การศึกษาพบว่าในปี 2566 มหาสมุทรโลกดูดซับความร้อนมากกว่าปีอื่นๆ นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึก และดูเหมือนว่ามหาสมุทรร้อนขึ้นและร้อนขึ้นเรื่อยๆ
การค้นพบเรื่องมหาสมุทรร้อนขึ้น เป็นงานวิจัยฉบับปรับปรุงล่าสุดของการศึกษาประจำปีที่นำโดยสถาบันฟิสิกส์บรรยากาศ (IAP) ที่ Chinese Academy of Sciences ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่ามหาสมุทรร้อนขึ้นด้วยอัตราทำลายสถิติทุกปีนับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา
มหาสมุทรกักเก็บความร้อนส่วนเกินไว้ 90% ในระบบของโลก ตราบใดที่ระดับก๊าซเรือนกระจกยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศค่อนข้างสูง มหาสมุทรก็จะดูดซับพลังงานต่อไป ส่งผลให้ความร้อนในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น เฉิง ลี่จิง นักสมุทรศาสตร์ของ IAP เรียกปริมาณความร้อนในมหาสมุทรว่าเป็น "ตัวบ่งชี้ที่แข็งแกร่ง" ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
ข้อมูล IAP แสดงให้เห็นว่าความร้อนที่เก็บไว้ในมหาสมุทรสูง 2,000 เมตรตอนบนเพิ่มขึ้น 15 เซตตาจูลในปี 2566 เมื่อเทียบกับความร้อนที่เก็บไว้ในปี 2565 นี่เป็นพลังงานจำนวนมหาศาล เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การใช้พลังงานทั้งหมดของโลกในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 0.6 เซตตาจูล พูดง่ายๆ ในความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ก็คือ มหาสมุทรกำลังอุ่นขึ้นอย่างต่อเนื่องปีต่อปี สู่ระดับความร้อนในมหาสมุทรที่ตุบสถิติใหม่เป็นประวัติการณ์
มหาสมุทรร้อนขึ้นในปี 2566 อุณหภูมิที่อบอุ่นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ถือเป็นสิ่งที่น่าตกใจมาก ที่สถิติความร้อนในทะเลมีอุณหภูมิสุงขึ้นเรื่อยๆ ติดต่อกัน 5 ปี Svetlana Jevrejeva นักวิทยาศาสตร์ระดับน้ำทะเลจากศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติในเมืองลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร กล่าวว่า แม้แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในมหาสมุทรก็สามารถสร้างผลกระทบในวงกว้างได้
ตัวอย่างเช่น ประมาณ 50% ของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันมีสาเหตุมาจากการขยายตัวของมหาสมุทรเมื่อน้ำทะเลอุ่นขึ้น ภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็วในมหาสมุทรอาจนำไปสู่เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากมหาสมุทรเป็นตัวกลางในการจัดทำรูปแบบสภาพอากาศทั่วโลกที่กำหนดปริมาณน้ำฝน ความแห้งแล้ง และน้ำท่วม
ภาวะโลกร้อนในมหาสมุทรอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ส่งผลให้สัตว์บางชนิดเคลื่อนตัวไปยังบริเวณขั้วโลกหรือน้ำลึกลงไป มหาสมุทรร้อนขึ้นยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาของเหตุการณ์ทางชีวภาพ เช่น การอพยพและวงจรการสืบพันธุ์ และส่งผลกระทบต่อขนาดร่างกายของสัตว์ทะเล
หากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศยังคงเพิ่มขึ้น มหาสมุทรก็จะร้อนขึ้นต่อไป แต่ในทางกลับกันทันทีที่เราร่วมมือกันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากพอที่จะทำให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกลดลง แนวโน้มภาวะโลกร้อนก็จะเปลี่ยนไป นักวิจัยเตือนว่ายิ่งมนุษย์ผลิตก๊าซเรือนกระจกมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากเท่านั้น
ที่มา : Nature / The Guardian
เนื้อหาที่น่าสนใจ :