีราคาแพงกว่า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) นำเข้าที่อิงราคาตลาดโลก ไปคิดเป็นต้นทุนสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และภาคอุตสาหกรรมอื่นๆบุคคล องค์กร และเครือข่ายต่างๆ