svasdssvasds

รัฐทุ่ม 370 ล้าน รับมือ “ภัยพิบัติ” ดินสไลด์-น้ำท่วม-แผ่นดินไหว

รัฐทุ่ม 370 ล้าน รับมือ “ภัยพิบัติ” ดินสไลด์-น้ำท่วม-แผ่นดินไหว

รัฐบาล เตรียมทุ่มงบประมาณกลางกว่า 370 ล้านบาท รับมือ “ภัยพิบัติ” ทุกรูปแบบทั้ง ดินสไลด์-น้ำท่วม-แผ่นดินไหว หลังแผ่นดินไหวใหญ่

SHORT CUT

  • เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาทำให้ไทยมีบทเรียนราคาแพงอย่างมาก ทั้งเครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆในการตรวจวัด การเฝ้าระวัง การแจ้งเตือน การอพยพ การแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับรู้ทันที
  • ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ รัฐบาล เตรียมทุ่มงบประมาณกลางกว่า  370 ล้านบาท รับมือ “ภัยพิบัติ” ทุกรูปแบบทั้ง ดินสไลด์-น้ำท่วม-แผ่นดินไหว หลังแผ่นดินไหวใหญ่
  • ข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานว่า ปัจจุบันไทยเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติมาก รองจากอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

รัฐบาล เตรียมทุ่มงบประมาณกลางกว่า 370 ล้านบาท รับมือ “ภัยพิบัติ” ทุกรูปแบบทั้ง ดินสไลด์-น้ำท่วม-แผ่นดินไหว หลังแผ่นดินไหวใหญ่

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาทำให้ไทยมีบทเรียนราคาแพงอย่างมาก ทั้งเครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆในการตรวจวัด การเฝ้าระวัง การแจ้งเตือน การอพยพ การแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับรู้ทันที ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายฝ่ายต้องเดินหน้าในเรื่องเหล่านี้แบบเร่งด่วน ล่าสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดย กรมทรัพยากรธรณี จัดงานเสวนาวิชาการ “โลกเดือด แผ่นดินขยับ: อยู่กับความเสี่ยงอย่างไร ให้ปลอดภัยอย่างยั่งยืน” มี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานเสวนา

โดย ดร.เฉลิมชัย กล่าวว่า การเสวนาดังกล่าวเป็นการระดมความคิดจากผู้ที่เชี่ยวชาญมีความรู้ในเรื่อง แผ่นดินไหว และการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก เพื่อที่จะมาดูว่าจะมีมาตรการในการรับมือในอนาคตอย่างไรบ้าง การเตรียมความพร้อมที่จะรับมือแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการนำบทเรียนที่ผ่านมามาเป็นโจทย์ในการแก้ไขปัญหา การตั้งศูนย์การในการดำเนินการจะเป็นแนวทางในการนำเสนอที่ดีซึ่งรัฐบาลให้หาแนวทางเพื่อนำไปปฏิบัติในวันข้างหน้าเพื่อรับมือให้ทันสถานการณ์

รัฐทุ่ม 370 ล้าน รับมือ “ภัยพิบัติ” ดินสไลด์-น้ำท่วม-แผ่นดินไหว

ทั้งเรื่องการป้องกัน การกู้ภัย ที่จะต้องทำให้เป็นระบบทั้งหมด และในวันนี้จะมีการเสนอการของบประมาณกลางวงเงิน 370 ล้านบาท ของกรมทรัพยากรธรณี เพื่อเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบ โดยก่อนนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการเซ็นต์อนุมัติให้เรียบร้อยแล้ว สำกรับงบดังกล่าวจะครอบคลุมถึงพิบัติทั้งหมด เช่น แผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม เป็นการเตรียมเครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมีการติดตั้งเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง จะป้องกัน และเฝ้าระวังทุกรอยเลื่อนที่มีโอกาสทำให้แผ่นดินไหว ซึ่งปัจจุบันโอกาสความเป็นไปได้ของแต่ละรอยเลื่อนไม่เท่ากัน

ด้าน นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) เปิดเผยว่า งบกลางที่นายกเห็นชอบ เริ่มจากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี2567  ที่ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย เกิดจากฝนตก และรอยเลื่อนเล็กๆ ความอ่อนตัวของดินสไลด์ลงมา ปัจุบันพื้นที่เสี่ยงเหล่านี้มี 600-700 จุดทั่วประเทศ แต่กรมฯสามารถเตือนภัยให้พี่น้องประชาชนได้บางส่วน ซึ่งมีเครื่องมือเตือนภัยมีอยู่แล้วบางส่วน แต่จำเป็นต้องของงบกลางเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รัฐทุ่ม 370 ล้าน รับมือ “ภัยพิบัติ” ดินสไลด์-น้ำท่วม-แผ่นดินไหว

“เรื่องดินโคลนถล่ม ครอบคลุมทั้งหมด เครื่องมือต่างๆควรมี เช่น เครื่องมือวัดต่างๆ การวัดความอ่อนไหวของดิน ที่สามารถรับรู้ไปได้ถึงแผ่นดินไหว และวัดความลาดชัน ฝนที่ตกหนักเกินเครื่องมือจะแจ้งเตือนภัยให้พี่น้องประชาชนได้อพยพได้ ซึ่งพื้นที่เสี่ยงมากสุด คือ ภาคเหนือ รองลงมา คือภาคใต้ จำเป็นต้องฝึกอบรมในพื้นที่เสี่ยงด้วยให้ประชาชนมีความรู้”

อย่างไรก็ตามมองว่า เรื่องสำคัญสุดในขณะนี้ คือการสร้างการรับรู้ให้พี่น้องประชาชน หากมีเครื่องมือตรวจวัดครบ ก็ต้องมีความจำเป็นที่ต้องเข้าไปพูดคุยกับพี่น้องในพื้นที่เสี่ยงด้วย ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์

ข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานว่า ปัจจุบันไทยเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติมาก รองจากอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เสี่ยงที่จะเกิด น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม พายุ  สึนามิ แต่มากที่สุดคือเรื่องของน้ำท่วม โดยไทยมีพิบัติทุกประเภทรวมกันที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 6 %

นอกจากนี้มีรายงานอีกว่า อาเซียนมีความเสี่ยง และซับซ้อนเรื่องภัยพิบัติมาก ดินที่ผ่านการใช้งานมานานมาก เรื่องของความลาดชันสำคัญที่สุดคือเกิดการกระตุ้นจากฝนตกหนัก ทำให้เกิดปัญหา ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปเตือนประชาชนในพื้นที่ได้ สำหรับในไทยเดิมเมื่อปี 2546 ไทยมีพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ 4,444 แห่ง ปัจจุบันเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว หลังใช้เทคโนโลยีเข้าไปสำรวจเพิ่มเติม

สำหรับแผนรับมืออื่นๆ ต้องมีความเข้มงวดขึ้น ทำอย่างไรให้ประชาชนได้รู้สถานการณ์ที่เร็วขึ้นทุกเรื่อง เช่นต่างประเทศสามารถแจ้งเตือนว่าข้างหน้าเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นเราต้องหารือร่วมกัน พร้อมเร่งดำเนินการให้ประชาชนปลอดภัย มั่นใจ รู้สถานการณ์ได้เร็ว และเลือกไปอยู่ที่จุดที่ปลอดภัย  ลดความเสียหายให้ได้ การสร้างรับรู้ เตือนภัย สร้างระบบให้เกิดในวงการศึกษา ให้รู้ว่าโลกเกิดพิบัติภัย

ข่าววที่เกี่ยวข้อง

 

related