พามาดูการกำหนดราคาขายปลีก LPG ของไทย มีโครงสร้างและกลไกราคา จะเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบ หรือเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ หรือไม่ สำหรับราคา LPG ของไทยนั้น จะประกอบไปด้วยอะไร
ค่าครองชีพสูง คือ ความทุกข์ร้อนของประชาชน โดยเฉพาะราคาก๊าซหุงต้ม ราคาต้องไม่สูงเกินไป เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นกับการดำรงชีวิตอย่างมาก ล่าสุดการตรึงราคาก๊าซหุงต้มจะหมดมาตรการในเร็วๆ นี้ โดยกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าคาดว่าคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ในฐานะฝ่ายปฏิบัติมีหน้าที่ดูแลความมั่นคงด้านน้ำมันจะมีการพิจารณาแนวทางดูแลราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้ม (LPG) ที่จะสิ้นสุดการตรึงราคาไว้ที่ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม (กก.) ในวันที่ 30 มิ.ย.66
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พามาทำความรู้จัก ! กับแหล่งที่มาของ “ก๊าซธรรมชาติ” ของประเทศไทย
ข่าวดี ! ค่าไฟอาจถูกลง หลังแหล่ง “เอราวัณ” เพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติ
วันนี้จะพามาดู 3 กลไก ที่มีผลต่อ ราคา LPG ไทย ที่ประชาชน พ่อค้า แม่ค้า ควรรู้ ? โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เปิดเผยข้อมูลว่าโครงสร้างและกลไกราคา จะเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบ หรือเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ หรือไม่ สำหรับราคา LPG ของไทยนั้น จะประกอบไปด้วยอะไร
1. ราคา ณ โรงกลั่น
อ้างอิงราคาตลาดโลกจาก LPG Cargo โดยใช้ราคาเฉลี่ย 2 สัปดาห์ย้อนหลัง เพื่อลดความผันผวน โดยราคาส่วนนี้จึงมีการปรับขึ้นลงทุก 2 สัปดาห์ และถือเป็นราคาที่ใช้อ้างอิงในการนำเข้า เพื่อให้สามารถนำเข้า LPG ได้อย่างเสรี รองรับการผลิตจากโรงแยกก๊าซที่จะลดลงในอนาคต
2. ภาษี และกองทุน
เป็นส่วนที่ต้องจ่ายให้กับภาครัฐ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์เป็นรายได้ของรัฐ เช่น เงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) รวมถึงเงินภาษีประเภทต่างๆ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. ค่าการตลาด
เป็นต้นทุนด้านการบริหารจัดการของผู้ค้า ค่าลงทุนด้านสถานี หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของธุรกิจ
นอกจากนี้ หากเป็นก๊าซหุงต้มที่บรรจุถัง ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งของผู้จำหน่ายเพิ่มเติม ซึ่งเป็นผลให้ราคาก๊าซหุงต้มในแต่ละพื้นที่ มีราคาขายปลีกแตกต่างกันเล็กน้อยอีกด้วย