svasdssvasds

อุตุฯ โลก เตือนภัยโลกร้อน "ระดับสีแดง" อุณหภูมิพุ่งสถิติใหม่ ผลกระทบรุนแรง

อุตุฯ โลก เตือนภัยโลกร้อน "ระดับสีแดง" อุณหภูมิพุ่งสถิติใหม่ ผลกระทบรุนแรง

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเตือนภัยโลกร้อน "ระดับสีแดง" อุณหภูมิพุ่งสูงทำสถิติใหม่ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ชี้ผลกระทบปีนี้จะรุนแรงสุดเป็นประวัติการณ์

SHORT CUT

  • องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก รายงานสถานะสภาพภูมิอากาศโลก เตือนภัยโลกร้อน "ระดับสีแดง" ชี้ผลกระทบปีนี้จะรุนแรงสุดเป็นประวัติการณ์
  • มีความเป็นไปได้สูงที่ปี 2567 จะเป็นอีกปีที่ปัญหาโลกร้อนรุนแรงเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิเฉลี่ยพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 174 ปี ตั้งแต่มีการบันทึกสถิติ
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ควบคู่ไปกับการปรากฏตัวของปรากฏการณ์เอลนีโญ

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเตือนภัยโลกร้อน "ระดับสีแดง" อุณหภูมิพุ่งสูงทำสถิติใหม่ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ชี้ผลกระทบปีนี้จะรุนแรงสุดเป็นประวัติการณ์

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO เปิดเผยว่า บันทึกสภาพภูมิอากาศโลกที่สำคัญๆ ทุกรายการ ถูกทำลายสถิติลงในปีที่ผ่านมา และปี 2567 นี้ สภาพอากาศอาจเลวร้ายยิ่งกว่านั้น โดยผู้อำนวยการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แสดงความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับความร้อนในมหาสมุทรและน้ำแข็งในทะเลที่หดตัว

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ปี 2567 จะเป็นอีกปีที่ปัญหาโลกร้อนรุนแรงเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิเฉลี่ยพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 174 ปี ตั้งแต่มีการบันทึกสถิติ โดยสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.45 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในมหาสมุทร ยังอุ่นที่สุดในรอบ 65 ปี โดยกว่าร้อยละ 90 ของทะเล ต้องเผชิญกับสภาวะคลื่นความร้อนในช่วงปีดังกล่าว ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบอาหาร

 

นางเซเลสต์ เซาโล เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เผยแพร่รายงาน “สถานะของสภาพภูมิอากาศโลก” (State of the Global Climate) ที่แสดงความกังวลว่า เป้าหมายการแก้ปัญหาโลกร้อนที่ดำเนินการอยู่อาจไม่เพียงพอ พร้อมกล่าวว่า ขอส่งสัญญาณเตือนภัยระดับสีแดงเกี่ยวกับสภาพอากาศ หลังจากระยะเวลา 12 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้วจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โลกมีอุณหภูมิเกินขีดจำกัด 1.5 องศาฯ และการเริ่มต้นที่ร้อนแรงในปีนี้ได้ผลักดันให้เกินระดับสำหรับค่าเฉลี่ย 12 เดือนไปแล้ว

รายงานฉบับนี้ยังรวบรวมการค้นพบล่าสุดที่ระบุว่า ในปี 2023 น้ำทะเลมากกว่า 90% ต้องเผชิญกับสภาวะคลื่นความร้อนอย่างน้อย 1 ครั้ง ธารน้ำแข็งที่ได้รับการตรวจติดตามตั้งแต่ปี 1950 สูญเสียน้ำแข็งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกลดน้อยถอยกลับไปสู่ระดับต่ำสุดเท่าที่เคยมีมา

รายงานยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า ความร้อนในมหาสมุทรกระจุกตัวอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย 3 องศาเซลเซียสในช่วงปลายปี 2566 อุณหภูมิของมหาสมุทรที่อุ่นขึ้น ส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลที่ละเอียดอ่อน และปลาหลายสายพันธุ์ได้หนีจากบริเวณนี้ไปทางเหนือเพื่อแสวงหาอุณหภูมิที่เย็นกว่า

การเปิดเผยรายงานฉบับนี้มีขึ้นในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศ และบรรดารัฐมนตรีของรัฐบาลประเทศต่างๆ จะไปรวมตัวกันที่กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของเดนมาร์ก ในวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ เพื่อหารือให้เกิดการดำเนินการด้านสภาพอากาศที่มากขึ้น ซึ่งรวมถึงข้อผูกพันระดับชาติที่เพิ่มขึ้นในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

related