SHORT CUT
เอลนีโญกําลังอ่อนลง แล้ว…‘ลานีญา’ กำลังเข้ามาเยือนประเทศไทย แต่ตอนน้ำมากเราควรหาวิธีเก็บกัก เราจะควรเก็บน้ำไว้ใช้ตอนแล้ง กันยังไง? แล้ว ‘ลานีญา’ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจยังไงบ้าง!
เอลนีโญกําลังอ่อนลง ‘ลานีญา’ กำลังเข้ามาเยือนประเทศไทย โดย กรมอุตุนิยมวิทยา เผยข้อมูลสถานการณ์เอลนีโญ ว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสภาวะเอลนีโญกําลังอ่อน ทำให้ประเทศไทยมีแนวโน้มอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ในขณะที่ปริมาณฝนใกล้เคียงค่าปกติ ทั้งนี้คาดว่า ปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะเอลนีโญกําลังอ่อนนี้จะอ่อนลงและเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเม.ย. ถึง มิ.ย.2567 จากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 60 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือน มิ.ย.ถึง ส.ค. 2567
สอดคล้องกับ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ NOAA ระบุว่า ในขณะนี้เอลนีโญกำลังอ่อนตัวลง และจะเข้าสู่ยุคของ “ลานีญา” ภายในเดือนสิงหาคม 2567 แล้วหลายคในยังสงสัยว่า
ข้อมูลของ กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า “ลานีญา” (La Niña) เป็นคำที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ธรรมชาติทางสมุทรศาสตร์ที่ตรงข้ามกับกับเอลนีโญ กล่าวคือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ำกว่าปรกติ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากขึ้น จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากกว่าเดิม ทำให้บริเวณดังกล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 – 12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี
ข้อมูลจาก NOAA ได้ระบุไว้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสภาพภูมิอากาศจากปรากฏการณ์ลานีญา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และ เดือนมิถุนายน-สิงหาคม โดยในแต่ละภูมิภาคของโลกจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย คาบสมุทรมลายูและอินโดจีน จะมีภูมิอากาศร้อนชื้น ส่วนแอฟริกากลางฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกชุก ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก รัฐอลาสกาและแคนาดาฝั่งตะวันตก รวมถึงทางตอนใต้ของออสเตรเลียจะมีอากาศร้อน
ขณะที่ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ลานีญาจะสร้างผลกระทบต่อกลุ่มประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก ในทวีปเอเชีย โอเซียเนีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้
ขณะที่ LMC International ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจด้านสินค้าโภคภัณฑ์วิเคราะห์ว่าหากเกิดลานีญาในครึ่งปีหลัง จะทำให้เกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแม้จะดีต่อผลผลิตน้ำมันปาล์มแต่จะเป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยเฉพาะในช่วงปลายไตรมาส 3 จนถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงที่มีผลผลิตมากที่สุด ทั้งนี้อุปทานที่ลดลงจะเป็นหนึ่งในปัจจัยทำให้ราคาปาล์มน้ำมันมีโอกาสแตะ 700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ราคาเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 614 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
สำหรับลานีญาอาจทำให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์เกษตรต้องเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ลานีญา ยังเสี่ยงต่อกระทบกับอุตสาหกรรมยางพาราไทย ถ้าฝนตกในปริมาณมาก อย่างเช่นบทเรียนเมื่อปี 2565 ภาคใต้ได้เกิดภาวะลานีญา ทำน้ำฝนมากกว่าปกติประมาณ 25 % โดยตั้งแต่เดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน จากฝนตกในพื้นที่ต่อเนื่องแทบทุกวัน ทำให้ชาวสวนไม่สามารถออกไปกรีดยางได้มาประมาณ 2 เดือนเต็มแถมน้ำยางยังเสี่ยงต่อการถูกน้ำฝนผสมลงไปอีกด้วยทำให้ไม่ได้คุณภาพ
ทั้งหมด คือ เรื่องราวของลานีญาที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ตามคาดการณ์ เห็นทีธุรกิจการเกษตรจะได้รับผลกระทบไม่น้อย แต่..ในเมื่อน้ำมาก หากใครที่สามารถหาวิธีเก็บกักไว้ได้ แล้งหน้าก็คงจะเดือดร้อนน้อย!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พร้อมยัง? ไทยรับมือ 'เอลนีโญ' สิ้น พ.ค. สู่ 'ลานีญา' ” ก.ย.จับตาผลกระทบรอยต่อ
“เอลนีโญ – ลานีญา” สอนเด็กเข้าใจพายุสองพี่น้อง กับผลกระทบโลกร้อน
น้ำท่วมออสเตรเลีย รอบที่ 4 บางจุดวิกฤตเลวร้ายที่สุดใน 70 ปี ผลพวงลานีญา