UN ประกาศ "สภาพอากาศโลกล่มสลาย" เริ่มขึ้นแล้ว หลังข้อมูลการศึกษาเผย หน้าร้อนปี 2023 ทุบสถิติ เป็นฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์โลก แก้ไขยากแล้ว
ดูเหมือนว่า ปี 2023 จะเป็นปีที่ร้อนสุดเท่าที่มนุษย์เคยพบเจอมา เพราะล่าสุด สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของสหประชาชาติ ประกาศว่า “ฤดูร้อนของปี 2023 เป็นช่วงที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา” เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญที่เพิ่งอุบัติขึ้นมา ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นและทำให้เกิดสภาพอากาศเลวร้ายไปทั่วโลก
โดยในช่วง 3 เดือน คือ มิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม เป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศในซีกโลกเหนือ อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงถึง 16.77 องซาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1991 ถึงปี 2020 ที่เคยอยู่ที่ 0.66 องศาเซลเซียส ตามข้อมูลจาก European Union Climate Change Service
ซึ่งถือเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งข้อมูลจาก Copernicus Climate Service (C3S) ของสหภาพยุโรป เผยว่า เดือนสิงหาคมมีอุณหภูมิอุ่นกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 1.5 องศาเซลเซียส ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า เป้าหมายเดิมของมนุษย์ในการควบคุมอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียสนั้น “พังไม่เป็นท่า”
เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากเปลวไฟและมวลน้ำท่วม ผลพวงของคลื่นความร้อน ที่ลามยาวตั้งแต่อเมริกาเหนือ จรดอเมริกาใต้ ไปจนถึงยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน จนทำลายชีวิตทั้งคนและสัตว์ไปจำนวนมากโดยที่ผู้คนรอบตัวไม่ทันตั้งตัว โดยได้รับผลพวงมาจากภาวะโลกร้อน
“โลกของเราเพิ่งผ่านฤดูแห่งความเดือดปุดๆ ตอนนี้เราก็เผชิญกับฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา สภาพภูมิอากาศเริ่มพังทลายลงแล้ว นักวิทยาศาสตร์เตือนมานานแล้วว่าการเสพติดเชื้อเพลิงฟอสซิลของเราจะส่งผลให้สภาพภูมิอากาศของเราระเบิดอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่เราจะรับมือได้ โดยจะเห็นได้จากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่กำลังเกิดขึ้นทุกมุมโลก” นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยพิสูจน์ชัด สภาวะโลกร้อนกำลังฆ่าหมีขั้วโลกให้สูญพันธุ์
แอฟริกาเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ก้าวสู่ทวีปที่ร่ำรวยด้านพลังงานรักษ์โลก
มหาสมุทรมีอากาศร้อนเป็นพิเศษในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ข้อมูล C3S แสดงให้เห็นว่า ทุก ๆ วันในเดือนสิงหาคม อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกสูงกว่าสถิติก่อนหน้านี้ในเดือนมีนาคม 2016 ซึ่งเป็นปีเอลนีโญเช่นกัน อุณหภูมิของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 25.19 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม และขอบเขตน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกก็ต่ำมากเช่นกันในช่วงเวลาของปี
เมื่อเดือนสิงหาคม สำนักข่าว The Guardian ได้สัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศชั้นนำของโลก 45 คน ซึ่งกล่าวว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในปี 2566 สอดคล้องกับการคาดการณ์ที่พวกเขาศึกษามานานหลายสิบปี โดยพวกเขามีความเห็นตรงกันว่า ผลกระทบรุนแรงกว่าที่คาดไว้
ผลการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนของยุโรปในปี 2022 มากกว่า 61,000 ราย ซึ่งรวมถึงผู้เสียชีวิตในสหราชอาณาจักรมากกว่า 3,000 ราย
สุดท้ายนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า การค้นพบนี้เป็นการค้นพบที่ “สิ้นหวัง” และมองว่าโลกอยู่ห่างจากการรักษาอุณหภูมิให้ต่ำกว่าเป้าหมายคือ 1.5 องศาเซลเซียสมาก
ที่มาข้อมูล
Reuters
ข่าวที่เกี่ยวข้อง