svasdssvasds

"โลกรวน"ทำเศรษฐกิจเสียหาย! 83,826 ล้านบาท/ปี คนเสี่ยงอดอยาก ขาดสารอาหาร

"โลกรวน"ทำเศรษฐกิจเสียหาย! 83,826 ล้านบาท/ปี คนเสี่ยงอดอยาก ขาดสารอาหาร

รู้หรือไม่ว่า? โลกรวน โลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างความเสียหายให้เศรษฐกิจไทยประมาณ 83,826 ล้านบาท/ปี แถมยังคนเสี่ยงอดอยาก ขาดสารอาหาร มากขึ้นด้วย

SHORT CUT

  • ไทยก็เช่นกัน ปี2567 เจอโลกร้อนแผลงฤทธิ์หลายประเทศร้อน มาหนักมาเต็มทั้งร้อนจัด แล้งจัด พายุเข้า ฝนตกชุก น้ำท่วม
  • ทราบมั้ยว่า? โลกรวน โลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างความเสียหายให้เศรษฐกิจไทยประมาณ 83,826 ล้านบาท/ปี
  • ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบที่ตามมาของสภาพภูมิอากาศสุดขั้วคือ ความอดอยาก การขาดสารอาหาร ความเสียหายต่อการประมง การเพาะปลูก และปศุสัตว์

รู้หรือไม่ว่า? โลกรวน โลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างความเสียหายให้เศรษฐกิจไทยประมาณ 83,826 ล้านบาท/ปี แถมยังคนเสี่ยงอดอยาก ขาดสารอาหาร มากขึ้นด้วย

โลกรวน คือ ปัญหาที่หลายประเทศหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยจริงๆ อย่างประเทศไทยก็เช่นกัน ปี2567 ปีนี้เจอโลกรวนแผลงฤทธิ์มากมาย มาหนักมาเต็มทั้งร้อนจัด แล้งจัด พายุเข้า ฝนตกชุก น้ำท่วม และอนาคตก็ยังไม่รู้จะเสี่ยงต่อเจออะไรอีก แน่นอนว่าโลกรวน โลกเดือด ไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ และชีวิตผู้คนบนโลกใบนี้

โดยข้อมูลจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) เผยว่า สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงกระทบมูลค่าถึง 83,826 ล้านบาทต่อปี การสะสมของก๊าซเรือนกระจกไม่เพียงก่อให้เกิดสภาพอากาศรุนแรงอันส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์และธรรมชาติ แต่ยังนำไปสู่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล

ด้านสภาพอากาศรุนแรง เกือบทุกพื้นที่ในประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้เสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลันและภัยธรรมชาติที่จะเกิดจากอุทกภัยอีกหลายชนิด น้ำทะเลร้อนและสูงขึ้นเป็นภัยต่อชุมชนชายฝั่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เสี่ยงกระทบจากภัยแล้งสูงกว่าภาคอื่น  ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบที่ตามมาของสภาพภูมิอากาศสุดขั้วคือ ความอดอยาก การขาดสารอาหาร ความเสียหายต่อการประมง การเพาะปลูก และปศุสัตว์

ด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 23% ของพื้นที่ชายฝั่งเผชิญวิกฤตการถูกกัดเซาะและสูญเสียพื้นที่จากการถูกกัดเซาะ 1-5 เมตรต่อปี ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 6,000 ล้านบาท ในด้านเกษตรกรรม โลกร้อนกระทบการเพาะปลูกโดยตรงเพราะความร้อนและปริมาณน้ำฝนที่ผันผวนทำให้ดินในการเพาะปลูกพืชสมบูรณ์น้อยลง

และน้ำไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย เช่น มันสำปะหลังเน่าเสียจากปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไป อ้อยขาดน้ำจากหน้าแล้งยาวนานขึ้น นอกจากนี้ปศุสัตว์เองก็ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ การเติบโต และการเพาะพันธุ์ เช่น อากาศร้อนทำให้หมูเครียด และเจริญพันธุ์น้อยลง โดยระหว่างปี พ.ศ. 2554-2588 ผลกระทบสะสมต่อภาคเกษตรสามารถสร้างความเสียหายรวมเป็นมูลค่ารวมสูง 17,912 ถึง 83,826 ล้านบาทต่อปี

สำหรับก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 60% เกิดจากภาคพลังงาน จากข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย* ปี พ.ศ. 2561 ที่คำนวณจาก 5 ภาคส่วน**  พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากภาคพลังงาน 69.06% ภาคเกษตรกรรม 15.69% ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ 10.77% และภาคของเสีย 4.88% และภาคเกษตรมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำเกษตรกรรม 77.57% และจากปศุสัตว์ 22.43% ส่วนภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์เกินครึ่ง คือกว่า 51.28%

อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้จัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบันทึกปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนำมาใช้เป็นข้อมูลแบบต่อเนื่องเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตและเสนอต่อสหประชาชาติภายใต้พันธกิจของประเทศไทยในฐานะภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (UNFCCC)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related