OR เปิดปีใหม่ 2566 ด้วยผู้นำคนใหม่ ที่ได้เปิดวิสัยทัศน์การนำพา OR ให้ก้าวหน้าแบบทะยานติดปีกเพื่อความยั่งยืนและเป็นที่หนึ่งด้านน้ำมันและEV ให้ได้
ปีใหม่กับผู้นำคนใหม่ ปี 2566 ยุคเปลี่ยนผ่านใหม่สำหรับ OR หรือ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ที่ได้เปิดตัว CEO คนใหม่ ดิษทัต ปันยารชุน ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมสานต่อวิสัยทัศน์ Empowering All toward Inclusive Growth” เพื่อนำพาธุรกิจเดิมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และใช้ตำแหน่งเดิมที่เคยทำงานระหว่างประเทศมาทำให้พาร์ทเนอร์ของ OR เพิ่มมากขึ้น
หลังจากเปิดตัว CEO คนใหม่ไปเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา เป้าหมายของนายดิษทัต นั้นตั้งเป้าว่าจะนำพาองค์กรติดปีก หรือมีแนวคิดที่ชื่อว่า “ติดปีก OR” และ “RISE OR” ที่จะพาองค์กรทะลุเป้าแบบฉับพลันภายในระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ดังนั้น บทความนี้สปริงนิวส์จะชวนไปเปิดวิสัยทัศน์ เป้าหมายของนายดิษทัต ว่ามีความมุ่งมั่นมากแค่ไหน
เป้าหมายที่นายดิษทัตวางเอาไว้
ในช่วงแรกในดิษทัตกล่าวว่า ตนอยากจะสร้างโอกาสให้กับองค์กร โดยการหาพาร์ทเนอร์เพิ่ม ที่ไม่ใช่เพียงแค่ในไทยเท่านั้น แต่จะเพิ่มพาร์ทเนอร์ต่างประเทศเข้ามาด้วย และเน้นย้ำว่าเราจะต้องสร้างพลังให้กับตนเองก่อน เพื่อที่จะสามารถส่งต่อไปสู่คู่ค้าให้มีความแข็งแกร่งไปพร้อมกัน โดยหวังว่าจะมีพาร์ทเนอร์เพิ่มขึ้น 50% ในช่วงเวลาการดำรงตำแหน่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
OR เปิดตัว CEO คนใหม่ นำพาปตท. มุ่งเป็นผู้นำด้านพลังงาน น้ำมันและEV
MEA – PEA – EGAT – OR - EA ร่วมพัฒนาแอปพลิเคชั่นดูหมุดสถานีชาร์จ EV ข้ามค่าย
OR สนับสนุนเวที APEC 2022 รับจัดการขยะภายในงาน นำไปอัพไซเคิลต่อ
ปตท. จัดงานวันเด็ก แนวคิดเรียนรู้นวัตกรรมพลังงาน ใช้ชีวิตเป็นมิตรกับโลก
ปตท. ชู 2 นวัตกรรมเปลี่ยนอนาคต ลดโลกร้อน และ ยกระดับคุณภาพชีวิต
ในฐานะผู้นำคนใหม่ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไรมาก แต่จะยังคงทำตามแผนเดิมให้มั่นคงแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เช่น เป้าหมายความยั่งยืนให้อนาคตจาก SDGs ของประเทศทั้ง 17 ข้อ ตนจะโฟกัสแค่ 3 ข้อหลักตามสไตล์ของ OR เท่านั้น และจะต้องสำเร็จให้ได้ภายในปี 2030 นั่นคือ
เป้าหมายที่จะต้องสำเร็จภายในปี 2030
ตลอดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี นายดิษทัตวางไว้ว่าการดำเนินงานจะอยู่ภายใต้งบการลงทุนกว่า หนึ่งแสนล้านบาท โดยจะเน้นไปที่ 4 กลุ่มธุรกิจหลักคือ Mobility, Lifestyles, Global และ OR Innovation แต่ในปี 2566 นี้จะเน้นไปที่ Lifestyle 45% Mobility 22% OR Innovation 17% และ Global 16%
นอกจากนี้จะเสริมในเรื่องของ Living community ซึ่งจะเป็นการยกระดับชีวิตชุมชนให้มีความสุขรวมถึงมีการสร้างรายได้ให้ชุมชนบริเวณโดยรอบสถานีในระยะ 5 กิโลเมตรให้มีรายได้และความสุขเพิ่มขึ้น ซึ่งจำนวนผู้คนที่จะได้รับสิ่งเหล่านี้ต้องมี 15,000 คน/ครัวเรือนขึ้นไป
นอกจากชุมชนแล้ว OR วางเป้าจะกระจายรายได้ให้กับประชาชน (Economic Prosperity) ให้ได้อย่างน้อย หนึ่งล้านคน รวมไปถึงจะต้องสร้าง Healthy Environment ให้กับสถานีและโลกด้วยเช่น การจัดการขยะภายในร้านของพาร์ทเนอร์ (Waste) และการส่งต่ออากาศดี ๆ ให้สังคม (Low Carbon)
ด้านสิ่งแวดล้อม
นอกจากจะสร้างความสุขให้ชุมชนที่อยู่ในรอบบริเวณ 5 กิโลเมตรแล้ว ด้านสิ่งแวดล้อมก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยทาง OR จะเน้นเสริมด้านการเข้าถึงพลังงานสะอาดมากขึ้น โดยจะมีศูนย์ Bio Hub เช่น Amazon ที่จะให้มีการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) มีการติดตั้งถังขยะรีไซเคิลเพื่อนำวัสดุเหลือใช้มา Upcycle
ภารกิจที่ต้องทำหลัก
แน่นอนว่า OR จะต้องเป็นไปตามตลาดโลกเสนอ โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังก้าวเข้ามาเรื่อย ๆ ดังนั้น OR จึงต้องเอื้อเฟื้อความสะดวกใหกับสังคมและประชาชนโดยจะต้องเป็นผู้นำด้าน EV ซึ่งจะมีการติดตั้งหัวชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (Charging Station) เพิ่มอีก 7,000 หัวทั่วประเทศไทย
และนอกจากจะเพิ่มสถานีชาร์จแล้ว จะเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันแบบ One Stop Service ที่จะมีทั้งเรื่องของ Mobil Lifestyles Healthy และอื่น ๆ ให้ประชาชนได้ใช้งาน เรียกได้ว่าการเปลี่ยนผ่านจากออนไลน์เป็นออฟไลน์นั่นเอง
และแน่นอนว่าตลอดระยะเวลาทำงานในด้านเป้าการเพิ่มพาร์ทเนอร์นั้น จะมีการศึกษาดูงาน ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของพาร์ทเนอร์ควบคู่ไปด้วย และต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างสังคมความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วย (Carbon Neutrality)
และการปิดท้าย นายดิษทัตเน้นย้ำว่า ตนเชื่อมั่นในองค์กรว่ามีความแข็งแกร่งมากพอในตลาดการแข่งขันที่จะดุเดือดมายิ่งขึ้น และในฐานะที่เข้ามาใหม่แน่นอนว่าจะทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีก OR จะต้องเติบโตแบบก้าวกระโดดและมั่นคงให้ได้ภายในปี 2030 ตามเป้าที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้