svasdssvasds

โลกร้อนทำพฤติกรรมหาอาหารเสือชีตาร์เปลี่ยน ออกล่าเหยื่อตอนกลางคืนมากขึ้น

โลกร้อนทำพฤติกรรมหาอาหารเสือชีตาร์เปลี่ยน ออกล่าเหยื่อตอนกลางคืนมากขึ้น

วิกฤตโลกร้อนส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตบนโลกรวมถึงพฤติกรรมของสัตว์ ล่าสุดนักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันเผยงานวิจัยพฤติกรรมออกล่าเหยื่อของเสือชีตาร์เปลี่ยนไปเนื่องมาจากโลกร้อน จากปกติเสือชีตาร์จะหากินเวลากลางวัน ได้ออกมาหากินเวลากลางคืนในวันที่อากาศร้อน

จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ส่งผลกับพฤติกรรมการออกล่าเหยื่อของเสือชีตาร์ที่ออกหากินเวลากลางคืนที่อากาศร้อนมากขึ้น


            
            
            โลกร้อนทำพฤติกรรมหาอาหารเสือชีตาร์เปลี่ยน ออกล่าเหยื่อตอนกลางคืนมากขึ้น
        
เสือชีตาห์เป็นสัตว์ในแถบแอฟริกาที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งโดยปกติแล้วพฤติกรรมการออกหากินของชีตาห์จะอยู่ในช่วงกลางวัน แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โลกร้อนขึ้นทำให้เสือชีตาห์มักจะออกหากินตอนกลางคืนวันที่อากาศร้อน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับสัตว์นักล่า อย่าง สิงโตและเสือดาว ที่ออกหากินเวลากลางคืน อาจเพิ่มความขัดแย้งในสัตว์นักล่าของแอฟริกา

Briana Abrahms นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เผยว่า “อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอาจส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่และการเปลี่ยนแปลงของสัตว์ต่างๆ”

ขณะที่นักชีววิทยาเชิงพฤติกรรม ผู้นำโครงการวิจัยเสือชีตาห์แห่งสถาบันวิจัยสวนสัตว์และสัตว์ป่าไลบ์นิซ กล่าวว่า “ปกติสิงโตและเสือดาวจะฆ่าเหยื่อเอง แต่ถ้าพวกมันเจอการฆ่าของเสือชีตาห์ พวกมันจะพยายามแย่งชิงเหยื่อของสัตว์นักล่าที่ขนาดเล็กกว่า”

โลกร้อนทำพฤติกรรมหาอาหารเสือชีตาร์เปลี่ยน ออกล่าเหยื่อตอนกลางคืนมากขึ้น

การล่าสัตว์ในช่วงเวลาต่างๆ ของวันถือเป็นกลยุทธ์ที่มีการพัฒนามายาวนานของสิ่งมีชีวิต เพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่างสัตว์นักล่าหลายสายพันธุ์ที่อยู่บริเวณทุ่งหญ้าสะวันนาและป่าไม้ทางตอนเหนือของบอตสวานา
แต่ตอนนี้มีการศึกษาใหม่พบว่าในวันที่ร้อนที่สุด เมื่ออุณหภูมิสูงสุดในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 45 องศาเซลเซียส ทำให้เสือชีตาห์ออกหากินในเวลากลางคืนมากขึ้น โดยเพิ่มชั่วโมงการล่าเหยื่อที่ทับซ้อนกันกับสัตว์นักล่าคู่แข่งถึง 16%
Kasim Rafiq ผู้เขียนร่วมนักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและองค์กรไม่แสวงผลกำไร Botswana Predator Conservation Trust กล่าวว่า “มีโอกาสมากขึ้นที่จะได้พบกับการเผชิญหน้ากับนักล่าขนาดใหญ่ที่จะมาแย่งเหยื่อของชีตาร์ และให้อาหารเสือชีตาห์น้อยลง” 
ปัจจุบันนักวิจัยได้ติดปลอกคอติดตามด้วย GPS ให้กับสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ 53 ตัว รวมถึงเสือชีตาห์ สิงโต เสือดาว และสุนัขป่าแอฟริกัน และบันทึกตำแหน่งและเวลาทำกิจกรรมของพวกมันตลอด 8 ปี โดยนักวิจัยได้เปรียบเทียบข้อมูลนี้กับบันทึกอุณหภูมิสูงสุดรายวัน
แม้ว่าวัฏจักรตามฤดูกาลจะอธิบายความผันผวนของอุณหภูมิส่วนใหญ่ในช่วงปี 2554-2561 นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตได้ของสัตว์ ช่วยให้มองเห็นสถานการของโลกร้อนขึ้นที่มากขึ้น

 

ที่มา : The Seattle Times

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :