svasdssvasds

โลกร้อนทำประชาชนในแอฟริกาใต้เป็นมะเร็วผิวหนังมากขึ้น

โลกร้อนทำประชาชนในแอฟริกาใต้เป็นมะเร็วผิวหนังมากขึ้น

ความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ความรุนแรงขึ้นของรังสียูวี และจำนวนผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก กลายมาเป็นความกังวลล่าสุดสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และสมาคมมะเร็งแห่งแอฟริกาใต้ หรือ Cansa

ในขณะที่รูปแบบสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รังสียูวีที่มีความรุนแรงมากขึ้นก็กลายมาเป็นความเสี่ยงทางธรรมชาติอย่างหนึ่งสำหรับการเกิดมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคแอฟริกาใต้

โลกร้อนทำประชาชนในแอฟริกาใต้เป็นมะเร็วผิวหนังมากขึ้น วารสารนานาชาติว่าด้วยผิวหนังวิทยาของสตรีรายงานว่า ปัญหาโลกร้อน เป็นสาเหตุของสารก่อมะเร็ง เพราะมันทำให้รังสียูวีมีความรุนแรงมากขึ้นในการทำลายสุขภาพของมนุษย์ และรังสียูวีที่เพิ่มขึ้นก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการสัมผัสยูวีอย่างเข้มข้น

รายงานระบุว่า มะเร็งผิวหนังทุกชนิดตรวจพบมากขึ้นทั่วโลก รวมถึงในทวีปแอฟริกาใต้ สถิติจากสำนักทะเบียนมะเร็งแห่งชาติในปี 2019 แสดงให้เห็นว่า ตอนนี้มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา กลายมาเป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วไปมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ในผู้ชาย และอันดับ 6 ในผู้หญิง ในทวีปแอฟริกาใต้ ทั้งนี้ มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่พัฒนาในเซลล์เมลาโนไซต์ที่ทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีบนผิวหนัง

โลกร้อนทำประชาชนในแอฟริกาใต้เป็นมะเร็วผิวหนังมากขึ้น

ถ้าหากต้องการลดความเสี่ยงเกิดมะเร็งผิวหนังนั้นก็สามารถทำได้ด้วยการปกป้องผิวหนังของคุณ เช่น พยายามหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาระหว่าง 10 นาฬิกาถึง 15 นาฬิกา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รังสียูวีรุนแรงที่สุด พยายามหาร่มเงาอยู่หรือใช้ร่ม และอย่าลืมสวมเสื้อผ้าที่ปกป้องรังสียูวี 

ส่วนครีมกันแดดนั้นก็สำคัญ โดยต้องเลือกครีมกันแดดที่มี SPF 20 ขึ้นไป ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าให้ทาก่อนออกแดด 20 นาที และทาซ้ำทุกๆสองชั่วโมง

 

ที่มา : Citizen

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :