svasdssvasds

เปิดเส้นทาง "แม่น้ำสายหลัก" จากเหนือปลายทางอ่าวไทย เช็กปริมาณน้ำช่วงนี้

เปิดเส้นทาง "แม่น้ำสายหลัก" จากเหนือปลายทางอ่าวไทย เช็กปริมาณน้ำช่วงนี้

น้ำท่วมปี2567 ต้องบอกว่าหนักจริง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ภาคที่ถือว่าเป็นต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น ปิง วัง ยม น่าน ไหลมาสู่ภาคกลาง วันนี้พาเปิดเส้นทาง "แม่น้ำสายหลัก" จากเหนือปลายทางอ่าวไทย พร้อมเช็กปริมาณน้ำช่วงนี้เป็นอย่างไร

SHORT CUT

  • ต้องยอมรับว่าปีนี้บ้านเราน้ำท่าเยอะจริงๆ ฝนตกฉ่ำๆ ทำให้แม่น้ำสายหลักๆของภาคเหนือไหลท่วมหลายพื้นที่ และไหลลงมายังพื้นที่ภาคกลาง
  • ก่อนหน้านี้ แพร่ น่าน เชียงราย สุโขทัย ลำปาง รวมถึงจังหวัดท้ายน้ำ ได้ถูกน้ำท่วมอย่างหนักในรอบหลาย 10 ปี ล่าสุดเป็นคิวของจังหวัดเชียงใหม่
  • จะพาเปิดเส้นทางแม่น้ำสายหลัก จากเหนือปลายทางอ่าวไทย ปริมาณน้ำช่วงนี้เป็นอย่างไร?

น้ำท่วมปี2567 ต้องบอกว่าหนักจริง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ภาคที่ถือว่าเป็นต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น ปิง วัง ยม น่าน ไหลมาสู่ภาคกลาง วันนี้พาเปิดเส้นทาง "แม่น้ำสายหลัก" จากเหนือปลายทางอ่าวไทย พร้อมเช็กปริมาณน้ำช่วงนี้เป็นอย่างไร

ปีนี้ต้องยอมรับว่าบ้านเราน้ำท่าเยอะจริงๆ ฝนตกฉ่ำๆ ทำให้แม่น้ำสายหลักๆของภาคเหนือไหลท่วมหลายพื้นที่ และไหลลงมายังพื้นที่ภาคกลาง โดยก่อนหน้านี้ แพร่ น่าน เชียงราย สุโขทัย ลำปาง รวมถึงจังหวัดท้ายน้ำ ได้ถูกน้ำท่วมอย่างหนักในรอบหลาย 10 ปี ล่าสุดเป็นคิวของจังหวัดเชียงใหม่ แม่น้ำปิงเข้าท่วมพื้นที่เขตเมือง พื้นที่เศรษฐกิจสร้างมูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท

ล่าสุดสถานการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่เริ่มกับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วชาวบ้านและผู้ประกอบการใน ต.ช้างคลาน เริ่มสำรวจความเสียหาย จากจังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นคิวของจังหวัดปริมณฑล และกทม. ล่าสุดวันนี้ (8 ต.ค. 67) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายวิศณุ  ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารจากสำนักการระบายน้ำ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมสำรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนความเรียบร้อยของคันกั้นน้ำและจุดฟันหลอย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์

ทั้งนี้กรุงเทพมหานครก็ได้เตรียมแผนแบบไม่ประมาทมีการเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมตลอดเวลา และจะเฝ้าระวังเป็นพิเศษในวันที่ 20 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นช่วงที่จะมีน้ำทะเลหนุนสูง ในส่วนของ 16 ชุมชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ กรุงเทพมหานครได้มีการเตรียมความพร้อมด้านเจ้าหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาไว้ด้วยแล้ว ให้ 7 เขต 16 จุด 731 หลังคาเรือน นอกคันกั้นน้ำ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้ระมัดระวัง

ขณะที่ กรมอุตุฯ เตือนไทยฝนเพิ่มฝนตกหนักภาคกลาง ตะวันออก รวม กทม. 9 – 13 ต.ค. ขณะที่ สทนช. เตือนให้เฝ้าระวัง น้ำทะเลหนุนสูง 13 – 24 ต.ค. 67 กระทบ 7 จังหวัด ย้ำ คนกรุงเทพ รับมือน้ำท่วม เสี่ยงสุด มวลน้ำหลากตอนบนไหลสมทบ พื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง เสี่ยงท่วมขั้นสุด

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์น้ำท่าบ้านเรายังไม่ค่อยสู้ดีนัก วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปเช็กดูปริมาณน้ำตามเขื่อนใหญ่ภาคเหนือ ภาคกลาง และแม่น้ำสำคัญหลายสายที่มีผลต่อพื้นที่เมืองหลวง โดยเขื่อนสำคัญๆมีดังนี้

และเขื่อนกั้นน้ำสำคัญ ที่ตั้งอยู่ตามเส้นทางน้ำต่างๆ ได้แก่

  • เขื่อนภูมิพล (แม่น้ำปิง: เชียงใหม่, ลำพูน, ตาก, กำแพงเพชร, นครสวรรค์)
  • เขื่อนกิ่วคอหมา, เขื่อนกิ่วลม (แม่น้ำวัง: เชียงราย, ลำปาง, ตาก)
  • เขื่อนสิริกิต์, เขื่อนนเรศวร (แม่น้ำน่าน: น่าน, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, พิจิตร, นครสวรรค์)
  • เขื่อนแควน้อย (แม่น้ำแควน้อย: กาญจนบุรี, พิษณุโลก)
  • เขื่อนทับเสลา (แม่น้ำสแกกรัง: นครสวรรค์, กำแพงเพชร, อุทัยธานี)
  • เขื่อนเจ้าพระยา (แม่น้ำเจ้าพระยา: นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ)
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (แม่น้ำป่าสัก เลย, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, สระบุรี, พระนครศรีอยุธยา)

เปิดเส้นทาง \"แม่น้ำสายหลัก\" จากเหนือปลายทางอ่าวไทย เช็กปริมาณน้ำช่วงนี้

หากโฟกัสเฉพาะเขื่อนใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล ข้อมูลล่าสุดยังรองรับน้ำได้ 4,141 ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ ยังรองรับน้ำได้อีก 590 ลบ.ม. เขื่อนเจ้าพระยาปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,199 ลบ.ม./วินาที (07.00 น.8 ต.ค.67) เขื่อนแควน้อย ยังรองรับน้ำได้อีก 201 ลบ.ม. และสถานีวัดน้ำ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธนา ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,990 ลบ.ม./วินาที

หน้าฝนยังไม่จบ "ลานีญา" ยังเล่นงานไทยต่อเนื่อง ดังนั้นสถานการณ์น้ำท่วมบ้านเราก็ยังคงเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

related