ปลอดภัยไร้กังวล ! พ่อครัว แม่ครัว คนที่ใช้ก๊าซทำอาหารไม่ต้องห่วงก๊าซหุงต้ม จะไม่ปลอดภัย หลังสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ออกมาแนะนำ 9 เคล็ดลับดีๆ ใช้ก๊าซหุงต้มให้ปลอดภัย ต่อชีวิต และทรัพย์สิน
คนที่ทำอาหาร หรือคนที่ใช้ก๊าซหุงต้มในชีวิตประจำวันต้องมีความกังวลในความไม่ปลอดภัยบ้างแหละ เพราะมีข่าวก๊าซหุงต้มระเบิดอยู่เป็นประจำ แต่…จะทำยังไงให้ตัวเองปลอดภัยล่ะ ในเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องหาวิธีป้องกัน โดยล่าสุดสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ออกมาแนะนำ 9 เคล็ดลับดีๆ ใช้ก๊าซหุงต้มให้ปลอดภัย ต่อชีวิต และทรัพย์สิน ตามรายละเอียดดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กบง. ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม LPG ถัง 15 กก.ที่ 423 บาท - ก๊าซรถยนต์ NGV นาน 3 เดือน
ธพ. เตือน เติมก๊าซ LPG ลงถังก๊าซหุงต้ม ในปั๊มก๊าซ LPG มีความผิด
กบง.ให้ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม 408 บาท/ถังอีก 1 เดือนแต่ขึ้น NGV 1 บาท
เปิดเคล็ด(ไม่)ลับ ใช้ก๊าซหุงต้มให้ปลอดภัย
1.ตัวถังต้องมีตราสัญลักษณ์เครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และมีการระบุน้ำหนักไว้อย่างชัดเจน รวมถึงตัวถังมีสภาพสมบูรณ์ บอกวันหมดอายุ และวันตรวจสอบคุณภาพถังครั้งล่าสุด
2. วางถังแก๊สในบริเวณพื้นที่แสงแดดส่องไม่ถึง มีอากาศถ่ายเทสะดวก เป็นพื้นราบ และวางถังในแนวตั้ง
3. เช็กสภาพภายนอกของถังให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นหัวปรับแรงดัน และหัววาล์ว ว่าไม่มีจุดชำรุด สามารถทดสอบได้โดยเปิดวาล์วถังแก๊ส แล้วหมุนไม่เกิน 2 รอบ หากได้กลิ่นก๊าซ ให้ระวังไม่ให้เปิดใช้ก๊าซ
4.หมั่นตรวจสอบรอยรั่วของถังแก๊ส ด้วยการใช้น้ำฟองสบู่ลูบตามสายและจุดต่าง ๆ ของตัวถัง หากเห็นว่ามีฟองสบู่ฟูขึ้นมา แสดงว่ามีก๊าซรั่ว ให้รีบปิดวาล์วบนหัวถัง จากนั้นเปิดประตูและหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท
5. หากต้องการเคลื่อนย้าย ไม่ควรกลิ้งหรือกระแทกถังแก๊สเด็ดขาด ให้ใช้วิธีการยก
6.เมื่อก๊าซหมด ควรปิดวาล์วถังแก๊สให้สนิท และไม่ควรนำถังแก๊สไปให้สถานีบริการก๊าซ LPG หรือร้านค้าก๊าซเติมเอง
7. ก่อนการเปลี่ยนถังแก๊ส ควรปิดเตาแก๊สรอบข้างให้หมดก่อน
8. ควรเช็กสภาพสายยางก๊าซให้อยู่ในสภาพดี โดยปกติจะมีอายุการใช้งาน 3 ปี หากสายยางบวม มีรอยปริ เปลี่ยนสีหรือแข็งจนหักงอไม่ได้ ให้รีบเปลี่ยนใหม่ทันที
9.เมื่อใช้งานเสร็จ ให้ปิดวาล์วถังแก๊สก่อน และรอจนไฟที่เตาดับสนิทแล้วจึงปิดวาล์วที่หัวเตา