svasdssvasds

เพราะ..โลกบอบช้ำ! จึงต้องมีวัน 22 เมษายน “วันคุ้มครองโลก”

เพราะ..โลกบอบช้ำ! จึงต้องมีวัน 22 เมษายน “วันคุ้มครองโลก”

22 เมษายน ของทุกปี คือ “วันคุ้มครองโลก” วันนี้สำคัญอย่างไร เพราะโลกของเราบอบช้ำเหลือเกิน หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาตอนนี้ในวันที่ (ยัง) ไม่สายเกินกว่าแก้

SHORT CUT

  • Climate change ทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหานี้อย่างหนัก รวมถึงประเทศไทยก็เผชิญปัญหานี้เช่นกัน ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม ฝนตกหนัก ภัยพิบัติมากมายมหาศาล
  • ด้วยเหตุนี้จึงทำให้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กำหนดให้เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • สหภาพยุโรป (EU) เน้นย้ำถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นว่าเป้าหมายของนานาชาติในการจำกัดภาวะโลกร้อนภายในปี 2100 ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (2.7 องศาฟาเรนไฮต์) เมื่อเทียบกับระดับยุคก่อนอุตสาหกรรมนั้นกำลังเป็นไปได้ยากทุกที

22 เมษายน ของทุกปี คือ “วันคุ้มครองโลก” วันนี้สำคัญอย่างไร เพราะโลกของเราบอบช้ำเหลือเกิน หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาตอนนี้ในวันที่ (ยัง) ไม่สายเกินกว่าแก้

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate change ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหานี้อย่างหนัก รวมถึงประเทศไทยก็เผชิญปัญหานี้เช่นกัน ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม ฝนตกหนัก ภัยพิบัติมากมายมหาศาล ล่าสุดต้องพบเจอกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ได้รับความเสียหายมากพอสมควร หรือนี่จะเป็นสัญญาณเตือนจากโลกของเราไม่ไหวแล้วจริงๆ หลายประเทศเผชิญหิมะตกหนัก บางประเทศน้ำแข็งขั้วโลกละลาย บางประเทศแห้งแล้งขาดแคลนน้ำ ซึ่งผลกระทบเหล่านั้นสร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน

โดยล่าสุดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในเดือนมีนาคมสูงกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.6 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเป้าหมายระดับนานาชาติในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังหลุดลอยไปข้อมูลจากรายงานประจำเดือนของโครงการบริการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus Climate Change Service : C3S) ของสหภาพยุโรป (EU) เน้นย้ำถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นว่าเป้าหมายของนานาชาติในการจำกัดภาวะโลกร้อนภายในปี 2100 ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (2.7 องศาฟาเรนไฮต์) เมื่อเทียบกับระดับยุคก่อนอุตสาหกรรมนั้นกำลังเป็นไปได้ยากทุกที

นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ทุก ๆ เศษเสี่ยวขององศาที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงและความถี่ของภัยธรรมชาต่าง ๆ เช่น คลื่นความร้อน ฝนตกหนักและภัยแล้งยุโรปเผชิญทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งในเดือนเดียวโดย “ซาแมนธา เบอร์เจส” (Samantha Burgess) หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ของศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางของยุโรป (ECMWF) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ C3S ระบุว่า หลายพื้นที่ของยุโรปประสบกับสภาพอากาศเลวร้ายสุดขั้ว ทั้งฝนตกหนักและภัยแล้งในเดือนมีนาคม

“เบอร์เจส” ระบุว่า “เมื่อเดือนที่แล้ว หลายพื้นที่ในยุโรปเผชิญกับเดือนมีนาคมที่แห้งแล้งที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่บางพื้นที่กลับมีฝนตกหนักทุบสถิติในรอบ 47 ปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลทำให้คลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมทั่วเอเชียกลางทวีความรุนแรงขึ้น และกระตุ้นให้เกิดฝนตกหนักในบางประเทศ อย่าง อาร์เจนตินา

C3S ระบุว่า น้ำแข็งทะเลอาร์กติกเดือนมีนาคมยังลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จากการเก็บข้อมูลดาวเทียมในช่วงเดือนมีนาคมตลอดระยะเวลา 47 ปีที่ผ่านมา และเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่ทำลายสถิติต่ำสุด

อย่างไรก็ตามหน่วยงานเฝ้าระวังของสหภาพยุโรปแห่งนี้ใช้ข้อมูลนับพันล้านรายการจากดาวเทียม เรือ เครื่องบินและสถานีตรวจอากาศทั่วโลก เพื่อช่วยในการวิเคราะห์คำนวณสภาพภูมิอากาศ โดยมีข้อมูลย้อนกลัยไปถึงปี 1940

นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ ระบุว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจะทวีความรุนแรงขึ้น แต่ในบางประเทศ เจตจำนงทางการเมืองในการแก้ไขปัญหากลับลดลง

ด้าน “ฟรีเดอริก อ็อตโต” (Friederike Otto) จากสถาบันแกรนธัมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Grantham Institute – Climate Change and the Environment) แห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอนของอังกฤษให้สัมภาษณ์กับ AFP โดยระบุว่า โลกในตอนนี้กำลังตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์อย่างเต็มตัว และการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกยังคงอยู่ที่ 1.6 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมนั้นถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจจริงๆ

ขณะที่ ดร. จิม ครอนสตัด นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย อธิบายว่า ในความเป็นจริงแล้วเชื้อราคอร์ดิเซปไม่สามารถปรับตัวจากการติดเชื้อในแมลงสู่มนุษย์ เพราะอุณหภูมิร่างกายที่อบอุ่นและภูมิคุ้มกันของเราทำให้เชื้อราเหล่านี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ ขณะที่เนื้อหาของซีรีส์ได้ตั้งทฤษฎีว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ" ได้ทำให้เชื้อราบางชนิดอาจปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอดในสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้น ซึ่งทำให้เชื้อรามีโอกาสแพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง มีหนึ่งในเชื้อราที่แพร่ระบาดมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่จริง เช่น ไข้หุบเขาที่เกิดจากเชื้อรา Coccidioides ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ร้อนและแห้งแล้งอย่างพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และหากมนุษย์สูดดมเข้าไปก็จะมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ที่อาจรุนแรงได้

โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นและภัยแล้งที่ยาวนานกำลังมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายที่เพิ่มขึ้นของเชื้อราชนิดนี้ การศึกษาล่าสุดยังพบข้อมูลที่น่าเป็นกังวลว่า เมื่อสภาพอากาศอบอุ่นขึ้น เชื้อราอาจอพยพไปยังพื้นที่ใหม่ ทำให้จำนวนคนที่เสี่ยงภัยเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาใหม่ที่ได้รับการตีพิม์ลงในวารสาร Nature Climate Change ระบุว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นในออสเตรเลียกำลังส่งผลกระทบต่อสภาพการใช้ชีวิตและการทำงาน และเมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเลวร้ายยิ่งขึ้น ความท้าทายนี้อาจเพิ่มภาระของโรคทางจิตใจและพฤติกรรม (Mental and Behavioral Disorders :  MBDs) ให้รุนแรงขึ้น

จากข้อมูลเบื้องต้นทำให้เห็นได้ว่าโลกของเราบอบช้ำเหลือเกิน ทั้งโลกร้อน โลกรวน บางพื้นที่ฝนตกหนัก หิมะถล่ม น้ำท่วม แห้งแล้ง มีครบทุกรสชาติ จึงไม่แปลกใจที่จะมี วันคุ้มครองโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

related