svasdssvasds

“แอมโมเนีย” อันตรายแค่ไหน หากเกิดการรั่วไหล

“แอมโมเนีย” อันตรายแค่ไหน หากเกิดการรั่วไหล

โรงงานน้ำแข็ง "ระเบิด" ที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ทำ ให้ "แอมโมเนีย" รั่วไหล ฟุ้งกระจาย บาดเจ็บมากกว่า 100 ราย สร้างความวิตกให้กับประชาชน ว่าแอมโมเนีย จะสร้างความเสียหายสุขภาพและสิ่งแวดล้อมขนาดไหน?

SHORT CUT

  • “แอมโมเนีย” สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นิยมใช้กับทางอุตสาหกรรม
  • การสูดดมแอมโมเนียที่มีความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
  • แอมโมเนียรั่วไหลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ลงแหล่งน้ำจะทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

โรงงานน้ำแข็ง "ระเบิด" ที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ทำ ให้ "แอมโมเนีย" รั่วไหล ฟุ้งกระจาย บาดเจ็บมากกว่า 100 ราย สร้างความวิตกให้กับประชาชน ว่าแอมโมเนีย จะสร้างความเสียหายสุขภาพและสิ่งแวดล้อมขนาดไหน?

จากเหตุ "ระเบิด" ใน โรงงานน้ำแข็ง ที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ทำให้ สารเคมี "แอมโมเนีย" ฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ เหล่าเจ้าหน้าที่ถึงกับพากันอพยพคนออกจากพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องและประชาชนเข้าใกล้ในระยะ 2 หลังมีผู้ได้รับผลกระทบจากการสูดดมสารแอมโมเนีย ทำให้มีอาการแสบตา แสบจมูก แน่นหน้าอก บางรายถึงขั้นหมดสติ และได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกว่า 50 คน

จากเหตุการณ์นี้ทำให้หลายคนสงสัยใถึง “แอมโมเนีย” สารเคมีที่ได้ยินกันจนคุ้นหูว่าจริงๆแล้วมันมีผลกระทบอะไรกับร่างกายมนุษย์หรือไม่

สารเคมี “แอมโมเนีย” คืออะไร

(Ammonia) แอมโมเนียเป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ประกอบด้วยไนโตรเจนและไฮโดรเจน มีสูตรเคมี NH3 สามารถละลายน้ำได้ดีมีความเป็นด่างสูง แอมโมเนียเป็นสารเคมีทางอุตสาหกรรมทั่วไป นิยมนำมาใช้งาน เช่น ในการผลิตปุ๋ย โรงงานอาหาร เพื่อใช้เป็นสารทำความเย็น และในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด รวมถึงสิ่งทอ และยา

“แอมโมเนีย” อันตรายแค่ไหน หากเกิดการรั่วไหล

“แอมโมเนียความเข้มข้นต่ำ” ยังเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ นำมาสูดดมซึ่งกลิ่นฉุนและฤทธิ์กัดกร่อนอ่อนๆ ของแอมโมเนียความเข้มข้นต่ำจะทำให้เยื่อบุในระบบทางเดินหายระคายเคืองเมื่อสูดเข้าไปในร่างกาย จึงกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาต่อการหายใจและช่วยให้ผู้ที่เป็นลมหายใจได้ดีขึ้น

หากแอมโมเนียเกิดการรั่วไหล

หากแอมโมเนียในอุตสาหกรรมรั่วไหลออกมา สิ่งสำคัญอันดับแรกคือต้องรีบอพยพออกจากพื้นที่ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ก๊าซแอมโมเนียมีความเข้มข้นสูงจะเป็นพิษ และจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ การระคายเคืองต่อดวงตา และผลกระทบต่อสุขภาพ 

อันตรายหากได้รับก๊าซแอมโมเนีย

การสูดดมก๊าซแอมโมเนียที่มีความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการไอ หายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่ และแน่นหน้าอก การได้รับสารที่มีความเข้มข้นสูงเป็นเวลานานอาจทำให้ปอดถูกทำลายและการหายใจล้มเหลว นอกจากนี้ก๊าซแอมโมเนียยังสามารถระคายเคืองและทำลายดวงตา ทำให้น้ำตาไหล ตาแดง กระจกตาไหม้ได้ และหากสัมผัสกับแอมโมเนียทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและผิวหนังอักเสบ

 

แอมโมเนียรั่วไหลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการผลิตอาหาร และยา ปุ๋ย รวมถึงอุตสาหกรรมหลายประเภทที่มีการใช้แอมโมเนียภายในโรงงาน ซึ่งการรั่วไหลแอมโมเนียมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แอมโมเนียที่มีความเข้มข้นสูงในถ้ารั่วไหลลงแหล่งน้ำจะทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ การปล่อยแอมโมเนียจากแหล่งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมสามารถทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและฝนกรดได้

“แอมโมเนีย” อันตรายแค่ไหน หากเกิดการรั่วไหล

การปฐมพยาบาลจากการได้รับก๊าซแอมโมเนีย

  • การปฐมพยาบาล การสูดดม แอมโมเนีย
  • รีบนำผู้ได้รับสัมผัสออกจากที่เกิดเหตุไปอยู่พื้นที่โล่ง เหนือลม อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ตรวจสอบการหายใจและการเต้นของหัวใจ
  • ถ้าหายใจปกติ ให้คลายเสื้อผ้าออกให้หลวม ถ้าเหงื่อออกให้เช็ดตัว ถ้ารู้สึกตัวให้ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเย็น ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจน แต่ถ้าหยุดหายใจต้องช่วยผายปอดจนกว่าจะหายใจสะดวก ห้ามใช้วิธีผายปอดด้วยวิธีเป่าปาก
  • หากหายใจเอาสารแอมโมเนียเข้าไป ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีที่ครอบให้อากาศแบบวาล์วทางเดียวหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมือบีบ

การปฐมพยาบาล “การสัมผัส” แอมโมเนียทางผิวหนัง

  • รีบถอดเสื้อผ้า และ เครื่องประดับออก
  • ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากและต่อเนื่องอย่างน้อย 15 นาที โดยให้น้ำไหลผ่าน
  • กรณีสัมผัสแอมโมเนียและมีแผลไหม้จากความเย็นจัด ให้แช่หรือประคบด้วยน้ำอุ่น พร้อมทั้งใช้ผ้าสะอาดคลุมเอาไว้บริเวณแผลไหม้ แล้วรีบไปพบแพทย์

การปฐมพยาบาล “การรับประทาน” แอมโมเนียทางปาก

  • ให้ดื่มน้ำมากๆ ห้ามล้วงคอหรือทำให้อาเจียน
  • ถ้าหมดสติให้นอนหงาย เอียงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง สังเกตการหายใจและจับชีพจรที่คอ หรือขาหนีบ ถ้าหยุดหายใจต้องทำการปั๊มหัวใจเพื่อช่วยชีวิต
  • รีบนำส่งแพทย์

การปฐมพยาบาลแอมโมเนีย “สัมผัสดวงตา”

  • ถอดคอนแทคเลนส์ออก (ถ้ามี) และสามารถทำได้อย่างปลอดภัย
  • ตะแคงเอียงหน้า แล้วล้างตาด้วยน้ำสะอาดผ่านดวงตาจำนวนมากอย่างต่อเนื่องล้างน้ำอย่างน้อย 30 นาที จากหัวตามาหางตาจนกว่าจะไม่เคืองตา
  • ห้ามขยี้ตา
  • รีบไปพบแพทย์

ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรคthai-safetywiki 

related