svasdssvasds

อุณหภูมิมหาสมุทรแปรปรวน ส่งผลฉลามขึ้นบนผิวน้ำ อพยพเข้าเขตที่อยู่มนุษย์

อุณหภูมิมหาสมุทรแปรปรวน ส่งผลฉลามขึ้นบนผิวน้ำ อพยพเข้าเขตที่อยู่มนุษย์

จากการศึกษาพบว่ามหาสมุทรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจทำให้ฉลาม ปลากระเบน และสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ หนีจากผืนน้ำที่ร้อนขึ้น อาจได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำเย็นที่เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น

SHORT CUT

  • ฉลามเปลี่ยนพฤติกรรมในการพยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น มันว่ายเข้ามาใกล้ผิวน้ำมากกว่าปกติมาก
  • ฉลามหรือสัตว์ทะเลแต่ละสายพันธุ์ บางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะอาศัยอยู่ตามขอบเขตที่มนุษย์อาศัย
  • เราจำเป็นต้องคิดถึงการขยายพื้นที่อนุรักษ์และจัดลำดับความสำคัญของสายพันธุ์ต่างๆ

จากการศึกษาพบว่ามหาสมุทรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจทำให้ฉลาม ปลากระเบน และสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ หนีจากผืนน้ำที่ร้อนขึ้น อาจได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำเย็นที่เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทรและระบบความกดอากาศที่เกิดจากการสลายตัวของสภาพอากาศ ทำให้ความรุนแรงของการเพิ่มขึ้นของน้ำ ซึ่งอาจเพิ่มความเปราะบางของสัตว์อพยพ เช่น ฉลามหัวบาตร

อุณหภูมิมหาสมุทรแปรปรวน ส่งผลฉลามขึ้นบนผิวน้ำ อพยพเข้าเขตที่อยู่มนุษย์

นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความสนใจกับเหตุการณ์การตายครั้งใหญ่ของฉลามในปี 2021 ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบและรอดชีวิตมาคือฉลามหัวบาตร และได้รับการติดแท็กด้วยดาวเทียม พวกเขาพบว่ามันติดอยู่ในน้ำซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สัตว์เขตร้อนชนิดนี้คุ้นเคย

จากรายละเอียดพบว่าฉลามเปลี่ยนพฤติกรรมในการพยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น มันว่ายเข้ามาใกล้ผิวน้ำมากกว่าปกติมากและเคลื่อนอพยพ

นักวิทยาศาสตร์ได้ติดแท็กเหล่าฉลามและใช้ข้อมูลอุณหภูมิผิวน้ำทะเล 41 ปี และบันทึกลม 33 ปี เพื่อตรวจสอบความถี่และความรุนแรงของการตายของฉลาม ความเย็นบริเวณชายฝั่งกระแสน้ำอะกุลลัสในมหาสมุทรอินเดีย และกระแสน้ำออสเตรเลียตะวันออกในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

อุณหภูมิมหาสมุทรแปรปรวน ส่งผลฉลามขึ้นบนผิวน้ำ อพยพเข้าเขตที่อยู่มนุษย์

ฉลามหัวบาตรที่ติดแท็กดูเหมือนจะเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงอุณหภูมิที่ลดลงอย่างกะทันหันโดยการว่ายน้ำเข้าใกล้ผิวน้ำมากขึ้น ซ่อนตัวในอ่าวและปากแม่น้ำ และเคลื่อนตัวเฉพาะในขอบเขตการกระจายตัวของพวกมันบริเวณขั้วโลกในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น

นักชีววิทยาทางทะเลทำงานร่วมกับนักสมุทรศาสตร์เพื่อจัดทำแผนที่คาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีความชัดเจนมากขึ้น และความถี่ของอุณหภูมิที่เย็นจัดจะเพิ่มขึ้นพร้อมกับช่วงที่มีความร้อนบนพื้นผิวที่รุนแรง

ฉลามหรือสัตว์ทะเลแต่ละสายพันธุ์ บางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะอาศัยอยู่ตามขอบเขตที่มนุษย์อาศัย ซึ่งฉลามเหล่านี้มีความเสี่ยงมากที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกะทันหัน นักวิจัยกว่าวว่า “ฉลามหัวบาตรได้รับผลต่อความเย็นและหลบไปยังเขตร้อน อาจส่งผลให้เกิดการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพได้”
นักวิจัยกล่าวว่าการค้นพบนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในแนวทางใหม่ในการอนุรักษ์ทางทะเลที่รวมเอาความรู้เกี่ยวกับหลากหลายแขนงมากขึ้นซึ่งความสับสนวุ่นวายของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล เราจำเป็นต้องคิดถึงการขยายพื้นที่อนุรักษ์และจัดลำดับความสำคัญของสายพันธุ์ต่างๆ

 

ที่มา : The Guardian

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :