SHORT CUT
กรมอนามัยเผย มีผู้เสียชีวิตจาก "อากาศร้อนจัด" ปี 2567 แล้ว 38 ราย พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จับตา 4-6 พ.ค. คาดดัชนีความร้อนระดับอันตรายมาก 12 จังหวัด
สถานการณ์อากาศร้อนในเดือนเมษายน เข้าสู่เดือนพฤษภาคมของประเทศไทย พบว่าบางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส และจากการเฝ้าระวังค่าดัชนีความร้อน หรือ Heat Index ของประเทศไทย ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่รู้สึกร้อนมากกว่าอุณหภูมิอากาศจริง นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เผยถึงค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ถึงปัจจุบัน พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับอันตรายมาก (สีแดง) หรือมากกว่า 52 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ส่งจะผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดเจ็บป่วยจากความร้อน โดยอาการที่พบได้บ่อยในช่วงอากาศร้อน ได้แก่ ผื่น ตะคริว ลมแดด เพลียแดด และฮีทสโตรกได้ โดยเฉพาะฮีทสโตรก ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรงที่สุดของโรคที่เกิดจากความร้อนเนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ผู้ที่ติดสุรา ผู้ที่มีภาวะทางจิตเวช ผู้โรคที่มีภาวะอ้วนและผู้ที่มีโรคประจำตัว
โดย ปี 2567 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากความร้อนแล้วกว่า 38 ราย พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ ภาคกลางและภาคตะวันตก ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว และดื่มสุราเป็นประจำ
นายแพทย์อรรถพล เผยประชาชนควรปฏิบัติตน เพื่อป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากอากาศร้อนในช่วงนี้ ดังนี้
ทั้งนี้ หลังจากสถานการณ์ความร้อนในช่วงเดือนพฤษภาคม คาดการณ์ว่าค่าดัชนีความร้อนจะมีแนวโน้มลดลง แต่ในช่วงระหว่างวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม 2567 นี้ คาดการณ์ว่าอาจจะมีบางพื้นที่มีค่าดัชนีความร้อนอยู่ในระดับอันตรายมากใน 12 จังหวัด ได้แก่ ยะลา ภูเก็ต กระบี่ ตราด ชลบุรี ปัตตานี สุราษฎร์ธานี พังงา ระยอง จันทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
จึงขอให้ประชาชน สังเกตอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมอนามัย หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากความร้อนได้”
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง