เนื้อสัตว์ในมื้ออาหารของเราในแต่ละวัน ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซดืทำโลกร้อนเท่าไหร่บ้าง? แล้วเราจะช่วยทำให้ระบบอุตสาหกรรมบริโภคเนื้อสัตว์ดีขึ้นและยั่งยืนได้อย่างไร?
การทำการเกษตรมีผลต่อสิ่งแวดล้อมเสมอ จะมากจะน้อยนั้นไม่สำคัญ สำคัญแค่ทำยังไงให้การเกษตรยั่งยืน นี่คือกุญแจสำคัญที่เราต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้
เราเข้าใจดีว่าการทำการเกษตรและการทำปศุสัตว์ มีบทบาทสำคัญต่อปากท้องและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ และที่สำคัญมากกว่าคือ มันมีบทบาทอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม และการทำให้โลกของเราร้อนขึ้นด้วย
อย่างแรกเลยคือ การทำการเกษตร เราใช้น้ำจืดปริมาณมาก น้ำที่เราปล่อยเข้าไปนั้นสะอาดปลอดภัยแต่น้ำที่ใช้ทางการเกษตรเสร็จแล้วถูกปล่อยออกมา ส่วนใหญ่มักเจือปนกับสารเคมีทางการเกษตรมาด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้ดินมีการปนเปื้อน ยิ่งหากเจอภัยแล้งเข้าไปอีกละก็ การเกษตรจะกระทบหนักมาก โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีความต้องการน้ำ
อย่างที่สอง การเกษตรใช้พื้นที่กว้างขวาง ในบางภูมิภาคมีการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้พื้นที่ปลูกพืชผักเป็นร้อย ๆ ไร่ การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้สัตว์ป่าสูญเสียที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุณหภูมิโลกทะยานทะลุ 1.5 องศา ส่งเดือนกรกฎา 66 ร้อนสุดในรอบแสนปี
"ยุคที่โลกเดือด" คลื่นความร้อนปกคลุมระอุทั่วโลก อุณหภูมิสูงทำผลกระทบหนัก
อย่างที่สาม พื้นที่ทางการเกษตรอันกว้างขวางดังกล่าว มีไว้เพื่อการทำปศุสัตว์ด้วย การปศุสัตว์คือการเลี้ยงเศรษฐกิจเพื่อนำไปบริโภค หรือเลี้ยงง่าย ๆ ว่า สัตว์ฟาร์ม สัตว์แต่ละประเภทมีความต้องการหรือสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงที่แตกต่างกัน และหลายประเภทนั้นชอบพื้นที่กว้างและอาหารที่สมบูรณ์
ด้านล่างนี้จะเป็นผลการวิจัยและสำรวจที่รวบรวมสำเร็จในปี 2018 โดย Our World in Data แสดงให้เห็นว่าสัตว์ประเภทใดสร้างก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด โดยมีหน่วยเป็นคาร์บอนเทียบเท่า
หวั่นเอลนีโญทำชาวนายิ่งจนซ้ำซาก ปฏิรูปการเกษตรตั้งแต่ต้นทาง คือ ทางรอด
4 ประเด็นด่วนแก้โลกร้อน ที่ควรทำทันทีในปีนี้ ผ่านมุมมองก้าวไกล
รองลงมาคือเนื้อแกะ ที่ใช้พื้นที่ในการเล็มหญ้าและผายลมออกมาจำนวนมากไม่ต่างกัน การคำนวนจะนับตั้งแต่กระบวนการหาอาหารให้กับพวกมัน เช่นการปลูกข้าวโพด ใช้พื้นที่เท่าไหร่ น้ำเท่าไหร่ ระยะเวลาในการดูแลเราสูญเสียทรัพยากรอะไรไปบ้างเท่าไหร่ กระบวนการขนส่งเป็นอย่างไร และในช่วงของการเลี้ยงวัวจนได้เป็นเนื้อออกมาให้มนุษย์ได้ทาน ใช้ทรัพยากรไปเท่าไหร่อย่างไรบ้าง เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ระบบอาหารที่ผลิตเนื้อสัตว์และนมเชิงอุตสาหกรรมเป็นตัวการในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 1 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ และเป็นส่วนหนึ่งของต้นเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก
นอกจากนี้ ไทยยังส่งออกเนื้อไก่มากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งคนไทยจะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้คือ ฝุ่น PM2.5 ที่จะวนเวียนกลับมาในทุก ๆ ปี จากวิกฤตฝุ่นควันข้ามพรมแดน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านของเราเผาป่า เพื่อสร้างพื้นที่การเกษตรอย่างการปลูกข้าวโพดมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการข้าวโพดที่เพิ่มมากขึ้นของไทย ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของคนไทยในตอนนี้
ดังนั้น การจะช่วยลดผลกระทบเหล่านี้ได้ คือต้องลดการบริโภคเนื้อ บริโภคเท่าที่จำเป็นหรือพอดี และปฏิเสธหรือต่อต้านอุตสาหกรรมที่ไม่มีกระบวนการตรวจสอบแหล่งที่มาผลผลิตว่ามีความยั่งยืนหรือเป็นมิตรต่อโลก และรณรงค์ให้ภาครัฐออกกฎระเบียบที่เด็ดขาดในการควบคุมการนำเข้าและส่งออกผลผลิตที่ไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกรและโลกออกไป
ที่มาข้อมูล