SHORT CUT
หลายจังหวัดริมแม่น้ำโขงในภาคอีสานกำลังได้รับผลกระทบจากน้ำโขงล้นตลิ่ง และท่วมบ้านเรือนประชาชนสร้างความเสียหายจำนวนมาก คุณรู้หรือไม่ว่าแม่น้ำโขงไหลผ่านทั้งหมด 6 ประเทศ มี 24 เขื่อนบนแม่น้ำโขง
นาทีนี้ต้องลุ้นระทึกอย่างมากกับสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ และอีสาน รวมไปจนถึงภาคใต้บางจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำโขงในภาคอีสานหลายจังหวัดได้รับผลกระทบจากน้ำโขงล้นตลิ่ง และท่วมบ้านเรือนประชาชนสร้างความเสียหายจำนวนมาก คุณรู้หรือไม่ว่าแม่น้ำโขงไหลผ่านทั้งหมด 6 ประเทศ คือ จีน ไทย ลาว เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม ความยาวเกือบ 5,000 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดมาจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะบริเวณที่ราบสูงทิเบตในบริเวณตอนเหนือของเขตปกครองตนเองทิเบตและบริเวณมณฑลชิงไห่ของประเทศจีน ผ่านมณฑลยูนนานเข้าสู่ประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว และประเทศไทย บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
จากนั้นไหลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศลาว ผ่านจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เป็นระยะทาง 1,520 กิโลเมตร แล้วไหลเข้าสู่ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม รวมความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รับน้ำในลุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 496.875 ล้านไร่ วันนี้น้ำโขงมีปริมาณที่สูงขึ้น เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่ามีเขื่อนกี่แห่ง ทั้งที่กำลังสร้าง และแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และที่อยู่ในแผนว่าจะมีการก่อสร้าง ทั้งหมดกี่แห่ง
#สปริงนิวส์ หาข้อมูลจาก ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า เขื่อนในแม่น้ำโขงมีทั้งสิ้น 24 เขื่อนบนแม่น้ำโขง ที่มีผลต่อปริมาณน้ำ 6 ประเทศ ดังนี้
*บางโครงการแล้วเสร็จ บางโครงการกำลังก่อสร้าง บางโครงการอยู่ในแผน
จากสถานการณ์น้ำโขงที่เอ่อท่วมบ้านเรือน ย่านการค้าในหลายจังหวัดภาคอีสานของประเทศที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน ล่าสุด โฆษกสถานทูตจีนประจำประเทศไทยชี้แจงว่า จีนไม่ได้ปล่อยน้ำลงแม่น้ำโขงเมื่อเร็วๆ นี้เมื่อวันที่ 15 กันยายน ที่ผ่านมา มีสื่อรายงานอีกทีว่า จีนกำลังปล่อยน้ำลงแม่น้ำโขง หลังจากสอบถามกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจีน สถานทูตจีนประจำประเทศไทยชี้แจงอีกครั้งว่า ด้วยเหตุที่ช่วยเหลือการรับมือน้ำท่วมของลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในเมื่อเร็วๆ นี้
โดยจีนได้ควบคุมและลดลงปริมาณการไหลออกของสถานีไฟฟ้าพลังน้ำจิ่งหงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างแรงกดดันต่อการต่อสู้น้ำท่วมและการกู้ภัยของลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง จีนยินดีที่จะเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงต่อไป ร่วมกันรับมือกับผลกระทบจากสภาพอากาศสุดขั้ว
ขณะเดียวกันจีนก็ได้มีการแถลงว่าตามข้อมูลที่จัดทำโดยบริษัท ไฟฟ้าพลังน้ำแม่น้ำ Huaneng Lancang เนื่องจากผลกระทบของสภาพอากาศสุดขั้ว ฤดูน้ำท่วมหลักของลุ่มน้ำ Lancang ทำให้ระดับน้ำลดลงอย่างมากมากกว่า 40% นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม ได้รับอิทธิพลจากพายุไต้ฝุ่น "ยากิ" ฝนตกหนักต่อเนื่องเกิดขึ้นในบริเวณต้นน้ำตอนล่างของแม่น้ำล้านช้างและลุ่มน้ำโขงตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน ส่งผลให้ความกดดันในการควบคุมน้ำท่วมบริเวณแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ทั้งนี้เพื่อยกระดับบทบาทด้านกฎระเบียบของอ่างเก็บน้ำน้ำตก Lancang River และลดแรงกดดันในการควบคุมน้ำท่วมบริเวณปลายน้ำ ปริมาณการผลิตไฟฟ้าของสถานีไฟฟ้าพลังน้ำ Jinghong จึงลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามของกำลังการผลิตติดตั้งที่ได้รับการจัดอันดับ การไหลออกลดลงจาก 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ณ ต้นเดือนกันยายน เหลือ 1,060 เมตรต่อวินาที ซึ่งลดลง 70% เมื่อเทียบกับการไหลเฉลี่ยหลายปีจากการคาดการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาและการไหลเข้าของแม่น้ำหลานชางที่คาดการณ์ไว้ สถานีไฟฟ้าพลังน้ำจิ่งหงจะไม่ปล่อยน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น และคาดว่าการไหลออกจะยังคงอยู่ในระดับปัจจุบัน
ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าสถานการณ์น้ำโขงจะเป็นอย่างไร และประชาชนหลายประเทศจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง